ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นในตอนเช้า ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ขณะที่พายุไต้ฝุ่น "หยินซิ่ง" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงแล้ว
สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ระดับน้ำลดลงและเริ่มเข้าสู่สภาวะฟื้นฟูแล้ว แต่หลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยยังต้องเตรียมรับมือกับฝนตกหนักในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากซ้ำอีก ติดตามชมรายการสถานีประชาชน ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/People/episodes/104593
กรมอุตุนิยมวิทยา เผยไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เจอฝนตกหนัก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วน กรุงเทพฯ และปริมณฑล ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
แม้ว่าภาคกลางจะยังไม่ได้มีปัญหาน้ำท่วมหนักเทียบเท่ากับพื้นที่ตอนบน แต่ก็ถูกใช้เป็นเหตุผลที่ทำให้ข้าวของราคาแพงขึ้น แม้แต่ข้าวสาร ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีสต๊อกล่วงหน้า ล่าสุด ที่ จ.ตรัง พบว่า ข้าวสารอย่างดี ปรับราคาแพงขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ กระสอบละกว่า 100 บาท
ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากอิทธิพล “พายุซูลิก” แม้ว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ยังมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ แต่หากเรามา วัดพลังความรุนแรง “พายุยางิ" ที่ถล่มแม่สาย จ.เชียงราย และ “พายุซูลิก" แม้ฝนครั้งนี้จะไม่รุนแรงเท่า แต่เรายังไว้วางใจได้หรือไม่ ชวนวิเคราะห์เพิ่มเติม กับ รศ. เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญ IPCC
มาดูข้อมูลของศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐ คาดการณ์ว่า พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ มีโอกาสที่จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในช่วงเช้าวันนี้ (19 ก.ย. 67) จากนั้นจะเคลื่อนต่อมาทางตะวัน เข้าประชิดชายฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนามช่วงค่ำวันนี้ จากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน เข้าปกคลุมประเทศลาว ช่วงเช้าวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย. 67) และเคลื่อนมาปกคลุมแถว ๆ จังหวัดหนองคาย และบึงกาฬ ในช่วงค่ำวันพรุ่งนี้ ทำให้ทุกภาคของประเทศไทยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ช่วงวันที่ 19 - 23 กันยายน ทำให้หลายพื้นที่ต้องระวังเรื่องน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
จับตาพายุดีเปรสชั่นลูกใหม่ในทะเลจีนใต้ หากทวีความรุนแรงจะยกระดับกลายเป็นพายุลูกที่ 15 ที่จะใช้ชื่อว่า “ซูลิก” โดยทิศทางพายุช่วงเดือนกันยายนจะเคลื่อนตัวด้านตะวันตก เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมจะเคลื่อนเข้าประเทศไทยช่วงนี้ ทิศทางและอิทธิพลของพายุลูกนี้ จะส่งผลกระทบต่อไทย และจะซ้ำเติมน้ำท่วมทางภาคเหนือและอีสานหรือไม่ พูดคุยกับ สมควร ต้นจาน ผอ.ส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กรมอุตุนิยมวิทยา
วานนี้ (15 ก.ย. 67) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ส่งหนังสือถึงนายอำเภอ แม่สาย , แม่จัน , แม่ฟ้าหลวง , เทิง , พญาเม็งราย , และเวียงแก่น ให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม หลังมีคำเตือนจากกองอำนวยการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พบว่าไทยอาจเผชิญฝนตกหนัก ระหว่างวันที่ 14 ถึง 18 กันยายน โดยเฉพาะอำเภอแม่สาย และอีก 5 อำเภอของจังหวัดเชียงราย โดยให้เตรียมแผนรับมือในชุมชนที่มีความเสี่ยง และเตรียมเครื่องมือการเข้าช่วยเหลือประชาชน
ภาพความเสียหายจากอิทธิพลยางิยังคงปรากฏขึ้นในหลายประเทศ โดยที่เวียดนามตัวเลขผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 220 คน ขณะที่ประชาชนทยอยกลับบ้าน เพื่อสำรวจความเสียหายหลังระดับน้ำเริ่มลดลง ส่วนที่เมียนมาเผชิญน้ำท่วมหนักเช่นกัน ประชาชนต้องอพยพไปอาศัยอยู่ตามสถานที่พักพิงต่าง ๆ ขณะที่มีรายงานพบผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 10 คน ด้านสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของจีน เผยภาพน้ำท่วมกินพื้นที่เป็นวงกว้างในนครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของประเทศ หลังอิทธิของพายุยางิทำให้ฝนตกหนักจนระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่งสูงเอ่อล้นตลิ่งไหลทะลักท่วมต้นไม้บ้านและอาคารบ้านเรือนหลายแห่ง
น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ในตำบลแม่อาย และ ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ หลังฝนตกหนักสะสม ทำให้แม่น้ำสาขา แม่น้ำอาย แม่น้ำแหล่ง และแม่น้ำสาว เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และ ล้นตลิ่งเข้าท่วมถนนสายหลัก ชุมชน ย่านเศรษฐกิจ และ พื้นที่การเกษตร เป็นบริเวณกว้าง ไม่ต่างจาก จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ฝนที่ตกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ทำให้น้ำจากแม่น้ำฮอก เอ่อท่วมทางเข้าด่านตรวจสินค้า ห่างจากตัวเมืองท่าขี้เหล็ก 7 กิโลเมตร ด่านชั่งน้ำหนักบ้านหมากยาง ตำบลฝ่างหมิ่น ทางเข้าตัวเมืองท่าขี้เหล็ก และบ้านศรีงอก บ้านโม้งบ้านหัวโบ่ง ตำบลเมืองโก ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นนับว่ามีความรุนแรงมาก ในรอบหลายสิบปี เพราะหลายพื้นที่ไม่เคยถูกน้ำท่วมมาก่อน
น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ในตำบลแม่อาย และ ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ หลังฝนตกหนักสะสม ทำให้แม่น้ำสาขา แม่น้ำอาย แม่น้ำแหล่ง และแม่น้ำสาว เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และ ล้นตลิ่งเข้าท่วมถนนสายหลัก ชุมชน ย่านเศรษฐกิจ และ พื้นที่การเกษตร เป็นบริเวณกว้าง ไม่ต่างจาก จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ฝนที่ตกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ทำให้น้ำจากแม่น้ำฮอก เอ่อท่วมทางเข้าด่านตรวจสินค้า ห่างจากตัวเมืองท่าขี้เหล็ก 7 กิโลเมตร ด่านชั่งน้ำหนักบ้านหมากยาง ตำบลฝ่างหมิ่น ทางเข้าตัวเมืองท่าขี้เหล็ก และบ้านศรีงอก บ้านโม้งบ้านหัวโบ่ง ตำบลเมืองโก ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นนับว่ามีความรุนแรงมาก ในรอบหลายสิบปี เพราะหลายพื้นที่ไม่เคยถูกน้ำท่วมมาก่อน