ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ย้อนรอย 4 ปี กับ 7 ข้อเสนอเปลี่ยนแปลงกทม.

14 ม.ค. 56
14:09
26
Logo Thai PBS
ย้อนรอย 4 ปี กับ 7 ข้อเสนอเปลี่ยนแปลงกทม.

4 ปีที่ผ่านมา นโยบายบริหารกรุงเทพมหานครของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในฐานะผู้ว่ากทม. ยึดแผนพัฒนา 6 ด้านด้วยกัน แต่ถ้าย้อนไปก่อนการเลือกตั้ง ปลายปี2551 ภาคประชาสังคมในกรุงเทพฯ เสนอวิสัยทัศน์พัฒนาเมืองฉบับประชาชน ทั้งต่อผู้สมัครและผู้ว่าฯกทม.หลังได้รับเลือกตั้ง

ข้อเสนอเดียวกันกับที่เครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ ได้เคยนำเสนอต่ออดีตผู้ว่าฯกทม. อย่างนายอภิรักษ์ โกษะโยธินค่ะ ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกัน 11 ด้าน คล้ายๆกับนโยบายบริหารกทม.ของผู้ว่าในทุกสมัย  แต่ก็ไม่คล้ายซะทีเดียวนะคะ เพราะทั้ง 11 ข้อนั้น มุ่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม และเน้นพัฒนาจิตสำนึกของพลเมือง ย้อนกลับไปดูที่มาของข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนกรุงเทพฯของกลุ่มคนที่รวมตัวกัน ในชื่อเครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯ รวมทั้งความพยายามในการผลักดันแต่ละประเด็นของพวกเขา

วิเคราะห์ที่ว่าต่างจากความคาดหวังคือ การขอเข้าพบผู้ว่าฯกทม. กลับเป็นเรื่องยุ่งยากกว่าที่คิด และกว่าจะได้ยื่น 7 ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ ก็ผ่านการทำงานของผู้ว่าคนนี้มาหลายสัปดาห์

หลังได้รับเลือกตั้ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ประกาศนโยบายบริหารกรุงเทพมหานคร ด้วยการยึดแผนพัฒนา 6 ด้านด้วยกัน ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่จับต้องได้ ทั้งสานงานต่อและสร้างผลงานใหม่ ขณะที่ข้อเสนอของเครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯทั้ง 7 ข้อ เน้นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เดินหน้าพัฒนาเมืองแบบมีส่วนร่วม พร้อมๆกับการปลุกสำนึกของพลเมือง

   

มีหลายโครงการในหลายข้อที่ตรงกัน และมีการผลักดันจนค่อนข้างเห็นผล ไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านการศึกษา ที่เพิ่มโอกาสในการเข้าถึง ให้กับลูกหลานคนกรุงเทพฯ นโยบายสุขภาพ ที่เข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ที่พยายามเพิ่มพื้นที่ปอดของเมือง หรือนโยบายที่คงไว้ซึ่งอัตลักษ์ท้องถิ่นดั้งเดิม

แต่การขับเคลื่อนปัญหาเชิงโครงสร้าง กลับเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะการปรับแก้โครงสร้างการทำงานของกทม. ที่เป็นเงื่อนไขให้หลายเรื่องตัดขัด ทั้งที่เรื่องนี้ ผู้ว่าฯกทม.คนก่อนจากพรรคเดียวกัน ได้เริ่มต้นไว้อย่างดี และน่าจะเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนในสมัยนี้

เช่นเดียวกับเรื่องของการมีส่วนร่วม หรือการกระจายอำนาจ เพราะเมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางของแทบทุกเรื่อง และมีความหลากหลายของผู้คน ไม่สามารถบริหารจัดการด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จของใคร คนใดคนหนึ่งได้ แต่เรื่องนี้ กลับเป็นการมีส่วนร่วมในเชิงพิธีกรรม มากกว่าหวังผลหรือสร้างการเปลี่ยนแปลง  

เครือข่ายพลเมืองเปลี่ยนกรุงเทพฯจึงตั้งคำถามว่า ผู้บริหารกทม.นำข้อเสนอของพลเมือง ที่มาจากเจ้าของปัญหาและเจ้าของคะแนนเสียง มาร่วมพิจารณาในขับเคลื่อนเมืองหลวงแห่งนี้มากแค่ไหน


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง