“สึนามิ” ปี 2547 พัดพาความสูญเสียครั้งใหญ่ เฉพาะในไทยมีผู้เสียชีวิตและสูญหายมากถึง 8,345 คน เป็นจุดเริ่มต้นให้มีกฎหมาย และนโยบายจัดการและรับมือภัยพิบัติ
แต่ในรอบ 20 ปี ยังมีภัยพิบัติเกิดขึ้นในประเทศไทยอีกกว่า 95 ครั้ง ส่งผลให้มีคนตาย 11,000 คน รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 2.2 ล้านล้านบาท และต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของภัยธรรมชาติใน "ยุคโลกเดือด" ที่ซับซ้อนและแปรปรวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
Thai PBS , Policy Watch, The Active, และองค์กรเครือข่าย จึงใช้โอกาสนี้ในการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยน เพื่อทบทวนประสบการณ์ เติมความรู้ พร้อมไปกับการชักชวนกันสร้างการเรียนรู้เชิงนโยบาย ผ่าน “Policy Forum ครั้งที่ 26 : 20 ปีสึนามิ บทเรียนและจินตนาการใหม่ การจัดการภัยพิบัติ” เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภัยธรรมชาติในยุคโลกเดือดอย่างมีส่วนร่วม ในทุกรูปแบบ ทุกพื้นที่ และทุกมิติ
• เรื่องเล่าประสบการณ์ความสูญเสียจาก 2 พื้นที่ประสบภัยพิบัติใหญ่
• ข้อเสนอแนะลดผลกระทบสึนามิ จากชุดโครงการวิจัยเพื่อลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว (วช.)
โดย ศ.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ
• Policy Watch วิเคราะห์และติดตามนโยบายภัยพิบัติ
• เปิดข้อเสนอ สมุดปกแดง ลายแทงใหม่นโยบายภัยพิบัติ
โดย เครือข่ายนักวิชาการภัยพิบัติภาคใต้ 9 สถาบัน
• รับฟังความเห็น ร่วมสร้างจินตนาการใหม่การจัดการภัยพิบัติหลัง 20 ปีสึนามิ
กับ เครือข่ายภัยพิบัติทั่วประเทศ นักวิชาการ ภาคเอกชน หน่วยงานรัฐ และภาคประชาสังคม
ดำเนินการสนทนาโดย :
ณาตยา แวววีรคุปต์ | ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ ไทยพีบีเอส
ณ อนุสรณ์สถานสึนามิบ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
ติดตามคอนเทนต์ย้อนหลังได้ที่ : ทุกช่องทางของ Policy Watch และ The Active
#ThaiPBS #PolicyWatchThaiPBS #TheActive #สึนามิ #20ปีสึนามิจุดเปลี่ยนภัยพิบัติ #BeyondTsunami #บทเรียนจากสึนามิ #การจัดการภัยพิบัติ #พังงา #แผ่นดินไหว #ภัยพิบัติ #นวัตกรรมภัยพิบัติ----------------------------------
ติดตาม ข่าว และรายการดี ๆ ย้อนหลัง ของ
#ThaiPBS ได้ที่
https://www.thaipbs.or.th และ
https://www.youtube.com/ThaiPBS