ข้อกังวลในด้านจริยธรรมและความเหมาะสมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์เป็นที่ถกเถียงอีกครั้ง เมื่อมีเคสเด็กชายฆ่าตัวตายเพราะ “เชื่อ AI” นำมาสู่การตั้งข้อสังเกตในมิติต่าง ๆ ทั้งการสร้างสมดุลระบบ โมเดลความปลอดภัยของการใช้งาน ความตระหนักเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ รวมถึงในแง่สถาบันครอบครัวที่ต้องกลับมาให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าที่เป็น #ไทยบันเทิง #ThaiPBS
ในยุคดิจิทัลทุกอย่างกลายเป็นออนไลน์ AI เก่งทัดเทียมมนุษย์ขึ้นเรื่อย ๆ มีการถกเถียงว่า สายวิทย์หรือศิลป์ สายไหนเรียนแล้วไม่ตกงาน กระทั่งผลกระทบเห็นชัดขึ้นในวงการสร้างสรรค์ กลายเป็นข้อสังเกตสำคัญว่า สายศิลป์หรือมนุษยศาสตร์อาจจะไปต่อไม่ได้ และไร้ที่ยืนในยุคนวัตกรรมหรือไม่
ใครที่โตมากับหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นหรือมังงะ คงรู้ดีว่ากว่าจะได้อ่านเล่มใหม่ ตอนใหม่ ต้องรอแปลไทยจากสำนักพิมพ์นานเป็นสัปดาห์ การเข้ามาของ AI จึงช่วยลดเวลาแปลและต้นทุน แต่ก็มาพร้อมกระแสต่อต้านการลดคุณค่าและคุณภาพของงาน เสี่ยงทำลาย Soft Power ของประเทศ
ความเหลื่อมล้ำทางเพศในองค์กรเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงมายาวนาน และยังไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะ "พื้นที่" สำหรับผู้หญิงในสายไอทีมีสัดส่วนไม่ถึง 1 ใน 4 หากความเฟื่องฟูของปัญญาประดิษฐ์ กลายเป็นโจทย์สำคัญที่กำลังส่งผลกระทบในหลายมิติ ซีอีโอหญิงแกร่งจำนวนมากมองว่า นี่คือโอกาสสู่การเติบโตด้านสายงานของผู้หญิง
TikTok เป็นอีกช่องทางที่ครีเอเตอร์ให้ความสำคัญในการทำการตลาด ซึ่งนอกจากจะมีคลิปวิดีโอสั้นที่กลายเป็นเทรนด์ของฟอร์แมตคอนเทนต์ยุคนี้แล้ว ดนตรีหรือเพลงที่ใช้ในคลิป TikTok ส่วนใหญ่ก็กลายเป็นไวรัลได้เพียงข้ามคืนด้วย กลายเป็นพื้นที่ของการใช้ Sound Marketing ของจริง และขับเคลื่อนวิวัฒนาการของเสียงเพื่อการเล่าเรื่อง
ความรวดเร็วของเครื่องมือสื่อสาร ความทันสมัย และความเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ "สภาพแวดล้อม" และ "ทักษะการทำงาน" ในโลกธุรกิจยุคดิจิทัลของเหล่าดาราศิลปินต้องปรับเปลี่ยนอย่างมาก โดยเฉพาะทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม รวมถึงโซเชียลมีเดีย ยิ่งเรียนรู้เร็วหมุนตามโลกทัน ก็ยิ่งทำให้ทำงานง่ายขึ้น และกลายเป็นข้อได้เปรียบ