"อนุทิน" มั่นใจ รบ.ให้ความเป็นธรรม "คดีตากใบ" เชื่อคนหนีไม่ได้สบายขอสังคมให้อภัย ย้ำชัดจุดยืนไม่แตะ 112 พรรคร่วมไม่แตกแยกแค่เห็นต่าง ถือเป็นเรื่องปกติ วงดินเนอร์พรรคการเมืองไม่คุยเรื่องดันเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ เน้นคุยทำงานให้เข้าใจกันทุกฝ่าย
พรรคเพื่อไทยต้องถอยเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ประเด็นจริยธรรมที่คนต่างสงสัยว่า เหตุใดนักการเมืองจึงกลัวนักกลัวหนา ขนาดยังไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็จะแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ท่ามกลางเสียงวิพากษ์ “หากไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไรกับเรื่องตรวจสอบ”
วันนี้ (18 พ.ย. 67) จับสัญญาณการเมือง สู้ศึกเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในส่วนพรรคประชาชน ได้แถลงเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ. 12 จังหวัด โดยตั้งเป้ายึดเก้าอี้นายก อบจ. “1 แห่งในทุกภูมิภาค” ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวย้ำถึงการวางตัวเป็นกลาง ในฐานะข้าราชการฝ่ายปกครองในพื้นที่ จึงได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงทำหนังสือแจ้งทุกพื้นที่ให้วางตัวเป็นกลาง และเพิ่มความระมัดระวังให้มากที่สุด ส่วนพรรคเพื่อไทย เตรียมประชุมใหญ่วิสามัญ ประจำปี 2567 ในวันพรุ่งนี้ (19 พ.ย. 67) เพื่อรับรองรายงานการประชุมประจำปี ร่างข้อบังคับพรรคและการเลือกคณะกรรมการสรรหาผู้สมัคร “อบจ.และ สส.”
วันนี้ (29 ก.ย. 67) นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ความเห็นถึงคดียุบพรรคภูมิใจไทยที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ความผิดนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ พ้นจากตำแหน่งเหตุมีนอมินีห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ซึ่งมีการบริจาคเงินเข้าพรรค และมีคนร้องว่าผิดหรือไม่ ว่า คดียังอยู่ในขั้นตอนการไต่สวน และไม่ใช่เหตุแห่งการยุบพรรคตามกฎหมายพรรคการเมือง ซึ่งคาดว่าอีก 1 เดือน คดีจะเสร็จสิ้น นายแสวงยังเทียบเคียงกับกรณีการยุบพรรคก้าวไกล มีข้อกฎหมายที่แตกต่างกัน ที่สืบเนื่องมาจากทำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ตัวเองกลับถูกตำหนิว่า เป็นคนบุรีรัมย์ แล้วต้องช่วยพรรคภูมิใจไทย อีกทั้งมีคนไปยื่นฟ้องคดีอาญา
ดูเหมือนการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองยังนำมาซึ่งอำนาจการต่อรอง ผ่านการขับเคลื่อนนโยบายร่วมกันในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎรได้ ล่าสุดพรรคภูมิใจไทย ส่งสัญญาณไม่เห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจรฯ ที่พรรคเพื่อไทย ขับเคลื่อน…ร่างกฎหมายฉบับนี้ มีช่องโหว่อะไร ตอบโจทย์การมีรายได้เพิ่มจริงหรือไม่ ?
กรรมการบริหารชุดใหม่ของภูมิใจไทย ดูไปดูมาชวนให้นึกถึงตอนจัดบัญชีรายชื่อ สส. เมื่อก่อนเลือกตั้ง ตอนนั้นมีทายาทการเมืองใหม่แกะกล่องปรากฏขึ้นมาในบัญชีรายชื่อ 5 อันดับแรกของพรรค แบบหักปากกาเซียน (เว้นแต่แม่ทัพบางคนที่บอกเราว่า ถ้าลูกเขาไม่ได้ 5 อันดับแรก เขาถอนตัว) การจัดกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เป็นเจเนอเรชันใหม่ของพรรค ทั้งที่เลือดเก่าตัวเก๋ายังไม่ไปไหนแบบนี้ ภูมิใจไทยกำลังจะบอกอะไรกับเรา ติดตามได้จากคุณประจักษ์ มะวงศ์สา
นายอนุทิน ชาญวีรกูล ยังคงได้รับความไว้วางใจ-ถูกโหวตเลือกให้นั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยอีกสมัย ขณะที่ นายไชยชนก ชิดชอบ บุตรชายของ นายเนวิน ชิดชอบ นั่งเก้าอี้เลขาธิการพรรคคนใหม่คน ส่งสัญญาณ การชูคนรุ่นใหม่-ตระกูลการเมืองดังขับเคลื่อนงานทางการเมือง การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 พรรคภูมิใจไทย เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ภายหลังจากที่ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคเมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา ทำให้ตำแหน่งเลขาธิการพรรคปัจจุบันยังว่างอยู่
แม้จะยังไม่ชัดเจนว่า ขณะนี้ดีลพา “ทักษิณ” กลับบ้าน มีเบื้องหลังหรือข้อตกลงอย่างไร และระหว่างการพักโทษจะจัดวางสถานะทางการเมืองของตนเองไว้ในระนาบไหน ประเมินกระแสมวลชนต่อต้านอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร รวมถึงแนวโน้มการสลายความขัดแย้งทางการเมืองในอดีต หลังการกลับบ้านของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะทำให้กระแสต่อต้านถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งหรือไม่ จะเป็นเรื่องที่ยาก ง่าย แค่ไหน และใครคือ "ศัตรูตัวจริง" ของทักษิณ และพรรคเพื่อไทย พูดคุยกับ • ถาวร เสนเนียม อดีตแกนนำกลุ่ม กปปส. • ผศ.ดร. สุริยะใส กตะศิลา อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ (พธม.)