ผู้ประกอบการ และห้างสรรพสินค้าบริเวณย่านราชประสงค์ พร้อมใจกันดับไฟเพื่อร่วมกิจกรรมรวมพลังปิดไฟ 1 ชั่วโมงลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2024) พร้อมกับ อีกหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร และ สถานที่สำคัญอื่น ๆ รวมถึงเมือง อีก 7,000 เมืองทั่วโลก ในวันที่ 23 มีนาคม 2567 ระหว่างช่วงเวลา 20.30 น. - 21.30 น. เพื่อให้เป็นกิจกรรมที่สร้างแรงกระตุ้นและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวง พบว่า กิจกรรมปีนี้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ 24.65 เมกะวัตต์ เปรียบเทียบกับการใช้ไฟฟ้า เมื่อวันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2567 ในช่วงเวลาเดียวกัน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 11 ตัน และสามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ 130,182 บาท
ทั่วโลกสภาพอากาศแปรปรวนสูง อุณหภูมิผิวน้ำไม่เหมือนเดิม ทั้งกระแสน้ำเย็น - กระแสน้ำอุ่น ส่งผลโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ประกอบปัจจัยโลกร้อน ยิ่งทำให้ความถี่ของปรากฎการณ์ "เอลนิโญ" ร้อนแล้ง และ "ลานีญา" น้ำมากคำนวณยาก เพราะเกิดถี่และรุนแรงกว่าเดิม จนบางครั้งประเทศที่เปราะบางก็ปรับตัวไม่ทัน แต่ที่น่ากังวลความผันผวนของอากาศที่ร้อนจัดจาก "เอลนิโญ" ปี 67 อาจพลิกกลับมาเป็นปรากฎการณ์ "ลานีญา" ติดตามชมรายการสถานีประชาชนย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/People
นักวิจัยจาก Bear Center พบหมีขั้วโลก หรือหมีขาว กำลังเผชิญภาวะอดอยาก เนื่องจากโลกร้อนขึ้น น้ำแข็งละลาย ทำให้หมีใช้เวลาบนบกมากขึ้น ขณะที่อาหารเริ่มหายาก และอาหารที่กินมีแคลอรีต่ำ ทำให้หมีเกือบทั้งหมดมีน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยแล้วลดลงถึงวันละ 1 กิโลกรัม