เทคโนโลยีตรวจหนังสือเดินทางด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แทนเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหา ความล่าช้า ของการตรวจหนังสือเดินทาง ลดเวลา จากเดิม 2 นาที เหลือขั้นตอนนี้ เพียงแค่ 20 วินาที
มีนาคม 2555 เกิดปัญหาความแออัด จุดตรวจคนเข้าเมือง ทั้งขาเข้าและขาออก เพราะด่านตรวจ และ เจ้าหน้าไม่เพียงพอ โดยเฉพาะช่วงเวลาเดินทางคับคั่ง ทำให้ผู้โดยสารบางรายเดินทางไปขึ้นเครื่องแบบกระชันชิด
อีก 3 เดือนต่อมา ความหนาเเน่นของจำนวนเที่ยวบิน ที่ขึ้น-ลง สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลให้รันเวย์ฝั่งตะวันออก ชำรุดยาวกว่า .1620 เมตร สนามบินสุวรรณภูมิ ต้องประกาศปิดซ่อมนานกว่า 90 วัน สายการบินต้องแจ้งให้ผู้โดยสาร เผื่อเวลาในการเดินทางมาใช้บริการที่สนามบินทุกเที่ยวบิน
ถัดมาไม่ถึง 10 วันในเดือนเดียวกัน เกิดปัญหาไฟฟ้าขัดข้องจนทำให้เรดาห์สัญญาณนำเครื่องบินขึ้นลงทำงานไม่ได้ หลายเที่ยวบิน ต้องบินวน และอีก 50 เที่ยวบิน ต้องไปลงสนามบินอื่น
และยิ่งตอกย้ำความหนาแน่นของจำนวนเที่ยวบินมากขึ้น เมื่อ รันเวย์ฝั่งตะวันตก หลุดร่อน ระหว่างปิดซ่อมรันเวย์ฝั่งตะวันออก ทำให้ มีกว่า 11 เที่ยวบินต้องเปลี่ยนจุดลงจอด สนามบินสุวรรณภูมิ ก็ได้เร่งดพเนินการซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานปกติภายในเวลา 25 นาที
เมื่อทางเลือกให้มีเพียงสนามบินเดียว ยิ่งเพิ่มหนาหนาแน่นของสนามบินสุวรรณภูมิ ทางออกของรัฐบาล จึงตัดสินใจใช้นโยบาย 2 สนามบิน เพื่อลดวามแออัด ให้สายการบิน แอร์เอเชียย้ายไปให้บริการที่สนามบินดอนเมืองตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พร้อมกับการเร่งแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อกู้ภาพลักษณ์ของสนามบิน
"สายการบินของแอร์เอเชียได้ย้ายไปยังดอนเมืองก่อน ในส่วนนี้ทำให้เที่ยวบินหายไปร้อยกว่าเที่ยว ราว 150-160 เที่ยว ผู้โดยสารหายไปประมาณปีละ 8 ล้านกว่าคน ตกวันละประมาณ 20,000 กว่าคน เพราะฉะนั้น ตกไปที่ดอนเมืองตอนนี้มีผู้โดยสารประมาณ 40,000 กว่าคนต่อวัน ตรงนี้ทำให้สุวรรณภูมิที่ปีนี้มีปัญหาค่อนข้างมากจะมีน้อยลง เพราะผู้โดยสารบางส่วนไปอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองแล้ว" สมชัย สวัสดีผล รักษาการ กก.ผอ.ใหญ่ บริษัท ทอท.
ขั้นตอนการย้ายจุดตรวจค้นเข้าเมืองที่ท่าอากาศยานไทย ซึ่งปรับปรุงทำให้ใช้เวลา บริเวณนี้น้อยลง แม้ว่าปัญหาต่างๆจะ ถูกแก้ไขและคลี่คลายไปได้ ระดับหนึ่ง แต่ผู้ประกอบการ สายการบิน ก็อยากเห็นการพัฒนา ปรับปรุงทุกๆด้านของสนามบิน ให้เต็มศักยภาพกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะความชัดเจนของแผนการสร้างสุวรรณภูมิเฟส 2 เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบิน และ ผู้โดยสารที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง
ความชัดเจนการเดินหน้าสร้างรันเวย์ ที่ 3 และเฟส 2ของสนามบินสุวรรณภูมิเป็นเรื่องที่สายการบินมีความต้องการ เพราะ หากต้องการเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคนี้ สนามบินสุวรรณภูมิต้องมีความพร้อมมากกว่าที่เป็นอยู่
"จริงๆแล้วมันยังมีช่องว่างที่เรายังพัฒนาได้อีก ที่จะแสดงว่าเราจะเป็นฮัพที่เหนือกว่าสนามบินใดใดในภูมิภาค คือยังมีช่องว่างตรงนั้นอยู่ ถ้าร่วมมือร่วมใจกันตอนนี้ ก็ค่อนข้างเป็นไปได้มากทีเดียว เพราะตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านของเรา ทั้งเวียดนามเองหรือจีน ก็เปิดกันอยู่เรื่อยๆ และไม่ได้หยุดนิ่งในการพัฒนาเลย เราก็คงนิ่งๆไม่ได้" มาริสา พงษ์พัฒนพันธุ์ ปธ.คณะทำงานAOC
ผู้บริหารบริษัท ท่าอากาศยานไทย ยืนยันต่อทิศทางการขยาย รันเวย์ที่ 3 และสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 เพื่อรองรับการเติบโตของผู้โดยสาร คาดการณ์ ว่า ปี 2559 สนามบินสุวรรณภูมิ จะรองรับจำนวนผู้โดยสารได้กว่าปีละ 60 ล้านคน
"คาดว่าในปลายเดือนธันวาคมนี้ เราจะสามารถประกาศประกวดราคาได้ หลังจากนั้นอีกประมาณ 3 เดือน เราจะได้ผู้ออกแบบ ซึ่งจะใช้เวลานานที่สุดประมาณ 10 เดือน ซึ่งเราอาจต้องการเร็วกว่านั้น เพราะการเจริญเติบโตของผู้โดยสารประเทศไทยค่อนข้างสูง และเร็ว อย่างไรก็ตามแผนเดิม 70 เดือนที่จะสร้างให้แล้วเสร็จ เราทำแผนเร่งรัดจะเหลือประมาณ 58 เดือน" สมชัย สวัสดีผล รักษาการ กก.ผอ.ใหญ่ บริษัท ทอท.
ตลอด 8 ปีของสนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งแต่เริ่มการก่อสร้าง เป็นที่เฝ้าสังเกตุ และติดตามต่อการพัฒนา ทั้งยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ ด้านปัญหาการตรวจสอบทุจริต และผลประโยชน์ในหลายด้านๆ แต่เป้าหมายเพื่อพัฒนาให้สนามบินแห่งนี้ เป็นประตูสู่ภูมิภาคอาเซียน จึงยังคงเป็นความท้าทายต่อภาพลักษณ์ในอนาคต