จังหวัดอุบลราชธานี จัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ตลอดเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2567 ซึ่งปีนี้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 123 และเป็นมหามงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2567 สำหรับไฮไลต์การจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี ปี 2567 อาทิ • กิจกรรมเยือนชุมชน ชมวิถี คนทำเทียน และการประดับต้นเทียน ตามคุ้มวัด ต่างๆ ทั่วทั้งจังหวัด ทุกท่านสามารถมีส่วนร่วมในการทำเทียนพรรษากับชาวอุบลราชธานีได้ ตั้งแต่วันนี้ถึง 18 กรกฎาคม 2567 • งานแสงศิลป์แห่งศรัทธา เนรมิตเมืองอุบลราชธานีให้เต็มไปด้วยแสง สี ศิลป์ สุดวิจิตรตระการตา รวม 15 จุด ทั่วเมืองอุบลราชธานี ระหว่างวันนี้ถึง 21 กรกฎาคม 2567 ระหว่างเวลา 18.00-24.00 น. • การจำหน่ายสินค้าเศรษฐกิจชุมชน (OTOP) ณ ลานวัฒนธรรมข้างศาลหลักเมืองอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 17 - 23 กรกฎาคม 2567 • ขบวนแห่เทียนพรรษา ขบวนฟ้อนของนางรำ และการแสดงแสง เสียงประกอบขบวนแห่ ถึง 2 วัน 2 คืน ในวันที่ 20 - 21 กรกฎาคม 2567 โดยแต่ละวันจะมีขบวนต้นเทียนทั้ง 49 ต้น และขบวนฟ้อนรำจากชุมชน คุ้มวัด สถานศึกษา มหาวิทยาลัยและโรงเรียนใน จังหวัด วันละ 26 ขบวน ซึ่งแต่ละขบวนจะมีสีสัน ท่ารำที่หลากหลายแตกต่างกันไป ซึ่งในภาคค่ำจะมีแสง เสียง ให้ได้ชมกันอย่างเต็มอิ่มถึง 2 คืน
ชาวบ้านท่าวารี ต.หัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ช่วยกันเก็บกวาดศาลหลักเมืองประจำหมู่บ้าน หลังถูกพายุพัดเมื่อช่วงเย็นวันที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา แรงลมทำให้เสาหลังคาของศาลหลักเมืองโค่นลงมา รวมถึงบ้านเรือนในหมู่บ้านกว่า 20 หลังคาเรือนได้รับความเสียหาย
#สงกรานต์2567 จังหวัดอุบลราชธานี จัดงานสงกรานต์ตลอดทั้งเดือนเมษายน เพื่อผลักดันด้านการท่องเที่ยว โดยกระจายจัดงานในหลายพื้นที่ที่มีความโดดเด่นด้านกายภาพและวัฒนธรรม โดยเฉพาะงานสงกรานต์แก่งสะพือ และมหาสงกรานต์ถนนดอกไม้ และสายน้ำ เพื่อปลุกกระแสให้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายของนักท่องเที่ยว ติดตามจากรายงานคุณพจนีย์ ใสกระจ่าง
บรรยากาศวันสุดท้าย การเข้าสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ณ หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นไปอย่างเนื่องแน่นนับแสนคน ด้วยพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วสารทิศ ทำให้ยิ่งใกล้ค่ำรถติดนานหลายชั่วโมง ก่อนที่จะมีพิธีอันเชิญไปประดิษฐานชั่วคราว ให้พุทธศาสนชนในภาคอีสานได้กราบสักการะ ที่จังหวัดอุบลราชธานีต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในวงการเกษตรไทย หลังคณะกรรมการ จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ลงตรวจสอบพื้นที่จริง ตามคำขอรับรองระบบการเลี้ยงควายปลัก หรือควายน้ำ ในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง หากการขึ้นทะเบียนสำเร็จ ควายน้ำ ทะเลน้อย จะเป็นปศุสัตว์ชนิดแรกของไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางการเกษตรโลก