กกต.สามารถประกาศผล สว. ไปก่อน แล้วตามสอยกันทีหลังได้จริงหรือเปล่า เพราะกฎหมายไม่ได้เขียนไว้เหมือนการเลือกตั้ง สส. ว่า ให้ประกาศได้ 95% คำถามคือ ตกลง กกต. ควรจะทำอย่างไร และกฎหมายให้ กกต. ทำอะไรได้บ้าง พูดคุยกับนักนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ. ปริญญา เทวานฤมิตกุล
วันนี้ (24 มิ.ย. 67) นายมงคล บางประภา ประธานสมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการได้รับข้อมูลการทุจริตเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 2567 แตกต่างจากการเลือกตั้ง สส. ที่หัวคะแนนคุมเสียงได้ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง แต่เลือก สว. 67 ที่มีการเลือกไขว้ คุมคะแนนเสียงยาก ทำให้เกิดโบรกเกอร์เฉพาะหน้า ทำหน้าที่จัดกลุ่ม จัดเสียงหน้างาน แล้วเอาไปเสนอขาย เชื่อมีร่องรอยให้รู้ว่าใครเป็นโบรกเกอร์ ซึ่ง รศ. สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และอดีตผู้สมัคร สว. 2567 เห็นด้วย และเชื่อว่า กกต.ก็รู้ว่าใครเป็นใครบ้าง ผู้สมัคร สว.มาจากกลุ่มไหนบ้าง หากทำงานในพื้นที่จริง
การเลือก สว. ในระดับจังหวัด มีทั้งคนสมหวังได้ไปต่อ และผิดหวังเพราะไม่ผ่านรอบเลือกกันเองในกลุ่ม แม้จะเป็นคนเด่น คนดัง คนดีกรีไม่ธรรมดา ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันการเข้ารอบ เป็นเพราะปัจจัยอะไร กฎ-ระเบียบ ที่ กกต. กำหนดมาในการเลือก สว. มาถูกทางหรือไม่ พูดคุยกับ นารากร ติยายน อดีตผู้สมัคร สว. สายสื่อสารมวลชน
วันนี้ (16 มิ.ย. 67) รศ. สมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้สมัคร สว. ปี 2567 ซึ่งตกรอบในการเลือกในกลุ่มอาชีพตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ เปิดมุมมองผู้สมัครกับการเลือก สว. ระดับจังหวัด ว่า การเลือก สว.ระดับจังหวัด ที่มีการเลือกไขว้ข้ามกลุ่มอาชีพ ผู้สมัครอาจไม่รู้จักกัน ฉะนั้นการไขว้แล้วต้องเลือกทันที ผู้สมัครก็อาจเลือกตามโพยหรือไม่ ฉะนั้นหากให้โอกาสผู้สมัครได้พูดแนะนำตัว ก็จะดียิ่งขึ้น
การเลือก สว. ปี 2567 กำลังเดินมาถึงทางแพร่ง คือจะไปต่อได้ หรือจะพอแค่นี้ ด้วยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่นัดชี้ขาดในวันอังคาร 18 มิ.ย.นี้ แนวทางการวินิจฉัย ที่ศาลฯ น่าจะชี้ออกมาแค่ 2 ทางเท่านั้น คือ 1.ได้ไปต่อ และ 2.ต้องหยุด ซึ่งหากเป็นกรณีสั่งให้หยุด เพราะขัดกับรัฐธรรมนูญ คาดกันว่าอาจจะไม่ใช่แค่หยุดการเลือก สว.ไว้แค่ 2 ระดับ แต่อาจถึงขั้นว่าชี้ว่าการเลือก สว.ครั้งนี้เป็นโมฆะ ?
วันนี้ (16 มิ.ย. 67) บรรยากาศการเลือก สว. กรุงเทพมหานคร มีผู้สมัครมารายงานตัว 1,617 คน จากผู้สมัครทั้งหมด 1,634 คน รอบแรกเป็นการเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ โดยกลุ่มที่คัดผู้เข้ารอบ 5 คนที่คะแนนสูงสุด ส่วนที่เหลือตกรอบ ต้องกลับบ้าน โดยผู้สมัครที่ต้องกลับบ้านก่อน เปิดเผยว่า เกิดเหตุการณ์หักเหลี่ยม-หักหลังกันในการเลือก ในการเลือกรอบแรกกลุ่ม 20 กลุ่มอาชีพอิสระ พบว่าคนดังคนมีชื่อเสียงตกรอบอย่าง นายสันทนะ ประยูรรัตน์, นายสนธยา สวัสดี
วันนี้ (16 มิ.ย. 67) บรรยากาศการเลือก สว.เชียงใหม่ ช่วงครึ่งเช้า อย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีผู้มารายงานตัว 885 คน ไม่มา 10 คน ผลการเลือกกันเองรอบแรกใน 20 กลุ่ม พบว่า กลุ่ม 1 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านรอบแรก ส่วนคนที่มีชื่อเสียงที่ไม่ผ่าน เช่น นางสาวนรากร ติยายน ในกลุ่ม 18 สื่อสารมวลชน และนางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่
วันนี้ (16 มิ.ย. 67) มีการรายงานว่า ตำรวจสันนิบาลเข้าควบคุมตัว ผู้สมัคร สว. ในจังหวัดศรีสะเกษ หลังได้รับรายงานว่าเข้าข่ายทุจริต มีการซักซ้อมเพื่อนัดแนะลงคะแนน จากการสอบสวนยังพบว่า มีการจ่ายเงินในการเลือก สว. ครั้งนี้กว่า 1 ล้านบาท โดยผู้สมัครที่เป็นคนเลือก สว. จะได้รับเงินคนละ 5,000-7,000 บาท รวมถึงค่าสมัคร 2,000 บาท
การเลือก สว. เดินหน้าเข้าสู่กระบวนการเลือกระดับจังหวัด ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยคำร้องตีความกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือก สว. ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 18 มิ.ย. นี้ ผลในทางกฎหมาย จะเป็นเหตุกระทบต่อกระบวนการหรือไม่ ? พูดคุยกับนักวิชาการด้านกฎหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในเวทีเสวนาติดตามผล และปัญหาการเลือก สว. นักวิชาการหลายคน ยอมรับว่าแม้กฎหมายจะออกแบบเพื่อให้ได้ สว. ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะสกัดฮั้วได้ แต่ในทางปฏิบัติก็สกัดไม่ได้ ซึ่ง รศ.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต บอกว่า การเลือก สว. ครั้งนี้ มีการฮั้วกันจริง-แต่ไม่ทุกพื้นที่ และแม้จะเป็นกฎกติกาที่ไม่สมบูรณ์ แต่ดีกว่าการเลือกครั้งที่แล้ว ที่เลือกมาโดย คสช.
การเลือก สว. ระดับอำเภอ เริ่มขึ้นแล้วตามไทม์ไลน์ที่ กกต. วางไว้ แต่ด้วยกลไกที่ซับซ้อนและนำมาใช้เป็นครั้งแรก ทำให้การเลือกสภาสูงครั้งนี้ป็นที่จับตาของหลายฝ่าย หนึ่งในนั้นคือนายสมชาย แสวงการ สว. รักษาการ ที่ชวนประชาชน และทุกองค์กร จับตา "ฮั้วเลือก สว." ล่าเงินล้าน