พื้นที่คลองกำพร้า คลองเชื่อมปากน้ำสมุทรปราการ ลง"เรืออวนรุน" เรือประมงชายฝั่งขนาดเล็ก ปกติ เป็นเรือรุนเคย แต่ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ปลาหมอคางดำมากขึ้น สัตว์น้ำชนิดอื่นลดลง ประมงจังหวัดสมุทรสาคร จึงมาร่วมสำรวจกับชาวบ้าน จากนั้นไปพูดคุยกับแพปลาให้ช่วยรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 8 บาท และเปิดปฏิบัติการล่าปลาหมอคางดำ
อัปเดตความคืบหน้าการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ที่ตอนนี้ภาคเกษตรกรได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก รัฐจะมีมาตราการอย่างไรในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดในครั้งนี้ ยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่หลาย ๆ คนจับตามอง ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "นครฮีลใจ" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyHealingCities
มีหลายแนวทางที่รัฐใช้จัดการกับปลาหมอคางดำแต่ต้องใช้งบประมาณ ซึ่งกรณีที่ กยท. จะนำงบ 50 ล้านบาท ซื้อปลาหมอคางดำ เพื่อทำน้ำหมัก ชีวภาพ ก็ยังมีความเห็นต่างของเกษตรกรชาวสวนยางที่ ประธานบอร์ด กยท. ระบุว่า จะเร่งทำความเข้าใจ ยืนยันว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีลง คาดว่าเดือนกันยายนชาวสวนยางจะสามารถนำไปใช้ได้
ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.กระทรวงเกษตรฯ ประชุมหารือร่วมกับตัวแทนการสมาคมประมง 16 จังหวัด ที่พบการระบาดของปลาหมอคางดำ ส่วนการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มาของปลาหมอคางดำ จะทราบผลภายใน 7 วัน ขอให้รอผลตรวจสอบที่ชัดเจน และไม่ต้องการให้พุ่งเป้าไปที่บริษัทเอกชนรายใดรายหนึ่ง แต่หากทราบแหล่งที่มาแล้ว อาจต้องใช้มาตรการทางสังคม เพื่อถามหาความรับผิดชอบ
ตามที่ ไทยพีบีเอส ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบใน ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ตามรายงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่เคยได้รับการร้องเรียนว่าพบการระบาดของปลาหมอคางดำใน ปี 2560 และพบว่าคลองที่มีการระบาด ไหลผ่านพื้นที่โดยรอบศูนย์วิจัยของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ อาหาร จำกัด หรือ CPF นั้น