ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ภัยแล้งลุกลามหนัก กระทบ “อีสาน” ขาดแคลน ขณะนี้หวั่นศึกแย่งชิงน้ำ

Logo Thai PBS
ภัยแล้งลุกลามหนัก กระทบ “อีสาน” ขาดแคลน ขณะนี้หวั่นศึกแย่งชิงน้ำ

ภัยแล้งลุกลามวงกว้าง กระทบ “ภาคอีสาน” หนัก จนขอเกษตรกรงดปลูกพืชา หวั่นเกิดปัญหาแย่งชิงน้ำ เร่งฝึกอบรมเกษตรกรพร้อมแนะทางเลือกสร้างอาชีพเสริมรายได้แทน

 นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง จำนวน 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ หนองคาย หนองบัวลำภู นครพนม อุดรธานี สกลนคร มุกดาหาร ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุโขทัย พิษณุโลก และนครสวรรค์ รวม 229 อำเภอ 1,657 ตำบล 17,232 หมู่บ้าน ได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว มีพื้นที่นาข้าวได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว ประมาณ 6 ล้านไร่ และพืชชนิดอื่นๆ ประมาณ 1 แสนไร่

กระทรวงเกษตรฯได้ประกาศพื้นที่ห้ามเพาะปลูกและขอความร่วมมือเกษตรกรที่อยู่ใกล้พื้นที่อ่างเก็บน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ จังหวัดอุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น และนครราชสีมา ให้งดปลูกพืชหลังนา เพราะเกรงว่า ปริมาณน้ำจะไม่เพียงพอหล่อเลี้ยงพื้นที่เพาะปลูกตลอดช่วงฤดูแล้ง และไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งอาจเกิดปัญหาแย่งชิงน้ำขึ้นได้ ส่วนพื้นที่ในเขตชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างไม่มีปัญหา เนื่องจากมีการบริหารจัดการและควบคุมการใช้น้ำ โดยมีปริมาณน้ำ ประมาณ 38-39 % ของอ่างเก็บน้ำ

กระทรวงเกษตรฯ ให้กรมส่งเสริมการเกษตรเร่งจัดฝึกอบรมเกษตรกรภายใต้โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ เพื่อพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกรในช่วงที่ไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้ นำร่องในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและขอนแก่น โดยมุ่งเพิ่มทางเลือกในการสร้างอาชีพเสริมรายได้ทดแทนการเพาะปลูกพืช อาทิ การเพาะเห็ด การเพาะถั่วงอก การซ่อมเครื่องจักรกลเกษตร เป็นต้น คาดว่า จะเป็นแนวทางการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้น” นายยุคลกล่าว
รมว.เกษตรและสหกรณ์กล่าวด้วยว่า

สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ทางกรมปศุสัตว์ได้มีการแจกจ่ายเสบียงสัตว์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ไปแล้วกว่า 292.50 ตัน ทั้งยังสนับสนุนแร่ธาตุด้วย ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ และสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ จำนวน 29 แห่ง ได้เร่งผลิตเสบียงสัตว์สำรองเพื่อเตรียมพร้อมให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ขาดแคลนเสบียงสัตว์ โดยปี 2556 นี้ มีเป้าหมายผลิตเสบียงสัตว์สำรอง 6,430 ตัน ขณะเดียวกันยังจัดตั้งคลังเสบียงประจำตำบล จำนวน 58 คลังทั่วประเทศ ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้ทั่วถึงและทันท่วงทีเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง