การเลือกตั้ง สว.ที่ผ่านมา “เชียงใหม่” ถือเป็นจังหวัดที่มีผู้สมัคร สว.มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ โดยมีผู้สมัคร จาก 25 อำเภอ และมีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งสิ้น 1,883 คน ส่วนตัวเต็ง ที่หลายฝ่ายมองว่า น่าจะได้เป็น สว. แน่นอน เพราะได้รับการหนุนจากพรรคเพื่อไทย คือนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และน้องเขยของนายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งร่ำลือกันถึงขนาดที่ว่าเป็นตัววาง ที่จะไปได้ไกลถึงตำแหน่ง “ประธานวุฒิสภา” พูดคุยกับ รศ. ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์ประจำหลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา นิด้า
พอเห็นภาพว่าที่ สว. แต่ละคน ตอนนี้คอการเมืองจับจ้องกันแล้วว่า มีใครบ้างที่ถือเป็นคนเด่นดัง เป็นบิ๊กเนมที่จะคั่วตำแหน่งประธานวุฒิสภา ก่อนหน้านี้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ คือหนึ่งในนั้น แต่พอเจ้าตัวไปไม่ถึงฝั่ง ตัวคู่ท้าชิงก็เปลี่ยนตามไปด้วย แถมตัวเต็งที่ว่านี้ ยังเปลี่ยนจากค่ายสีแดง ไปเป็นบิ๊กเนมจากค่ายสีน้ำเงิน
วันนี้ (28 มิ.ย. 67) มีการเสวนาของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พูดคุยถึงปัญหาการเลือก สว.ชุดใหม่ และ ข้อสังเกตการฮั้วระหว่างผู้สมัคร อย่าง รศ. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต นักวิชาการรัฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มองระบบป้องกันการฮั้วเลือก สว. ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง พร้อมอ้างถึงคะแนนจัดตั้ง โดยเครือข่ายนักการเมือง-ผู้มีอิทธิพล ที่อาจเรียกว่าเครือข่ายสีน้ำเงิน มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับคนบางกลุ่มในสังคมไทย ขณะที่ ผศ. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ มองในภาพรวม สว.ชุด 2567 ดีกว่า สว.ชุดปัจจุบัน ที่อยู่ภายใต้ คสช. ด้าน ทีมงานไอลอว์ ที่เข้าสังเกตการณ์การเลือก สว.ทุกขั้นตอน เปิดข้อสังเกตผลการเลือก สว.พบว่า มีเพียงกลุ่มคะแนนสูง และกลุ่มคะแนนต่ำมาก โดยไม่มีคะแนนตรงกลาง บางจังหวัดมีคะแนนเป็นกลุ่มก้อนย่างชัดเจน รวมถึงพบปัญหาเรื่องคุณสมบัติผู้สมัคร และผู้ที่ได้เป็น สว.หลายคน ไม่ตรงกับกลุ่มอาชีพ จึงเรียกร้องให้ กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติย้อนหลัง
มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ สำหรับ ว่าที่ สว. ที่ผ่านการเลือก 200 คน พบว่า จำนวนหนึ่ง (หลายคน) อาจเรียกได้ว่า เป็นว่าที่ สว. สายบ้านใหญ่ สีน้ำเงิน มีทั้งอดีตข้าราชการมหาดไทย ตำรวจ ทหาร และข้าราชการครู นอกจากนั้นก็เป็นนักธุรกิจท้องถิ่น เกษตรกร อสม. และผู้นำชุมชน ที่มาจากที่มั่นการเมืองของ "พรรคบ้านใหญ่"