การตั้งเครือญาติมาดำรงตำแหน่งแทน เป็นประเด็นที่ถูกจับตา และถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก จนปิดเรื่องสำคัญ ๆ ที่แตกต่างจาก ครม. ทุกชุดที่ผ่านมา ทั้ง การมีรัฐมนตรีหญิงที่มีจำนวนมากที่สุด นายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดของประเทศไทย รวมทั้งการคัดกรองคุณสมบัติด้านจริยธรรมเข้มที่สุด แต่ไม่ว่าจะแตกต่างอย่างไรก็ต้องยอมรับว่า รัฐบาลนี้เข้ามาต้องทำงานทันที ไม่มี "ฮันนี้มูล พีเรียด" ติดตามการวิเคราะห์จากประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส ในช่วง ประจักษ์วิเคราะห์
รัฐบาลอยู่ระหว่างฟอร์มทีม ขึ้นมาบริหารประเทศ ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าโครงการดิจิทัล วอลเล็ต จะเดินหน้าต่อหรือไม่ มีหลายข้อเสนอหากรัฐจะไม่แจกเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ต รวมทั้งแจกเงินสด ซึ่งแนวทางนี้ ทางสำนักงบประมาณ แจงว่ารัฐบาลสามารถปรับนโยบายได้ แต่ต้องเป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ และนำเข้าครม.ใหม่ ภายใน 30 กันยายนนี้ ขณะที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยืนยันถึงการเดินหน้าโครงการ "ดิจิทัลวอลเล็ต" แต่ต้องปรับวิธีการแจกเงินให้เหมาะสม และเห็นว่า การแจกเงินสด ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เต็มที่ และขอให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ชี้ขาดเรื่องนี้ พร้อมย้ำว่า ปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้ หมักหมมนานาน ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ
มองทิศทางการเมืองหลังจากนี้อย่างไร การจัดโผ ครม.อุ๊งอิ๊ง1จะจบลงอย่างไร การตรวจสอบจริยธรรมรัฐมนตรีเข้นข้น จะยังมีปัญหาซ้ำรอย อดีตนายกฯ เศรษฐ ทวีสิน หรือไม่ และเสถียรภาพของรัฐบาลหลังจากนี้ ติดตามการวิเคราะห์จาก จตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน
ศิริกัญญา ตันสกุล สส. พรรคประชาชน ที่เกาะติดเรื่องโครงการดิจิทัลวอลเล็ต มาตั้งแต่สมัยพรรคก้าวไกล ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อโครงการนี้ โดยเฉพาะข้อเสนอทางออก เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ศิริกัญญา กล่าวว่า ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงจากแจกเงินระบบดิจิทัลเป็นเงินสด อาจจะตรงกับความต้องการพฤติกรรมของผู้ใช้และประชาชนทั่วไป และจะลดเสียงวิจารณ์ลงได้ ก็ต้องดูเรื่องที่มาของเงิน ว่าจะสามารถแจกได้เท่าไหร่หากต้องเป็นเงินสดจริง ส่วนเรื่องที่ผู้นำรัฐบาลยังให้ความชัดเจนเรื่องนโยบายนี้ไม่ได้นั้น ศิริกัญญา บอกว่าเข้าใจได้ เพราะยังไม่มี ครม. ยังไม่มีการแถลงนโยบาย และยังไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของ ครม. จึงต้องให้โอกาสและให้เวลารัฐบาลได้เตรียมตัว
การเมืองนาทีนี้ นักวิเคราะห์ประเมินว่า บ้านป่าชนะศึกแต่แพ้สงครามแก่บ้านจันทร์ ประเมินจากคำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ช่วงที่กลุ่ม 40 สว. ยื่นคำร้องตรวจสอบจริยธรรม เศรษฐา และช่วงที่ตัวเองยังชุลมุนกับคดี ม.112 ว่า เป็นคนในป่าว้าวุ่นอยู่คนเดียว แม้ เศรษฐา จะพ้นจากตำแหน่งนายกฯ จริง ๆ แต่เก้าอี้ตัวนี้กลับไม่ได้เปิดกว้างให้คนในป่าเลย เพราะได้เห็นปฏิบัติการเปิดเกมเร็วจากบ้านจันทร์ส่องหล้า รวมบิ๊กเนมพรรคร่วมรัฐบาลมาหารือกัน จบทุกคำถามตั้งแต่คืนเดียวกันนั้น ตอนนี้จึงมีคำถามตามมา 3 คำถาม 1. สมรภูมิวัดกำลังภายในระหว่างคนบ้านจันทร์ กับคนบ้านป่า จะสะเทือนถึงรัฐบาลแพทองธารขนาดไหน 2. ปัญหาการเมืองจะเบียดบังเวลาของนายกฯ แพทองธาร จนผลักดันงานนโยบายได้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังมั้ย 3. ทีมงานการเมือง-งานบริหารของนายกฯ แพทองธาร กลุ่มเพื่อนอิ๊งค์ จะช่วยแบ่งเบาได้ขนาดไหน
3 รัฐมนตรี จากพรรคเพื่อไทย "สุทิน คลังแสง - พิชัย ชุณหวชิร และจักรพงษ์ แสงมณี" ส่อหลุดเก้าอี้ "ครม.แพทองธาร 1" แต่ต้องจับตา "พลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ" จะได้ไปต่อหรือไม่ หลังมีกระแส "นายทักษิณ ชินวัตร" ส่งสัญญาณ ต้องไม่มีคนใน "ตระกูลวงษ์สุวรรณ" ร่วมเป็นรัฐมนตรี
ปฏิกิริยาสืบเนื่องจากกรณีที่ "อุ๊งอิ๊ง" หัวหน้าพรรคเพื่อไทย แสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ "เติมเพื่อไทยให้เต็ม 10 สนับสนุนรัฐบาลเปลี่ยนประเทศ" ซึ่งส่วนหนึ่งวิจารณ์ความเป็นอิสระและการดำเนินนโยบายการเงินของ "ธนาคารแห่งประเทศไทย" เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
หวัดเชียงใหม่ในรอบ 18 ปี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี บอกว่า รู้สึก “ม่วนอก-ม่วนใจ๋” กลับมาแล้วก็อยากใช้ชีวิตเรียบง่ายและสงบ และเนื่องในวันครอบครัว เมื่อได้กลับมาอยู่กับครอบครัวที่ประเทศไทยก็อบอุ่น มีความสุข ดีกว่าอยู่เมืองนอก พร้อมหวังว่า สงกรานต์ปีหน้านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คงได้มีโอกาสมาทำบุญด้วยกัน เพราะนางสาวยิ่งลักษณ์อยากกลับ และตั้งใจจะกลับภายในปีนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะกลับเมื่อไหร่ อย่างไร ทั้งนี้หากจะมีเสียงวิจารณ์ เราต้องมีเหตุผลตอบสังคมส่วนใหญ่ได้
การคืนสู่เหย้าของ ทักษิณ ชินวัตร ถูกจับจ้องว่าจะมีอะไรที่ถูกมองเป็นสัญญาณการเมืองได้รึเปล่า เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ตั้งแต่ได้รับการพักโทษ แต่ละความเคลื่อนไหวของอดีตนายกรัฐมนตรีคนนี้ ล้วนมีแง่มุมให้ถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์ ผลโพลล์จากนิด้าเมื่อสุดสัปดาห์ ปรากฏว่าคะแนนของเพื่อไทยและบุคลากรการเมืองของพรรคในไตรมาสแรก ก็ยังสู้ก้าวไกลและ "พิธา" ไม่ได้ การที่ "ทักษิณ" ไปปรากฏตัวที่พรรคเพื่อไทยเจอกับ สส. พอจะช่วยอะไรได้บ้างหรือไม่ ? ติดตามได้จากคุณประจักษ์ มะวงศ์สา
เป็นคำถามคำโต ๆ ถึงการที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เยือนเมืองหลวงคนเสื้อแดง ภาพผู้ก่อตั้งพรรคเพื่อไทยที่เปรียบดั่งจิตวิญญาณของพรรค และยังเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีความนิยมสูงมากพบปะประชาชนที่มารอต้อนรับและยังมีหน่วยงานราชการมารายงานปัญหา ปฏิเสธไม่ได้ว่าการหวนคืนเชียงใหม่ครั้งนี้ จะไม่มีวาระการเมืองอะไรซ่อนเร้น
การกลับมาของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะทำให้กระแสต่อต้านถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งหรือไม่ จะเป็นเรื่องที่ยาก ง่าย แค่ไหน เพราะวันนี้การเมืองไทยดูเหมือนว่าจะก้าวข้ามคุณทักษิณไปมากแล้ว แม้จะมีบางกลุ่มที่ยังยึดติดและมีเรื่องค้างคาใจอยู่ แต่ก็เปลี่ยนเป็นการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ ซึ่งนายทักษิณอาจเป็นตัวแสดงหนึ่งท่ามกลางการแบ่งขั้ว แต่ไม่ใช่ตัวแสดงนำอย่างที่ผ่านมาในอดีตอีกแล้ว พูดคุยกับ - รศ.ดร. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต | ผอ.หลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา นิด้า - รศ.ดร. ยุทธพร อิสรชัย | สาขาวิชารัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช