วันนี้ (3 ต.ค. 67) ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผอ.ศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมิน 3 ฉากทัศน์ หลังอิสราเอลประกาศเอาคืนอิหร่านที่เปิดฉากโจมตีไปก่อนหน้านี้ คาดว่าจะมี 3 ฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้นคือ 1.โจมตีเชิงสัญลักษณ์ เน้นเอาคืนไม่เน้นสร้างความเสียหาย เหมือนอิสราเอลเคยทำเมื่อครั้งก่อน 2.พุ่งเป้าโจมตีโรงกลั่นน้ำมันบางแห่งในอิหร่าน เพื่อทดสอบระบบป้องกันของอิหร่าน ตรงนี้อาจไม่เกิดสงครามใหญ่ และ 3.โจมตีโรงงานนิวเคลียร์และโรงกลั่นน้ำมันทั้งหมดของอิหร่าน ตรงนี้สงครามจะขยายวงกระทบไปทั้งโลก เพราะอิหร่านจะปิดช่องแคบฮอร์มุซซึ่งเป็นช่องทางขนส่งน้ำมันตะวันออกกลางไปทั่วโลก
ความขัดแย้งในตะวันออกกลางแตะระดับสูงสุดอีกครั้ง หลังจากอิสราเอลปลิดชีพ “ฮัสซัน นาสรัลเลาะห์” ผู้นำกลุ่มเฮซบอลเลาะห์สำเร็จ แนวโน้มของสงครามระดับภูมิภาคเริ่มฉายชัดมากขึ้นอีกขั้น โดยเฉพาะการโจมตีฐานที่มั่นของกลุ่มฮูตีในเยเมนเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงอันตรายจากการขยายวงสงครามได้เป็นอย่างดี ขณะที่ ผศ. มาโนชญ์ อารีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองในตะวันออกกลาง วิเคราะห์นัยจากความสำเร็จในการเด็ดหัวผู้นำกลุ่มเฮซบอลเลาะห์ ท่ามกลางความพยายามในการปรับสมดุลอำนาจในตะวันออกกลาง เพื่อหวังให้อิสราเอลกลับมามีพลังเข้มแข็งเหมือนในอดีตอีกครั้ง
หลายประเทศออกมาเตือนและร้องขอให้พลเรือนรีบเดินทางออกจากเลบานอนเป็นการด่วน หลังจากปฏิบัติการของอิสราเอลในการโจมตีและสังหารแกนนำกลุ่มฮามาสและพันธมิตร ทำให้บรรยากาศทั่วภูมิภาคตะวันออกกลางยกระดับความตึงเครียดสูงสุด และเลบานอนถือเป็นจุดเสี่ยงที่สุดที่สงครามอาจจะปะทุขึ้นได้ทุกขณะ
การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านรอบตัดเชือกปิดฉากลงเมื่อวันศุกร์ (5 ก.ค. 67) ผู้สมัครสายปฏิรูปสามารถคว้าชัยชนะเหนือผู้สมัครสายอนุรักษ์นิยม "มาซูด เปเซชเคียน" จากสายปฏิรูปได้ 16 ล้านเสียง หรือ ร้อยละ 54 "ซาอีด จาลีลี" จากสายอนุรักษ์นิยม ได้ 13 ล้านเสียง หรือ ร้อยละ 45 การครองเก้าอี้ประธานาธิบดีของสายปฏิรูปได้รับความสนใจอย่างมากแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายสำคัญจะเป็นไปได้ไม่ได้เลยก็ตาม
หลังจาก “เอบราฮิม ไรซี” ประธานาธิบดีอิหร่าน เสียชีวิตอย่างกะทันหันจากเฮลิคอปเตอร์ตก ในจังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันออกเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 67 การผลัดใบทางการเมืองของอิหร่าน นโยบายสำคัญต่าง ๆ คงไม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญมากนัก เพราะผู้ทรงอำนาจสุดทางการเมืองคือ “อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี” ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งปี 1989 ในฐานะประมุขแห่งรัฐ และผบ.สส.อิหร่าน อย่างไรก็ตาม แม้ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง มีอำนาจตัดสินใจในด้านความมั่นคงค่อนข้างจำกัด แต่การสูญเสียไรซี อาจกระทบต่อการสืบทอดอำนาจผู้นำสูงสุด เนื่องจากไรซีถูกวางตัวให้เป็นตัวเต็งนั่งเก้าอี้ของผู้นำสูงสุดคนต่อไป
กรณีเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน ทำให้ “อิบราฮิม ราอีซี” ประธานาธิบดีอิหร่าน, ฮอสเซน อามีร์อับดอลลาเฮียน รมว.ต่างประเทศอิหร่าน เสียชีวิตนั้น พบว่าเฮลิคอปเตอร์ลำดังกล่าวเป็นรุ่น เบล 212 ผลิตโดย Bell Helicopter หรือ Bell Textron เพื่อให้กองทัพแคนาดาใช้งานในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในสถานการณ์ในหลายรูปแบบ ทั้งบรรทุกคน ดับเพลิงทางอากาศ บรรทุกสินค้า และติดตั้งอาวุธ Cedric Leighton ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหาร สำนักข่าว CNN มองว่า ความยากลำบากในการหาอะไหล่ อาจเป็นปัจจัยของเหตุการณ์นี้ เนื่องจากอิหร่านได้เบล 212 มาจากสหรัฐฯในปี 1976 สมัยพระเจ้าชาห์ แต่มาตรการคว่ำบาตรน่าจะทำให้การหาชิ้นส่วนอะไหล่เป็นปัญหา
วันนี้ (20 พ.ค. 67) ความคืบหน้ากรณีเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน ทำให้ “อิบราฮิม ราอีซี” ประธานาธิบดีอิหร่าน, ฮอสเซน อามีร์อับดอลลาเฮียน รมว.ต่างประเทศอิหร่าน เสียชีวิตนั้น ล่าสุดสมาคมเสี้ยววงเดือนแดงอิหร่าน เผยภาพเจ้าหน้าที่ที่ช่วยกันเคลื่อนย้ายร่างของผู้เสียชีวิตออกจากจุดเกิดเหตุ หลังภารกิจการค้นหายุติแล้ว ขณะที่รัฐบาลอิหร่านได้ประกาศไว้อาลัยเป็นเวลา 5 วัน โดยรองประธานาธิบดี จะปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทนประธานาธิบดี
ทั่วโลกต่างจับตาดูสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ที่มีแนวโน้มว่าอาจถูกยกระดับขึ้นมาอีกขั้น เมื่ออิหร่านถูกโจมตีด้วยโดรน แต่ในที่สุดเหตุการณ์ก็ยุติลง โดยที่อิหร่านไม่ได้กล่าวโทษฝ่ายใด ด้านอิสราเอลก็ไม่ยอมรับว่าเป็นผู้โจมตี ทำให้เรื่องนี้จบลงและไม่เกิดแนวรบใหม่ แต่การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสก็ยังน่ากังวลอยู่ดี และไม่ใช่แค่ในกาซาเท่านั้น ปรากฏว่าในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทัพอิสราเอลบุกเข้าตรวจค้นค่ายผู้อพยพในเวสต์แบงก์ และเกิดการปะทะกับกลุ่มติดอาวุธจนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 14 คน
ฮอสเซน อาเมียร์ อับดอลลาเฮียน รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านให้สัมภาษณ์ว่าอิหร่านกำลังสอบสวนเหตุโจมตีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา พร้อมทั้งระบุว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่พบหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงอิสราเอล ส่วนวัตถุที่ถูกยิงตกมีลักษณะเหมือนของเล่นเด็กมากกว่าโดรน พร้อมทั้งยืนยันว่า การรายงานของสื่อหลายสำนักไม่เป็นความจริง
สถานการณ์ในตะวันออกกลางมีความน่ากังวลมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออิหร่านถูกโจมตีและคาดว่าเป็นฝีมือของอิสราเอล มีการส่งสัญญาณออกมาจากอิหร่านว่าจะไม่มีการโจมตีเพื่อเอาคืน แม้ว่าก่อนหน้านี้อิหร่านจะทั้งเตือน ทั้งขู่อิสราเอล ว่าถ้าโจมตีอิหร่านแม้แต่นิดเดียวจะต้องถูกเอาคืนทันทีและรุนแรงขั้นสุด
ทั้งโลกต้องหันมาจับตาดูสถานการณ์ในตะวันออกกลางอีกครั้ง เมื่ออิหร่านโจมตีดินแดนของอิสราเอลโดยตรงเป็นครั้งแรก ด้วยการส่งโดรนและระดมยิงขีปนาวุธโจมตีอิหร่าน แม้ว่าการโจมตีในครั้งนี้ในส่วนของอิสราเอลจะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ก็ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางเพิ่มความเสี่ยงที่สงครามจะยกระดับขึ้น