ผ้าทอ
เสื้อคลุมตัวสั้นคล้ายชุดกิโมโน เน้นสีเรียบง่ายตามสไตล์ญี่ปุ่น และเสื้อแขนกุด ตกแต่งด้วยผ้าฝ้ายปักลายตามปกเสื้อด้านในเพียงอย่างเดียว ป้องกันการระคาย ผิวเนื่องจากผ้าฝ้ายมีความแข็งพิเศษ หนึ่งในผลงานการออกแบบของ ไอโยโกะ โอโนะ ดีไซเนอร์ชาวญี่ปุ่น ที่ต้องลงพื้นที่ศึกษาคุณสมบัติของผ้าฝ้ายปกาเกอะญออย่างละเอียดก่อนลงมือ ออกแบบ และผสมผสานลายปักตามความเชื่อดั้งเดิม เช่น ลายซอเตะโพหรือลายระฆัง ที่หากบ้านใดมีไว้จะได้รับการคุ้มครองจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากผ้าทอชาวปกาเกอะญอที่ได้รับการประยุกต์ให้ร่วมสมัย และ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบหลากหลายมากขึ้น ทั้งกระเป๋า พวงกุญแจ ซองใส่มือถือและ แท็ปเลต ซึ่งการได้ร่วมมือกับดีไซเนอร์ชาวต่างชาตินับเป็นอีกก้าวในการพัฒนางานฝีมือ ของไทยออกสู่ตลาดสากล
ประนอม เฉินบำรุง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 กล่าวว่า "การทำงานของดีไซเนอร์ญี่ปุ่นว่าต้องลงพื้นที่ไปศึกษา คุยกับชาวบ้าน การเลือกเส้นฝ้ายว่าต้องละเอียด"
กว่าร้อยปีที่การกี่เอว ภูมิปัญญาทอผ้าของชาวปกาเกอะญอ สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เริ่มต้นตั้งแต่การปลูกฝ้ายและคัดเลือกวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ประดู่ ไม้สัก และไม้ขนุน มาย้อมสี จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครของชาวบ้านกลุ่มบ้านพะเด๊ะ ที่ทำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 แต่ความรู้เรื่องการตลาดกับทักษะการตัดเย็บที่ยังไม่ร่วมสมัยก็เป็น สิ่งที่ต้องพัฒนา
ปริศรา ท้องฟ้าคุณากร ชาวบ้านกลุ่มเด๊ะโพ หมู่บ้านพะเด๊ะ จ. ตาก ระบุว่า "ตอนเเรก ครั้งเเรกเลยก็จะเป็นสีธรรมชาติอยู่ เเต่ว่าปัญหาของเราก็คือว่าเราจะใช้เเบบเดิม หมายถึงส่วนของกรรมวิธี แต่การย้อมเเบบเดิมมันก็เกิดปัญหาขึ้นว่า ตรงที่ว่าสีจะตกสีะ สีซีดเร็วบาง ผ้าจะเเข็ง เราจะติดปัญหาตรงที่ว่าเราคิดได้ แต่เราไม่สามารถทำได้ค่ะ เย็บเราไม่มีศักยภาพทางด้านนี้ คิดว่าอยากจะหาคนมาช่วยอย่างพัฒนา"
วีรนันท์ นีลดานุวงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระบุว่า "แผนการพัฒนาผ้าทอปกาเกอะญอสู่ตลาดโลก นอกจากการตลาดที่เป็นเรื่องสำคัญแล้ว ต้องดูเรื่องอะไรเพิ่มอีก"
ปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในผู้นำในด้านการส่งออกอุตสาหกรรมสิ่งทอของ โลก มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 150,000 ล้านบาทต่อปี โดยผ้าทอของชาวปกาเกอะญอถือเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมสิ่งทอที่มีศักยภาพในการแข่ง ขันสูง และยังเป็นการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถสร้างรายได้ให้คนในหมู่บ้าน ซึ่งในปีหน้า (56) จะส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ญี่ปุ่น เวียดนาม และตุรกี ก่อนที่จะขยายไปสู่ตลาดอื่นต่อไป