ติดตามชมข่าววันใหม่ ไทยพีบีเอส : อัญเชิญไฟหลวงพระราชทานถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ณ พระเมรุมาศจำลอง , นาวิกโยธินร่วมแปรอักษรแสดงความอาลัย , ทีมสัตวแพทย์ช่วยพยุงช้างป่าลุกขึ้นยืนได้สำเร็จ ออกอากาศ เวลา 05.00 - 07.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ติดตามชมข่าววันใหม่ ไทยพีบีเอส : ร้านอาหารให้บริการ ปชช.ที่มาชมการซ้อมริ้วขบวนฯ , วงโยธวาทิต รร.วังไกลกังวล บรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ , ฝนตกหนักทำให้เกิด น้ำป่า และ ดินสไลด์บนดอยสุเทพ ออกอากาศ เวลา 05.00 - 07.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บอย พิษณุ นิ่มสกุล เดินทางตามหาแสงจากพ่อสู่ความยั่งยืน จาก จ.ตราด ราชอาณาจักรไทย ไปถึงจ.เกาะกง ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อค้นหาความยั่งยืนที่สืบผลต่อเนื่องจาก ผู้แกนนำชุมชนผู้ร่วมบุกเบิก และประชาชนผู้ได้รับผลประโยชน์จาก โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บนถนนสาย 48 (เกาะกง – สะแรอัมเบิล) เป็นโครงการจังหวัดตราด และกรมการพัฒนาชุมชนดำเนินการภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกรมเอเชียใต้
พาทุกท่านไปพบกับผู้คนที่ใช้ชีวิตในคันไซทั้งชาวไทยและญี่ปุ่น ซึ่งรักและเคารพในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นอย่างยิ่ง เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับมรดกอันยิ่งใหญ่และยั่งยืน ที่พระองค์มอบไว้ให้คนทั้งโลก ซึ่งก็คือหลักธรรมคำสอนและแนวทางจากพระราชดำริ ซึ่งมีความเป็นสากลและนำมาใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย มีคนในญี่ปุ่นจำนวนมาก น้อมนำแนวทางของพระองค์มาปรับประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความสุข ความสมดุลในชีวิตประจำวัน
ชายหนุ่มชาวภูฏาน โซกิ ดอร์จิ ได้ตระหนักถึงแนวโน้มที่คนหนุ่มสาวชาวภูฏานเริ่มไม่สนใจเรื่องการเกษตรเพราะไม่มีสอนในสถาบันการศึกษา เขาจึงตัดสินใจเดินทางมาเมืองไทย เพื่อมาเป็นนักศึกษาสถาบันอาศรมศิลป์ ในสาขาผู้ประกอบการสังคม ด้วยความตั้งใจที่จะเรียนรู้เรื่องการเกษตรและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทั้งเรื่องดิน น้ำ ป่า และภูมิปัญญาแห่งการพึ่งพาตนเองอีกมากมายบนผืนแผ่นดินไทย
พระสุปฏิปันโนผู้ใช้ปัญญาเป็นแสงส่องทางให้คนในชุมชนพ้นจากปัญหาหนี้สิน ผู้ก่อตั้ง "เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรม ครบวงจรชีวิต " จังหวัดตราด หนึ่งในต้นแบบกลุ่มการเงินชุมชน ดำเนินการมากว่า 21 ปี ปัจจุบันมีสมาชิกรวมกันกว่า 62,000 คน มีเงินหมุนเวียนกว่า 1,300 ล้านบาท นอกจากเงินปันผลที่กลับสู่ชุมชนแล้ว ยังนำดอกผลมาดูแลชีวิตสมาชิกในยามเกิดป่วยแก่เจ็บตายอย่างครบวงจร
โครงการหมู่บ้านต้นแบบตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในพื้นที่เกษตรของติมอร์-เลสเต ประเทศใหม่ว่าที่สมาชิกอาเซียนที่เพิ่งได้รับเอกราชเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยความร่วมมือจากรัฐบาลไทย เพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากหมู่บ้านเล็กๆ กลายมาเป็นทั้งจุดเริ่มและความหวังอันยิ่งใหญ่ ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนทั้งประเทศ
วันนี้ได้รับเกียรติจาก คุณจี๊ด จิระนันท์ พิตรปรีชา อดีตกวีซีไรท์ อดีตนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และครูใหญ่ของกลุ่มช่างภาพ ที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มสหภาพ และอีกท่านเป็นอาจารย์ด้านดนตรีจากวิทยาดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ และ เป็นวาทยกรหรือ ผู้อำนวยเพลง วงนิมมาน สตรีท ออเครสต้า อ.โจ บฤงคพ วรอุไร มาร่วมพูดคุยในรายการ ถึงที่มาของการสานพลัง ระหว่าง บทกวี กับ ดนตรี รวมถึง การถอดรหัสของงานศิลป์แขนงอื่นๆ ที่จะเป็นพลังผลักดันให้คนไทย เผชิญกับ ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดใน ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
พาคุณผู้ชมเดินทางขึ้นไปที่จังหวัดเชียงใหม่ เมืองที่ได้ชี่อว่ามีวัฒนธรรมดนตรีที่มีความหลากหลายและกำลังมีการรณรงค์ผลักดันให้ที่นี่ เป็นเมืองดนตรีแห่งแรกของประเทศไทย ลองย้อนกลับไปทบทวนความรู้สึก และพลังของกลุ่มศิลปินนักร้องนักดนตรีใน "เมืองดนตรี" เชียงใหม่ หลังเหตุการณ์ วันที่ 13 ตุลาคม 2559 พร้อมทั้งเปิดตัวบทเพลงแสงจากพ่อ จากบทกวีของ จีระนันท์ พิตรปรีชา มาเป็นบทเพลงที่บรรเลงโดยวง Nimman Street Orchestra
หมอของคนไร้สัญชาติบริเวณชายแดนไทย ผู้ใช้เวลาครึ่งชีวิตไปกับการช่วยเหลือคนที่ไม่มีโอกาส เข้าถึงทรัพยากรด้านสาธารณสุขมานานกว่า 25 ปี ไม่เพียงเท่านี้ คุณหมอยังเชื่อมั่นและศรัทธาในการน้อมนำเอากระแสพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้บริหารงานในโรงพยาบาลอีกด้วย
อุ้ม เด็กสาวต่างจังหวัดที่เคยพลัดหลงแสงสีในเมืองหลวง จนเมื่อต้องกลับบ้านเพื่อดูแลแม่ที่ไม่สบาย จึงทำให้ได้เรียนรู้วิถีเกษตรพอเพียงจากปราชญ์ชาวบ้าน ชีวิตเธอจึงเปลี่ยนไปทั้งข้างในและข้างนอก เธอค้นพบความสุขจากความเรียบง่าย และยังกลายเป็นผู้ที่อาสาส่งต่อแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 9 สู่ผู้คนอีกมากมาย
ติดตามเรื่องการบริหารจัดการป่าที่ พระองค์ได้ทรงพระราชทานคำแนะนำไว้หลายแนวทาง เช่น การใช้หลักนิติธรรมเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนในเขตป่า แม้แต่ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง พระองค์ได้ทรงพระราชทานคำแนะนำให้ มีการสร้างแหล่งอาหารเป็นแปลงเล็กๆ กระจายให้ทั่วผืนป่า และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับช้าง ที่ออกมายังชายป่า เราจะไปติดตามความมุ่งมั่นของคนกลุ่มหนึ่งที่เดินตาม "ศาสตร์พระราชา" เพื่อแก้ปัญหานี้
เมื่อโรงพยาบาลต้องแบกรับภาระหนี้ หมอทุกข์ พยาบาลทุกข์ อยากลาออก แต่ที่โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จ.แพร่ ค้นพบวิธีลดทุกข์ลดหนี้ ทุกคนมีความสุขกับงาน ด้วยการใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวนำทุกแผนปฏิบัติการ สู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และการสร้างการมีส่วนร่วมในโรงพยาบาล และ ชุมชน จนสร้างประโยชน์มากกว่าการพัฒนาด้านสาธารณสุขทางกาย แต่สร้างกระบวนการลดค่าใช้จ่าย การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
"พออยู่พอกิน" คำพูดถ่อมตัวของชาวชุมชนท่าเรือ จ.นครพนม แทบทุกราคาเรือนจะพูดแบบนี้ ...แต่เมื่อไปเจาะจริงๆแล้ว ... ชุมชนมีรายได้หลักจากอาชีพ ทอผ้าไหม และ ทำแคน ทำพิณ ซึ่งแต่ละบ้านมีคิวจองกันยาวเหยียด มีรายได้ตามแรงขยัน เงินเก็บจากหลักพันถึงหลักหมื่นต่อเดือน ถึงกระนั้นพวกเขาไม่เคยละทิ้งผืนนา และอาชีพทำนาของบรรบุรุษ เพราะยังถือคติเดิม ว่ามีนามีข้าวเอาไว้กินไม่ต้องซื้อ ไม่เว้นแต่ครู ข้าราชการในชุมชน
ติดตามเรื่องราวของ วัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ เป็นนักธุรกิจที่เคยเจอวิกฤติต้มยำกุ้ง เขาเป็นนักธุรกิจ ที่ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกลยุทธ์ในการบริหารจัดการธุรกิจ ในแสงจากพ่อ สู่ความยั่งยืน วันจันทร์ ที่ 21 สิงหาคม เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live