ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จักสื่อดิจิทัลของไทยพีบีเอส ผ่านงานเทศกาลสื่อสาธารณะ

Logo Thai PBS
รู้จักสื่อดิจิทัลของไทยพีบีเอส ผ่านงานเทศกาลสื่อสาธารณะ

ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ นิยมใช้สื่อดิจิทัลต่างๆ ในการรับชมรายการต่างๆ ของทางไทยพีบีเอส ซึ่งไทยพีบีเอส เล็งเห็นความสำคัญของสื่อดิจิทัล จึงมีการพัฒนา ปรับปรุงช่องทางในการนำเสนอเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร สารประโยชน์ เพื่อให้เข้าถึงผู้ชมได้หลากหลายช่องทาง ให้เป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว อาทิ การนำเสนอข่าวผ่านทางเว็บไซต์, มือถือ, แท็บเล็ต เป็นต้น

<"">
         
<"">

น.ส.กนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้จัดการฝ่ายสื่อดิจิทัล และรักษาการผู้อำนวยการโครงการสื่อดิจิทัล เปิดเผยว่า "ดิจิทัล มีเดีย" เป็นสื่อที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของทั้งจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย, ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ รวมถึงการขยายตัวของตลาดอุปกรณ์พกพาประเภท Smart Device ทำให้พฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนไทยในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ และวัยทำงาน ที่นิยมบริโภคสื่อมากกว่า 1 สื่อในเวลาเดียวกัน ดังนั้น นอกจากสื่อหลักทางหน้าจอแล้ว “สื่อดิจิทัล” จึงเป็นช่องทางที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง

ไทยพีบีเอส มีการให้บริการด้านสื่อดิจิทัล ในหลากหลายกลุ่มงาน อาทิ กลุ่มเว็บไซต์ (Website), กลุ่มสื่อสังคมออนไลน์ (Social Network), กลุ่มอุปกรณ์พกพา (Mobile), กลุ่มสถานีวิทยุออนไลน์ (Radio Online), กลุ่มเว็บทีวี (WebTV) เป็นต้น
โดยไทยพีบีเอส มีเว็บไซต์ด้านคอนเท้นส์หลัก 3 เว็บไซต์ ได้แก่ เว็บไซต์ข่าว www.thaipbs.or.th/News , เว็บไซต์รายการ www.thaipbs.or.th/Program และ เว็บไซต์องค์กร ซึ่งมีทั้งภาษาไทย www.thaipbs.or.th/Organization และภาษาอังกฤษ www.thaipbs.or.th/EN ส่วนเว็บไซต์ให้บริการด้านมัลติมีเดีย เช่น ชมทีวีออนไลน์, ชมย้อนหลังและเว็บไซต์เครือข่ายย่อย เช่น นักข่าวพลเมือง, สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ เป็นต้น

สื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media เป็นอีกหนึ่งทิศทางของสื่อดิจิทัล ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่มีสถานการณ์ข่าวที่สำคัญและมีผลกระทบกับสังคม สื่อสังคมออนไลน์อย่าง “ทวิตเตอร์” จะมีบทบาทกับการรายงานและติดตามข่าวมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันทวิตเตอร์ของไทยพีบีเอส www.twitter.com/ThaiPBS มีผู้ติดตาม (followers) มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในประเภทองค์กรข่าว ด้วยยอดผู้ติดตาม 230,000 คน ส่วน Social Media ที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 สำหรับคนไทยอย่าง “เฟซบุ๊ค” ไทยพีบีเอสมีแฟนที่ให้การติดตามข่าว รายการ กิจกรรม และแสดงความคิดเห็นผ่าน www.facebook.com/ThaiPBSFan อยู่ที่ 117,000 คน ณ เวลานี้ และยังมีเฟซบุ๊คของรายการต่าง ๆ อีกด้วย รวมถึงเปิดให้บริการสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ได้แก่ ยูทูป www.youtube.com/ThaiPBS , กูเกิ้ลพลัส http://plus.google.com/s/thaiPBS , อินสตาแกรม http://instagram.com/ThaiPBS เพื่อรองรับกลุ่มผู้ชมที่ชื่นชอบในการเลือกบริโภคสื่อดิจิทัลที่แตกต่างกัน

ด้วยการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและราคาของอุปกรณ์พกพา เช่น สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้ เป็นที่นิยมและทดแทนมือถือในยุคเก่าได้อย่างรวดเร็ว ไทยพีบีเอส จึงต้องเตรียมคอนเท้นส์ ให้รองรับกับอุปกรณ์โมบาย อาทิ การชมเว็บไซต์ผ่านทางมือถือ (Mobile Version) , การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนาให้ครบทุกระบบปฏิบัติการทั้ง iOS, Android

ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพฯ มาตรา 7(1) ไทยพีบีเอส มีภารกิจในการดำเนินงานด้านวิทยุกระจายเสียง ซึ่งในระหว่างการดำเนินการขอคลื่นความถี่อยู่นั้น สื่อดิจทัล จึงได้ดำเนินรายการทาง สถานีวิทยุไทยพีบีเอสออนไลน์ ด้วยสัดส่วนรายการข่าว ร้อยละ 30 , รายการสารประโยชน์และสาระบันเทิง ร้อยละ 70 ออกอากาศทาง www.thaipbsonline.net และทำการเผยแพร่รายการไปยังช่องทางสื่อดิจิทัลอื่น ๆ เพิ่มเติม รวมถึงสถานีวิทยุชุมชนที่มีการขอเชื่อมโยงสัญญาณการออกอากาศด้วย

ส่วน สมาร์ททีวี อีกหนึ่งเทคโนโลยีของทีวีที่มีการพัฒนาไปอีกขั้น ไม่ใช่แค่การชมรายการหรือดูภาพยนตร์ได้เท่านั้น ยังสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ทำให้สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้หลากหลายมากขึ้น ไทยพีบีเอสแอพพลิเคชั่น บนสมาร์ททีวี ก็จะมีให้บริการ ทั้งชมสด , ชมข่าวและรายการย้อนหลังทั้งในรูปแบบวีดีโอและข้อความ

เว็บทีวี หรือ ช่องทีวีทางอินเทอร์เน็ต ทางเลือกใหม่ของการติดตามข่าวสาร รายการที่ไม่จำกัดแค่ในจอโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส เปิดพื้นที่ให้บริการด้านคอนเท้นส์ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ด้วยรูปแบบการถ่ายทอดสด อาทิ กิจกรรมพิเศษ งานอบรม สัมมนา งานประชุมที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ รวมถึงรายการต่าง ๆ โดยสามารถชมสด และชมย้อนหลังได้ทาง www.webtvthaipbs.com

ทั้งนี้ ในงานเทศกาลสื่อสาธารณะ ได้จัดทำข้อมูล “เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลของไทยพีบีเอส” ในรูปแบบ Digital Signage เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจและรู้จักบริการของเราได้มากขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีกิจกรรมร่วมสนุกตอบคำถามเกี่ยวกับรายการ, บริการออนไลน์, การสมัครเป็นแฟนเพจไทยพีบีเอส และร่วมเล่นเกม รับของที่ระลึกมากมาย โดยในวันพรุ่งนี้ (1 ธ.ค.) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงาน จะมีผู้ดำเนินรายการข่าว และพิธีกรจากรายการที่ได้รับความนิยมทางสื่อออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย เช่น รายการหนังพาไป, ที่นี่ไทยพีบีเอส มาร่วมออกบูทภายในงาน และ ขอเชิญประชาชนที่สนใจเข้าร่วมงานเทศกาลสื่อสาธารณะ ที่อาคารสำนักงานใหญ่ไทยพีบีเอส ถนนวิภาวดีรังสิต ตั้งแต่เวลา 09.00 – 18.00 น.


ข่าวที่เกี่ยวข้อง