การดำรงอยู่ของ
ดนตรีฟังสบาย สไตล์อคูสติกล้านนา ในเพลงฮักแต๊ฮักว่า โดย สายกลาง จินดาสุ หนึ่งในศิลปินเชียงใหม่รุ่นหลังจรัล มโนเพ็ชร ยังคงทำให้เพลงคำเมืองอยู่ในความสนใจ แม้ไม่แพร่หลายเท่ายุคศิลปินคำเมืองรุ่นครู แต่เพลงของสายกลางก็ช่วยให้ภาพชีวิตชาวเชียงใหม่ในวันนี้
เช่นเดียวกับเพลงมาลี ของ วิชา เทศดรุณ คนสิงห์บุรีซึ่งติดใจเพลงคำเมือง และปักหลักใช้ชีวิตในเชียงใหม่นี่คือส่วนหนึ่งของผลงานศิลปินเพลงคำเมือง รุ่นหลังที่มีรูปแบบต่างไปจากยุคของ จรัล มโนเพ็ชร ซึ่งนำดนตรีโฟล์คซองซึ่งกำลังได้รับความนิยมเมื่อ 30 กว่าปีก่อนมาสื่อสารด้วยภาษาคำเมือง
ช่วงเวลาที่บทเพลงคำเมืองของจรัล มโนเพ็ช เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ อีกด้านหนึ่งก็ถูกวิจารณ์จากครูเพลงรุ่นเก่า เนื่องจากเครื่องดนตรีที่ใช้แตกต่างไปจากดนตรีล้านนาที่เคยฟังกันมา เพราะจรัลใช้กีตาร์ และแมนโดลินแทนเสียงซึง และใช้ขลุ่ยฝรั่งแทนขลุ่ยไทย นอกจากนี้ยังนำเครื่องดนตรีสมัยใหม่อีกมากมายมาบรรเลงบทเพลงเก่าของล้านนา ตามแบบฉบับโฟล์คซองคำเมือง
ความกล้าหาญในการสร้างสรรค์ดนตรีแบบใหม่ส่งผลให้บทเพลงเก่ากลับมาได้รับ ความสนใจจากวัยรุ่นในยุคนั้น และได้รับความนิยมไม่เฉพาะจากคนเมือง แต่ยังเป็นที่ชื่นชอบแพร่หลาย ไปจนถึงชาวต่างชาติที่สนใจในศิลปะการดนตรี เอกลักษณ์ทั้งในการร้องเพลง และเล่นดนตรี ทำให้จรัลได้รับการยกย่องเป็นราชาโฟล์คซองคำเมือง ผู้ฝากผลงานไว้กว่าสองร้อยเพลงในช่วงเวลาเกือบ 25 ปีของชีวิตการเป็นศิลปิน จรัล มโนเพ็ช เชี่ยวชาญการแต่งเพลงหลายรูปแบบโดยเฉพาะบทเพลงแบบบัลลาด ที่บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่นล้านนาบ้านเกิด
หากแท้จริงบทเพลงของศิลปินล้านนารุ่นหลัง จรัล มโนเพ็ชร ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าคำเมืองสามารถสื่อสารด้วยดนตรีที่แตกต่างทั้งในแบบ ร็อค เมทัล แร็พ บลู หรือ อิเล็คทรอนิคส์ แม้มีคนดนตรีรุ่นใหม่สนใจเพลงคำเมือง แต่ยังมีจำนวนไม่มากนัก หากแต่เพียงคนกลุ่มนี้ก็ยืนยันได้ของการดำรงอยู่ของ เพลงคำเมือง