ปฏิบัติการของ DSI ครั้งนี้ ถูกตั้งข้อสังเกตว่า เกี่ยวข้อง-เชื่อมโยงกับฝ่ายการเมืองหรือไม่ โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่การเมืองกำลังถูกแบ่งขั้ว เพราะสภาสูง หรือ สว. ถูกขนานนามว่า "สว.สีน้ำเงิน" ทำให้เกิดดุลอำนาจกับแกนนำฝ่ายบริหารอย่าง "พรรคเพื่อไทย" ที่กำลังถูกตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง
วันที่ 13-14 ก.พ.2568 การประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 เพื่อเปิดทางให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่มีการบรรจุร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องติดตามและลุ้นว่าร่างทั้ง 2 ฉบับ คือร่างของพรรคเพื่อไทยกับร่างของพรรคประชาชน จะผ่านด่านแรกวาระรับหลักการหรือไม่ ด้านพรรคภูมิใจไทย มีมติไม่ร่วมสังฆกรรมแก้รัฐธรรมนูญ หวั่น ขัด คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ไม่สนเป็นแพะรับบาปขวางการแก้ไขประเด็น และไม่ใช่แค่พรรคภูมิใจไทย ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้ากระบวนการ แต่ พรรคพลังประชารัฐ ก็ย้ำจุดยืน ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และประกาศจะโหวตไม่เห็นด้วยในวันพรุ่งนี้ (14 ก.พ. 68) ติดตามได้ในช่วง #ประจักษ์วิเคราะห์ กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
แม้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย จะเคยประกาศว่าจะไม่ส่งคนลงเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกตั้ง อบจ.ครั้งนี้ หลายจังหวัดในภาคอีสาน ก็เป็นพื้นที่ของบ้านใหญ่ "พรรคสีน้ำเงิน" โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ วันนี้ (24 ธ.ค. 67) นายภูษิต เล็กอุดากร อดีตนายก อบจ.บุรีรัมย์ สมัยที่ผ่านมา ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชายของ นายเนวิน ชิดชอบ เดินทางมายื่นใบสมัครนายก อบจ.บุรีรัมย์ สนามนี้ยังไม่มีผู้สมัครสังกัดพรรคเพื่อไทย ประกาศตัวลงชิงเก้าอี้ ต่างจากที่จังหวัดศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย ส่งนายวิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ อดีต ส.ส.เพื่อไทย แต่สอบตกในปี 2562 มาลงสนามท้าชิง กับนายวิชิต ไตรสรณกุล เจ้าของเก้าอี้เดิมที่ครองตำแหน่งมา 30 ปี ซึ่งเดินทางมาสมัครพร้อมลูกสาว นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นการยืนยันว่า นายวิชิต ยืนอยู่ฝั่งภูมิใจไทย นายวิชิต ยอมรับว่า มีความกังวล เพราะต้องกระแสนายทักษิณมาแรง เรียกคะแนนนิยมได้
วันนี้ (18 พ.ย. 67) จับสัญญาณการเมือง สู้ศึกเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในส่วนพรรคประชาชน ได้แถลงเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ. 12 จังหวัด โดยตั้งเป้ายึดเก้าอี้นายก อบจ. “1 แห่งในทุกภูมิภาค” ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวย้ำถึงการวางตัวเป็นกลาง ในฐานะข้าราชการฝ่ายปกครองในพื้นที่ จึงได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงทำหนังสือแจ้งทุกพื้นที่ให้วางตัวเป็นกลาง และเพิ่มความระมัดระวังให้มากที่สุด ส่วนพรรคเพื่อไทย เตรียมประชุมใหญ่วิสามัญ ประจำปี 2567 ในวันพรุ่งนี้ (19 พ.ย. 67) เพื่อรับรองรายงานการประชุมประจำปี ร่างข้อบังคับพรรคและการเลือกคณะกรรมการสรรหาผู้สมัคร “อบจ.และ สส.”
