จากประเด็นปัญหาการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำที่ได้รับการติดตามและได้รับความสนใจจากประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเริ่มแรกก็ได้รับรู้กันว่ามันสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศตามแหล่งน้ำธรรมชาติในหลายพื้นที่ และตอนนี้ก็ได้ทราบว่ามันเข้าไปสร้างปัญหาแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง กุ้ง ปู ปลา หรือกลุ่มชาวประมงท้องถิ่น ทำให้ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ตามหวังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก บางรายลงทุนไปร่วมแสน แต่เก็บผลผลิตขายได้หลักพัน นอกนั้นคือปลาหมอคางดำเป็นตัน ๆ ที่ไม่มีมูลค่าอะไร แม้ตอนนี้จะยังมีการพยายามพิสูจน์ความจริงถึงต้นตอที่ทำให้พวกมันหลุดมาตามแหล่งน้ำ จนสร้างปัญหาทุกวันนี้ วันนึงเมื่อความจริงปรากฏชัด ย่อมต้องมีคนรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นให้แก่เหล่าเกษตรกรและชาวประมงที่ประสบปัญหา แต่จะใช้หลักกฎหมายอย่างไรในการดำเนินการ ร่วมพูดคุยกับ ทนายพีท พีรภัทร ฝอยทอง ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai
พื้นที่คลองกำพร้า คลองเชื่อมปากน้ำสมุทรปราการ ลง"เรืออวนรุน" เรือประมงชายฝั่งขนาดเล็ก ปกติ เป็นเรือรุนเคย แต่ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ปลาหมอคางดำมากขึ้น สัตว์น้ำชนิดอื่นลดลง ประมงจังหวัดสมุทรสาคร จึงมาร่วมสำรวจกับชาวบ้าน จากนั้นไปพูดคุยกับแพปลาให้ช่วยรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 8 บาท และเปิดปฏิบัติการล่าปลาหมอคางดำ
มาดูความพยายามในการลดจำนวนปลาหมอคางดำ ที่ส่งผลกระทบหนักในหลายพื้นที่ หลังกรมประมง เตรียมออกประกาศ กำหนดรูปแบบวิธีการจับปลาหมอคางดำ ในพื้นที่สมุทรสาครและกรุงเทพฯ เพื่อให้ชาวบ้านและชาวประมงจับปลาชนิดนี้ได้ง่ายขึ้น ซึ่งบางส่วนเสนอว่าควรจับในเขตอภัยทานได้ด้วย
มีหลายแนวทางที่รัฐใช้จัดการกับปลาหมอคางดำแต่ต้องใช้งบประมาณ ซึ่งกรณีที่ กยท. จะนำงบ 50 ล้านบาท ซื้อปลาหมอคางดำ เพื่อทำน้ำหมัก ชีวภาพ ก็ยังมีความเห็นต่างของเกษตรกรชาวสวนยางที่ ประธานบอร์ด กยท. ระบุว่า จะเร่งทำความเข้าใจ ยืนยันว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีลง คาดว่าเดือนกันยายนชาวสวนยางจะสามารถนำไปใช้ได้