ท่ามกลางการจับตามองการประชุมที่นครเจดดาห์ ซาอุดีอาระเบีย ยูเครนกำลังตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำอย่างหนัก ในภูมิภาคคูร์สก์ ทางภาคตะวันตกของรัสเซีย ซึ่งเป็นทางผ่านของท่อส่งก๊าซธรรมชาติสำคัญอีกแห่งหนึ่งของรัสเซีย ทำให้ทหารหน่วยรบพิเศษรัสเซีย สามารถแทรกซึมผ่านท่อส่งก๊าซระยะทางหลายไมล์ได้
ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์การสู้รบในสมรภูมิรัสเซีย-ยูเครน ยกระดับความตึงเครียดขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดเจน นับตั้งแต่ผู้นำสหรัฐฯ ไฟเขียวให้ยูเครนยิงขีปนาวุธโจมตีลึกเข้าไปในรัสเซียได้ ที่ต้องจับตามองอีกหนึ่งอย่าง คือ การทดสอบขีปนาวุธรุ่นใหม่ของรัสเซียในยูเครน ซึ่งนี่ยิ่งโหมกระพือความกังวลไปทั่วยุโรป
ล่าสุดมีรายงานว่า ยูเครนยิงขีปนาวุธพิสัยไกล ATACMS เข้าไปในพื้นที่ของรัสเซียเป็นครั้งแรก ในเขตพื้นที่เบรียนสค์ ซึ่งฝั่งรัสเซียอ้างว่าสามารถสกัดไว้ได้ 5-6 ลูก โดยไม่เกิดความเสียหายในพื้นที่ และประกาศพร้อมตอบโต้หากยูเครนใช้ขีปนาวุธสหรัฐฯ โจมตีดินแดนรัสเซีย
สงครามรัสเซีย-ยูเครนมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น หลัง "ไบเดน" ผู้นำสหรัฐฯ เตรียมไฟเขียวให้ใช้อาวุธพิสัยไกลโจมตีรัสเซีย ตามคำร้องขอของผู้นำยูเครนตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ด้านสมาชิกรัฐสภารัสเซีย ออกมาตอบโต้ข่าวการไฟเขียวให้ยูเครนใช้ขีปนาวุธของไบเดน โดยระบุว่า ชาติตะวันตกกำลังทำให้ความขัดแย้งยกระดับเพิ่มขึ้น จนอาจส่งผลให้สถานะความเป็นรัฐของยูเครนถึงจุดจบได้
วันนี้ (18 พ.ย. 67) เป็นวันที่ 999 ของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ก่อนที่จะมีอายุครบ 1,000 วัน ในวันพรุ่งนี้ (19 พ.ย.) เมื่อมองไปที่สมรภูมิล่าสุด จะเห็นได้ว่ากองทัพรัสเซียดูจะได้เปรียบอยู่หลายขุม ขณะที่ ชัยชนะของ "โดนัลด์ ทรัมป์" ในศึกเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ กำลังทำให้โลกจับตามองถึงโอกาสยุติสงครามครั้งใหญ่ในยุโรป
รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังพิจารณาส่งทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ยูเครนเพื่อสร้างแรงกดดันให้เกาหลีเหนือถอนกำลังพลออกจากรัสเซีย เนื่องจากเกาหลีใต้กังวลว่ารัสเซียอาจถ่ายทอดเทคโนโลยีบางประเทศให้เกาหลีเหนือนำมาใช้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธต่อไป มีรายงานว่า “คิม โย-จอง” น้องสาวของนายคิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ แสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรงจากการที่ถูกประธานาธิบดียูเครน และทางการเกาหลีใต้ กล่าวหาว่า เกาหลีเหนือส่งทหารไปช่วงรัสเซียทำสงครามยูเครน โดย “คิม โย-จอง” ประณามกลับว่า ยูเครนและเกาหลีใต้ เป็นหมาบ้าที่ขยายพันธุ์โดยสหรัฐฯ
ท่ามกลางการเผชิญหน้าในสงครามรัสเซีย-ยูเครน และการตอบโต้กับชาติตะวันตก รัสเซียก็กำลังถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีการส่งสายลับเพื่อสืบข้อมูล โดยแฝงตัวในรูปแบบของพลเรือนประกอบอาชีพปกติ จากเดิมที่มาฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเรื่องนี้มีการวิเคราะห์จากการแลกเปลี่ยนนักโทษครั้งใหญ่เมื่อเดือนที่แล้ว
นาทีเกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรงที่โรงพยาบาลเด็ก ในกรุงเคียฟ หลังรัสเซียปูพรมโจมตียูเครนระลอกใหญ่ ซึ่งมียอดผู้เสียชีวิตรวมไม่ต่ำกว่า 36 คน และบาดเจ็บอีกร่วม 140 คน นับเป็นการโจมตีที่เกิดขึ้นในเมืองหลวงของยูเครนที่รุนแรงที่สุดระลอกหนึ่งนับตั้งแต่สงครามเปิดฉากในปี 65
สหรัฐฯ และเยอรมนี เป็นประเทศล่าสุด ที่อนุญาตให้ยูเครนใช้อาวุธที่ได้รับจากทั้ง 2 ประเทศ โจมตีเข้าไปในดินแดนของรัสเซียได้ ซึ่งทำให้ผู้นำรัสเซียไม่พอใจมาก ถึงขั้นประกาศว่าสหรัฐฯ และนาโตกำลังทำให้ความตึงเครียดยกระดับขึ้นไปอีก และไม่ปฏิเสธว่ารัสเซียอาจจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ในสงครามยูเครน
สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมหลังสหรัฐฯ อนุมัติงบช่วยเหลือยูเครนก้อนใหม่ พร้อมยอมรับว่าลอบส่งขีปนาวุธพิสัยไกลให้ยูเครนไปตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา ขีปนาวุธพิสัยไกลเป็นประเด็นถกเถียงมานานในรัฐบาลสหรัฐฯ ว่าจะส่งให้ยูเครนหรือไม่ แต่ปรากฏว่าไบเดนอนุมัติเงียบๆ ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และถึงตอนนี้มีรายงานว่ายูเครนใช้โจมตีรัสเซียไปแล้ว 2 ครั้ง ด้านโฆษกประธานาธิบดีรัสเซีย ระบุว่า การจัดส่งระบบขีปนาวุธทางยุทธวิธี หรือ ขีปนาวุธพิสัยไกล ATACMS จะไม่เปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ของสงคราม แต่จะเป็นการสร้างปญหาให้ยูเครนเพิ่มมากขึ้น
ตามที่ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก ประทานสัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ของสวิตเซอร์แลนด์ ถึงความเห็นให้ยูเครนยอมแพ้สงครามแก่รัสเซีย โดยตรัสว่า คนที่เข้มแข็งต้องกล้าที่จะยกธงขาว อย่าอับอายที่จะเจรจา ก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายไปมากกว่านี้นั้น วันนี้ (11 มี.ค. 67) โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ปฏิเสธข้อเรียกร้องในการยกธงขาว เพื่อเข้าสู่กระบวนการในการเจรจายุติสงครามในครั้งนี้ และมองว่านี่คือความพยายามไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง อย่างไม่จริงจัง
วันนี้ (10 มี.ค. 67) สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประมุขแห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก ประทานให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ของสวิตเซอร์แลนด์ โดยการสัมภาษณ์ตอนหนึ่ง ผู้ดำเนินรายการ ตั้งคำถามว่าพระองค์ทรงมีความเห็นอย่างไรต่อกรณีที่มีบางฝ่ายเรียกร้องให้ยูเครนยอมแพ้ หากไม่สามารถขับไล่กองกำลังของรัสเซียออกนอกประเทศได้ สมเด็จพระสันตะปาปา ตรัสว่า ผู้ที่เข้มแข็งที่สุดคือ ผู้ที่มองเห็นสถานการณ์ และคิดถึงประชาชน และมีความกล้าที่จะยกธงขาวและเจรจา อย่าอับอายที่จะเจรจา ก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายไปมากกว่านี้ จะต้องมีผู้เสียชีวิตอีกเท่าไหร่กว่าสงครามจะจบ ดังนั้นควรจะหาประเทศที่เป็นตัวกลางสำหรับการเจรจา
ราคาซื้อขายน้ำมันภายในประเทศมีการปรับตัวตามราคาน้ำมันในต่างประเทศอยู่เสมอ แล้วอย่างนี้...เหตุการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน รวมไปถึงสงครามระหว่างอิสราเอล-ฮามาส จะมีผลต่อราคาน้ำมันในระยะยาวด้วยหรือไม่ ? ร่วมพูดคุยกับ คุณวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง