ตำรวจกองปราบปรามติดตามจับผู้ร่วมช่วยเหลือซ่อนเร้นศพ นางสาวน้ำ ลูกจ้างที่ถูกนายจ้างทำร้ายจนเสียชีวิต เมื่อ 5 ปีก่อน ได้เพิ่มอีก 3 คน ในจำนวนนี้คือหลานของนายจ้าง ส่วนผู้ต้องหายังไม่มีการร้องขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งให้ประกันตัวชั่วคราว
ฝนในแต่ละรอบปี มีผลกับสังคมเกษตรที่เคยเป็นมาและสะท้อนอยู่ในพีธีกรรมที่มากับฤดูกาล เช่น สวดคาถาปลาช่อนขอฝน ในเชียงใหม่ยังมีความเชื่อนี้อยู่ ขณะเดียวกันก็เชื่อในอำนาจพุทธคุณของพระพุทธรูป เรียกกันว่า "พระเจ้าฝนแสนห่า" ชื่อนี้ให้ความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ที่วันนี้ จะเล่าย้อนเกร็ดความศรัทธาพระพุทธรูปของเมืองเชียงใหม่กัน ติดตามชมรายการไทยบันเทิง ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/ArtandCultureThaiPBS/episodes/102729
คำเปรียบเปรยล้านนา ที่ว่า "ไม้สืบไม้ คนสืบคน" หรือหมายถึงการสืบต่อกันรุ่นต่อรุ่น ยังใช้เปรียบกับผู้นำพิธีกรรมในงาน "ใส่ขันดอก บูชาเสาอินทขิล" ที่มีสายตระกูลผู้ดูแลและสืบทอดผู้รู้ หรือทางเหนือเรียกว่า "ปู่จ๋าน" เป็นผู้ที่มีบทบาทต่อศาสนา ความเชื่อ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีงานประเพณีที่เชียงใหม่กันไป 7 วัน ทำเพื่อให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตามตำนานที่มากับหลักเมือง ผู้คนไปรวมกันที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ติดตามชมรายการไทยบันเทิง ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/ArtandCultureThaiPBS/episodes/102286
ด้วยสองมือของเด็กล้านนาได้สร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในสังคม จากพื้นฐานที่พวกเขาได้รับความรักความอบอุ่น การไว้เนื้อเชื่อใจ และปรารถนาให้เด็ก ๆ ทุกคนได้เติบโตมีชีวิตอยู่ในสังคม สิ่งเหล่านี้นำมาสู่แรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ ทุกคนมีความกล้าที่จะคิด ทำ ในสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น สานต่อสองมือที่เคยสร้างไว้มายังสองมือของคนอีกรุ่นหนึ่งเพื่อสืบสานสิ่งดีงามให้อยู่คู่กับท้องถิ่นล้านนา
บ้านอาจเป็นผืนดินถิ่นเกิดไปจนถึงเรือนตาย หรือเป็นถิ่นอยู่ปัจจุบันที่เราได้เลือกเอง ล้านนาจากอดีตสู่ปัจจุบันนั้นเป็นบ้านที่รวมคนต่างที่มาที่ไป ความหลากหลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดงานฝีมือจำนวนมากที่นี่ ครูช่าง นักออกแบบ ที่ปรึกษา และล่ามแปลภาษา ต่างออกเดินทางแสวงหาบ้านของหัวใจ ซึ่งอาจหมายถึงพื้นที่ปลอดภัยให้ตีความศิลปะเก่าใหม่สอดประสาน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่เปี่ยมด้วยไอเดียซึ่งจับต้องได้
ชุมชนพวกแต้ม ชุมชมที่ยังคงอนุรักษ์การทำคัวตองศิลปะของชาวล้านนา ที่ชาวบ้านในชุมชนสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น สล่านิวัติ เขียวมั่น ผู้สืบสานการทำคัวตองพุทธศิลป์ที่ยังคงถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชน และแม่ครูสมจิตร อินทะยะ ช่างคัวตองหัตถศิลป์ ซึ่งสืบทอดการทำเล็บฟ้อน ดอกไม้ไหวแบบล้านนามาจากบรรพบุรุษ
ความโดดเด่นของภูมิประเทศและภูมิอากาศ ทำให้เกิดวัตถุดิบเฉพาะถิ่นที่ชาวล้านนาได้นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน หลายสิ่งหลายอย่างกลายเป็นสินค้าของดีจากท้องถิ่น ต้นทุนทางวัฒนธรรมหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ ทั้งงานจักสานจากไม้ไผ่และผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ พร้อมกันนั้นผู้คนในชุมชนก็ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์การท่องเที่ยวให้ถิ่นล้านนาดำรงสืบไป
“เมืองแพร่” ถือเป็นจุดเชื่อมต่อของภาคเหนือตอนบน และประตูสู่ล้านนา เป็นเมืองที่มีต้นทุนทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและทรัพยากร เช่น สุราพื้นบ้าน ไม้สักทอง หม้อห้อมหรือผ้าทอพื้นบ้าน แต่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ประชากรของเมืองลดลงทุกปี จะทำอย่างไรให้เมืองสามารถโอบรับผู้คน และสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้คนรุ่นใหม่อยู่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเมืองอย่างไร
แต่ละท้องถิ่นมีวัฒนธรรมของตนเอง วิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละพื้นถิ่นก่อเกิดภาพอันงดงามที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานจากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ของทั้งสามกลุ่มจึงไม่ได้เป็นเพียงสิ่งของสำหรับการใช้งานหรือประดับตกแต่งเท่านั้น แต่ยังแฝงไว้ด้วยตัวตนของช่างฝีมือและความภาคภูมิใจของคนล้านนาที่แสดงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นออกมาได้อย่างชัดเจน
ตามรอย “ไม้สัก” พืชเศรษฐกิจของไทยที่มีความสำคัญมาตั้งแต่โบราณ โดยป่าไม้สักในล้านนา ถือเป็นแหล่งไม้สักที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในอดีตมีการขนส่งไปขายยังที่ต่าง ๆ รวมทั้งส่งออกไปยังต่างประเทศ และเกิดบริษัทค้าไม้ต่างชาติในประเทศขึ้นมากมาย ความสำคัญของไม้สัก ทำให้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนา “กรมป่าไม้” ขึ้น และอนุญาตให้บริษัทต่างชาติสามารถทำสัมปทานการค้าไม้สักได้มาจนถึงปี พ.ศ. 2497
สัปดาห์นี้ Spirit of Asia จะพาคุณเดินทางไปพบกับเรื่องราวแห่งตำนานของอาณาจักรโบราณก่อนจะเป็นล้านนาที่เรารู้จัก ซึ่งเรานำมาร้อยเรียงใหม่ ให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความสำคัญของอาณาจักรโยนกเชียงแสน ที่เกือบจะหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย ติดตามชมรายการ Spirit of Asia ตอน เชียงแสน นครแห่งตำนาน วันอาทิตย์ที่ 3 มี.ค. 62 เวลา 16.30 น. รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live