ปมปัญหาเรื่องเกาะกูด หากไม่นับในสื่อออนไลน์ที่เริ่มพูดถึงกันมาสักพัก ยังถูกกล่าวถึงอย่างชัดเจน ในการแถลงข่าวของพรรคพลังประชารัฐสัปดาห์ก่อน ในวันที่โยนระเบิดปมคดีดิไอคอนกลับไปยังพรรคเพื่อไทย พวกเขายังพ่วงเรื่องอำนาจอธิไตยทางทะเล เกาะกูด และพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมา จนนำไปสู่กระแสวิจารณ์กว้างขวางมากขึ้น หลังการประชุมนัดพิเศษเมื่อช่วงบ่ายวานนี้ (4 พ.ย. 67) นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ยืนยันว่า ใน MOU 44 ไม่มีอะไรเกี่ยวกับเกาะกูด ไม่ได้เป็นการถกเถียงเรื่องเกาะกูด
ในการยื่นญัติติขออภิปรายทั่วไป ของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงแนวทางปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ลงมติตามมาตรา 153 ซึ่งการอภิปรายจะใช้เวลาทั้งหมด 15 ชั่วโมงแบ่งเป็น สว. ประมาณ 12 ชั่วโมง และ รัฐบาลประมาณ 3 ชั่วโมง ทั้งนี้มีประเด็นปัญหาด้านพลังงาน เน้นประเด็นการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยระหว่างไทยกับกัมพูชา พูดคุยกับ นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ผู้ลงชื่ออภิปราย
กรณีที่กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย หรือ คปท. ยื่นหนังสือเรียกร้องให้กระทรวงกลาโหม ช่วยกันปกป้องพื้นแผ่นดินไทย โดยเฉพาะการพิจารณาเรื่องเส้นเขตแดนทับซ้อน บริเวณเกาะกูด จ.ตราด ให้รอบคอบ ตามข้อตกลงใน MOU 2544 โดย นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เผยเข้าใจความกังวลของหลายฝ่าย ย้ำอย่าเป็นห่วง เพราะมีระบบประชาธิปไตยตรวจสอบในสภาฯ เชื่อมีทางออกที่ดี เลี่ยงขัดแย้งเพื่อรักษามิตรภาพ