วันนี้ (29 ก.ย. 67) นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ความเห็นถึงคดียุบพรรคภูมิใจไทยที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ความผิดนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ พ้นจากตำแหน่งเหตุมีนอมินีห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ซึ่งมีการบริจาคเงินเข้าพรรค และมีคนร้องว่าผิดหรือไม่ ว่า คดียังอยู่ในขั้นตอนการไต่สวน และไม่ใช่เหตุแห่งการยุบพรรคตามกฎหมายพรรคการเมือง ซึ่งคาดว่าอีก 1 เดือน คดีจะเสร็จสิ้น นายแสวงยังเทียบเคียงกับกรณีการยุบพรรคก้าวไกล มีข้อกฎหมายที่แตกต่างกัน ที่สืบเนื่องมาจากทำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ตัวเองกลับถูกตำหนิว่า เป็นคนบุรีรัมย์ แล้วต้องช่วยพรรคภูมิใจไทย อีกทั้งมีคนไปยื่นฟ้องคดีอาญา
ดูเหมือนการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองยังนำมาซึ่งอำนาจการต่อรอง ผ่านการขับเคลื่อนนโยบายร่วมกันในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎรได้ ล่าสุดพรรคภูมิใจไทย ส่งสัญญาณไม่เห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจรฯ ที่พรรคเพื่อไทย ขับเคลื่อน…ร่างกฎหมายฉบับนี้ มีช่องโหว่อะไร ตอบโจทย์การมีรายได้เพิ่มจริงหรือไม่ ?
กรรมการบริหารชุดใหม่ของภูมิใจไทย ดูไปดูมาชวนให้นึกถึงตอนจัดบัญชีรายชื่อ สส. เมื่อก่อนเลือกตั้ง ตอนนั้นมีทายาทการเมืองใหม่แกะกล่องปรากฏขึ้นมาในบัญชีรายชื่อ 5 อันดับแรกของพรรค แบบหักปากกาเซียน (เว้นแต่แม่ทัพบางคนที่บอกเราว่า ถ้าลูกเขาไม่ได้ 5 อันดับแรก เขาถอนตัว) การจัดกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เป็นเจเนอเรชันใหม่ของพรรค ทั้งที่เลือดเก่าตัวเก๋ายังไม่ไปไหนแบบนี้ ภูมิใจไทยกำลังจะบอกอะไรกับเรา ติดตามได้จากคุณประจักษ์ มะวงศ์สา
นายอนุทิน ชาญวีรกูล ยังคงได้รับความไว้วางใจ-ถูกโหวตเลือกให้นั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยอีกสมัย ขณะที่ นายไชยชนก ชิดชอบ บุตรชายของ นายเนวิน ชิดชอบ นั่งเก้าอี้เลขาธิการพรรคคนใหม่คน ส่งสัญญาณ การชูคนรุ่นใหม่-ตระกูลการเมืองดังขับเคลื่อนงานทางการเมือง การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 พรรคภูมิใจไทย เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ภายหลังจากที่ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคเมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา ทำให้ตำแหน่งเลขาธิการพรรคปัจจุบันยังว่างอยู่
แม้จะยังไม่ชัดเจนว่า ขณะนี้ดีลพา “ทักษิณ” กลับบ้าน มีเบื้องหลังหรือข้อตกลงอย่างไร และระหว่างการพักโทษจะจัดวางสถานะทางการเมืองของตนเองไว้ในระนาบไหน ประเมินกระแสมวลชนต่อต้านอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร รวมถึงแนวโน้มการสลายความขัดแย้งทางการเมืองในอดีต หลังการกลับบ้านของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะทำให้กระแสต่อต้านถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งหรือไม่ จะเป็นเรื่องที่ยาก ง่าย แค่ไหน และใครคือ "ศัตรูตัวจริง" ของทักษิณ และพรรคเพื่อไทย พูดคุยกับ • ถาวร เสนเนียม อดีตแกนนำกลุ่ม กปปส. • ผศ.ดร. สุริยะใส กตะศิลา อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ (พธม.)