ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นในตอนเช้า ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ขณะที่พายุไต้ฝุ่น "หยินซิ่ง" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงแล้ว
สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ระดับน้ำลดลงและเริ่มเข้าสู่สภาวะฟื้นฟูแล้ว แต่หลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยยังต้องเตรียมรับมือกับฝนตกหนักในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากซ้ำอีก ติดตามชมรายการสถานีประชาชน ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/People/episodes/104593
วันนี้ (30 ก.ย. 67) ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 1-2 ต.ค.นี้ กระแสลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะอ่อนกำลังลง และมีความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และทะเลจีนใต้ ส่งผลให้เกิดอากาศแปรปรวน เกิดฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้และภาคตะวันตกอาจจะมีฝนตกหนัก
วันนี้ (27 ก.ย.67) กรณีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์แชร์กันเรื่องจะมีพายุใหญ่ ถล่มไต้หวัน และถ้ามวลอากาศเย็นหายไป พายุจะเข้ามาทางเวียดนามและประเทศไทยทางภาคเหนือตอนบน และกรุงเทพจะน้ำท่วมหนักกว่าปี 54 ถึงสองเท่า ซึ่งก็สร้างความกังวลให้กับประชาชนไม่น้อยนั้น ล่าสุด ไทยพีบีเอส สอบถามไปยัง นายสมควร ตันจาน ผู้อำนวยการส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กรมอุตุนิยมวิทยา บอกว่า พายุลูกนี้ไม่มีผลกับประเทศไทย และตอนนี้กลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำเรียบร้อย แต่ทั้งนี้ ที่ต้องติดตามคือ ช่วงวันที่ 30 ก.ย. จะมีมวลอากาศเย็นจากจีนจะกดลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ดังนั้นช่วงวันที่ 29-30 ก.ย. จึงมีแนวโน้มฝนตกมากขึ้นที่ภาคเหนือและอีสานตอนบน และช่วงวันที่ 1-2 ต.ค. จะมีฝนเพิ่มทางอีสานล่าง และภาคกลาง กรุงเทพและปริมณฑลได้ พร้อม ๆ กับอากาศจะเย็นลง ซึ่งเป็นสภาวะปกติของช่วงปลายฝนต้นหนาว
จับตาพายุดีเปรสชั่นลูกใหม่ในทะเลจีนใต้ หากทวีความรุนแรงจะยกระดับกลายเป็นพายุลูกที่ 15 ที่จะใช้ชื่อว่า “ซูลิก” โดยทิศทางพายุช่วงเดือนกันยายนจะเคลื่อนตัวด้านตะวันตก เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมจะเคลื่อนเข้าประเทศไทยช่วงนี้ ทิศทางและอิทธิพลของพายุลูกนี้ จะส่งผลกระทบต่อไทย และจะซ้ำเติมน้ำท่วมทางภาคเหนือและอีสานหรือไม่ พูดคุยกับ สมควร ต้นจาน ผอ.ส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กรมอุตุนิยมวิทยา
ThaiPBS พามาดูสถานการณ์น้ำท่วม และสภาพอากาศ ในอนาคต จากภาพถ่ายดาวเทียมในพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย เป็นมวลน้ำในแม่น้ำกก ที่มีปริมาน 300 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมานเทียบเท่าน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ยังมุ่งทิศทางไปยังแม่น้ำโขง ทำให้พื้นที่ในบริเวณใกล้เคียงแม่น้ำโชง กลายเป็นพื้นที่เสี่ยง