ถอดบทเรียน 10 ปีคดีสิทธิบัตรยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์
ในการประชุมวิชาการ "ครบรอบ 10 ปี คำพิพากษาคดีสิทธิบัตรยาดีดีไอ เพื่อศึกษาบทเรียน เเละพัฒนาองค์ความรู้การเคลื่อนไหว" ที่ประชุมได้หยิบยกกรณี คำพิพากษาคดีสิทธิบัตรยาดีดีไอ หรือยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ ที่มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เเละเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ร่วมกับสภาทนายความ ฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา กรณีบริษัท บริสตอล ไมเยอร์ สควิปป์ หรือ BMS เเละกรมทรัพย์สินทางปัญญา ไม่มีความชอบธรรมในการจดสิทธิบัตรยาดีดีไอ
เนื่องจากในคำขอฉบับเเรก มีการกำหนดขนาดของยาไว้ที่ 15 - 100 มิลลิกรัมต่อหน่วยการใช้ยา เเต่ในสิทธิบัตรไม่ปรากฏขนาดการใช้ยา ส่งผลให้ผู้ผลิตรายอื่นไม่สามารถผลิตยาได้เเละในที่สุด ศาลตัดสินให้บริษัท บริสตอล ไมเยอร์ สควิปป์ คืนสิทธิบัตรยาดังกล่าว
เเม้คดีนี้จะล่วงเลยมาถึง 10 ปีเเล้ว เเต่ปัจจุบันการให้สิทธิบัตรยากับบริษัทผู้ผลิตยาจากต่างประเทศ ยังสามารถทำได้ง่าย ซึ่งเครือข่ายภาคประชาสังคมเห็นว่า บริษัทผู้ผลิตยาจากต่างประเทศ ได้รับผลประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากสามารถกำหนดราคายาได้ ทำให้ยาราคาแพง และผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยเข้าถึงยาได้ยากขึ้น
นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุมยังเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย การให้สิทธิบัตรยากับบริษัทผู้ผลิตยาจากต่างประเทศ คำนึงถึงผลกระทบทางสังคมโดยรวม เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น