ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ศูนย์วิเคราะห์ไทยพาณิชย์ ชี้ แนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวม

เศรษฐกิจ
28 ธ.ค. 55
08:11
139
Logo Thai PBS
ศูนย์วิเคราะห์ไทยพาณิชย์ ชี้ แนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวม

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) คาด GDP ปี 2012 ขยายตัว 5.3% ยังได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของการส่งออก ที่ยังไม่ฟื้นตัว

  มูลค่าการส่งออกล่าสุดของเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 19.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แทบไม่ต่างจากเดือนก่อนหน้า ทำให้การส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกขยายตัว 2.32% และทั้งปีน่าจะขยายตัวได้ราว 4% เท่านั้น   เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงจากปัญหาการคลังของสหรัฐฯ การ

 
ตกลงในเรื่อง Fiscal Cliff ยังต้องใช้เวลาเพิ่มเติมในเดือนมกราคม 2013 ซึ่งน่าจะทำให้ภาคเอกชนของสหรัฐฯ ชะลอการใช้จ่ายลงใน
 
ช่วงนี้ ดังนั้น การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง คงยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ในระยะสั้น ส่วนยุโรปนั้นความมั่นใจต่อเศรษฐกิจ (Economic Sentiment) ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
 
อุปสงค์ในประเทศของไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศที่จะเริ่มในเดือนมกราคมเป็นปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมของการใช้จ่ายในประเทศ นอกจากนี้ ปัญหาการคลังของสหรัฐฯ ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงต่ออุปสงค์ในประเทศของไทย ซึ่งเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่งจะทำให้ GDP ขยายตัวได้ประมาณ 4.6% ในปี 2013
 
อัตราเงินเฟ้อ : คาดเงินเฟ้อทั่วไปปี 2013 เฉลี่ยอยู่ที่ราว 3.0% Ffpราคาพลังงานในประเทศขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว 
 
ดังนั้น ราคาพลังงานในประเทศที่จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของนโยบายของรัฐบาล โดยนโยบายที่ได้มีการประกาศก่อนหน้านี้คือ การทยอยปรับขึ้นราคาแก๊ส LPG นั้น ประเมินว่ามีผลกระทบต่อเงินเฟ้อทั่วไปไม่มากนัก ส่วน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มทรงตัว และยังอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 0.5 -3%
 
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย : มีโอกาสปรับลดลงได้ในครึ่งแรกของปี 2013 เศรษฐกิจโลกยังชะลอ ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกยังมีอุปสรรคในการฟื้นตัว และการใช้จ่ายในประเทศยังขาดแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐในช่วงครึ่งแรกของปี 2013 อัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะปรับลดลงเพื่อช่วยพยุงการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน
 
ความเสี่ยงเงินทุนเคลื่อนย้าย ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศใช้มาตรการซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวต่อไปเมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา ทำให้เมื่อรวมกับมาตรการซื้อ MBS ก่อนหน้านี้ 
 
จะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นในตลาดเงินประมาณ 85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนในปี 2013 ซึ่งมากกว่าเม็ดเงินของ QE2 นอกจากนี้ ยังมีเม็ดเงินเพิ่มเติมจากธนาคารกลางของญี่ปุ่น ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายคงจะปรับลดลงเพื่อลดแรงกดดันจากเงินทุนไหลเข้าบนค่าเงินบาท
 
 
ค่าเงินบาท : มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากปัจจัยเงินทุนเคลื่อนย้าย  จับตามองเงินทุนเคลื่อนย้ายและนโยบายของ ธปท. ปริมาณเงินจำนวนมากจากธนาคารกลางสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่จะเข้าสู่ตลาดเงินในปี 2013 จะส่งผลให้ค่าเงินสกุลเอเชียแข็งค่าขึ้น ในเบื้องต้น คงต้องดูว่านโยบายของ ธปท. ที่ส่งเสริมให้มีการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นจะช่วยลดแรงกดดันจากเงินทุนเคลื่อนย้ายบนค่าเงินได้หรือไม่ 
 
ทั้งนี้ ธปท. ยังสามารถใช้การลดดอกเบี้ย การแทรกแซงค่าเงิน หรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเงินทุนเคลื่อนย้าย ในการดูแลเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน
 
ความผันผวนของเงินบาทในระยะสั้นยังมีอยู่ ซึ่งปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุนคือ การแก้ไขปัญหาด้านการคลังของสหรัฐฯ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง