ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิชาการ ม.ศิลปากร ชี้อารยธรรม “เมส อาแน็ค” เป็นของคนทั้งโลก-ไม่จำกัดเฉพาะชาวพุทธ

สังคม
6 ธ.ค. 55
11:19
264
Logo Thai PBS
นักวิชาการ ม.ศิลปากร ชี้อารยธรรม “เมส อาแน็ค” เป็นของคนทั้งโลก-ไม่จำกัดเฉพาะชาวพุทธ

รองคณบดี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชี้ แม้ แหล่งอารยธรรม เมส อาแน็ค จะเป็นอารยธรรมพุทธ แต่การร่วมลงชื่อเพื่อคัดค้านการเปลี่ยน เมส อาแน็ค สู่เหมืองแร่ทองแดง ไม่ใช่เรื่องของชาวพุทธเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของทุกคน เพราะอารยธรรมเปรียบเสมือนตัวเชื่อมโลก ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ไม่สามารถประเมินได้

<"">
<"">

 

จากการร่วมรณรงค์เพื่อลงชื่อคัดค้านการทำเหมืองทองแดง บนแหล่งอารยธรรมโบราณ อายุกว่า 2,000 ปี เมส อาแน็ค(Mez Aynak) นายคมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง รองคณบดี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวในวงเสวนา “ไทยได้เรียนรู้อะไรจากกรณี เมส อาแน็ค” ซึ่งจัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตท่าพระ ว่า แม้อารยธรรมเมส อาแน็ค จะเป็นอารยธรรมพุทธ แต่การร่วมรณรงค์ในครั้งนี้ ไม่ใช่การรณรงค์ในชาวพุทธเท่านั้น แต่หมายรวมถึงคนทั่วโลก โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ และศาสนา ซึ่งตนเองก็เป็นชาวฮินดู เพราะเมส อาแน็ค มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ไม่สามารถประเมินได้

“อารยธรรม ความรู้ หรืออะไรก็ตามในประวัติศาสตร์ที่จะมาถึงรุ่นเราในตอนนี้ ได้ผ่านกาลเวลาทุกอย่างมานาน จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะช่วยกันรักษา และทำให้มันยังคงอยู่ ไม่ใช่ถึงแค่รุ่นเรา แต่รุ่นอื่นหลังจากเราด้วย เพราะอารยธรรมเป็นตัวเชื่อมโยงเรากับอดีต การรณรงค์เพื่อยับยั้งการเปลี่ยนเมส อาแน็คสู่เหมืองแร่ทองแดงจึงไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง” นายคมกริช กล่าว

นายคมกริช กล่าวเสริมว่า ปกติทุกคนอาจมองอิฐก้อนหนึ่งเป็นอิฐก้อนหนึ่ง แต่สำหรับนักโบราณคดี อิฐก้อนหนึ่งมีความรู้ของมนุษย์ ความรู้สึก และภูมิปัญญา เปรียบเสมือนตัวเชื่อมโลก จากโลกตะวันตก สู่โลกตะวันออก และจากอดีต จนถึงปัจจุบัน

<"">
<"">

สำหรับ เมส อาแน็ค เป็น แหล่งแร่ทองแดงที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งรัฐบาลอัฟกานิสถาน ได้ขายสัมปทาน ให้กับบริษัทเอกชนรายหนึ่งของจีน แต่เมื่อบริษัทเริ่มสำรวจ ก็พบว่า เมส อาแน็คเป็นที่ตั้งของโบราณสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา โดยมีพระพุทธรูปเก่าแก่กว่า 200 องค์ มีเจดีย์ และวัดพุทธ มากมายในบริเวณ 100 เอเคอร์ หรือ 404,685.6 ไร่

บริษัทจึงอนุญาตให้นักโบราณคดีทำการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้(2555) ซึ่ง นาเดีย ทาร์ซี (Nadia Tarzi) นักโบราณคดี ชาวอัฟกานิสถาน ระบุว่า การสำรวจโบราณสถานทั้งหมดต้องใช้เวลาราว 30 ปี จึงเรียกร้องให้คนทั่วโลก ร่วมลงชื่อผ่านเว็บไซต์ http://chn.ge/TstjEm และ http://chn.ge/Pux8Nr โดยต้องการรายชื่อทั้งหมด 100,000 รายชื่อ ภายในวันที่ 15 ธ.ค. 2555 เพื่อเสนอต่อองค์การสหประชาชาติ ให้การคุ้มครองพื้นที่เมส อาแน็ค ก่อนที่บริษัทเหมืองจะเริ่มดำเนินการสร้างอีกครั้ง และเพื่อให้ประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน เลื่อนแผนการทำเหมืองออกไป

<"">

 

ทั้งนี้ ล่าสุด กระทรวงการต่างประเทศ ได้ส่งเอกอัครราชทูตไทยประจำ ปากีสถาน เข้าหารือกับนายโมฮัมหมัด อุเมอร์ เดาไซ เอกอัครราชทูตอัฟกานิสถานประจำปากีสถาน เกี่ยวกับความกังวลของการทำเหมืองแร่ทองแดงต่อแร่อารยธรรมเมส อาแน็ค ซึ่งทางรัฐบาลอัฟกานิสถานระบุว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะอนุรักษ์โบราณสถานทั้งหมด และจะไม่ให้มีการขุดเจาะในบริเวณพื้นที่หลักที่มีการค้นพบโบราณสถาน โบราณวัตถุ แต่ในพื้นที่รอง ได้กำหนดให้ขนย้ายไปยังพิพิธภัณ์สถานแห่งชาติ

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนจากรัฐบาลอัฟกานิสถานว่า บริเวณใดในพื้นที่กว่า 400,000 ไร่ของเมส อาแน็ค จะได้รับการคุ้มครอง และบริเวณใดบ้างที่จะถูกขุดเป็นเหมืองแร่ทองแดง

ภาพสถานที่เมส อาแน็ค โดย เบรนท์ อี ฮัฟแมน(Brent E Huffman)


ข่าวที่เกี่ยวข้อง