ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อียู ประกาศแก้ไขใช้ "ขี้ผึ้ง"เคลือบ เพื่อยับยั้งเชื้อ ช่วยยืดอายุในผักผลไม้บางชนิดได้

Logo Thai PBS
อียู ประกาศแก้ไขใช้ "ขี้ผึ้ง"เคลือบ เพื่อยับยั้งเชื้อ ช่วยยืดอายุในผักผลไม้บางชนิดได้

 นางปราณี  ศิริพันธ์  อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยว่า สหภาพยุโรป (EU) ได้ออกระเบียบ Commission Regulation (EU) เมื่อ 4 ธันวาคม 2555 เพื่อปรับปรุงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตใช้สารเติมแต่งในอาหาร (Food additives) ได้แก่ ขี้ผึ้ง คาร์นอบาแว็กซ์ เชลแล็กและไมโครคริสตัลลินแว็กซ์ เป็นสารเคลือบผิว (Glazing agent) ในผลไม้บางชนิด อาทิ  การใช้ขี้ผึ้งเคลือบผิวในพริก มะเขือเทศ แตงกวา กล้วย มะม่วง อโวคาโด ทับทิม และผลไม้อื่นๆ การใช้คาร์นอบาแว็กซ์และเชลแล็กในทับทิม มะม่วง อโวคาโด และมะละกอ และการใช้ไมโครคริสตัลลินแว็กซ์ในสับปะรด เป็นต้น ซึ่งระเบียบอนุญาตมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 ธันวาคม 2555 เป็นต้นไป 

 
ทั้งนี้ การที่สหภาพยุโรป (EU) อนุญาตการใช้ขี้ผึ้ง คาร์นอบาแว็กซ์ เชลแล็ก และไมโครคริสตัลลินแว็กซ์ เป็นสารเคลือบผิวในผักผลไม้นั้น เนื่องจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการใช้สารเติมแต่งเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการเก็บรักษาผักผลไม้ กล่าวคือ ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผักผลไม้ เนื่องจากสารเคลือบผิวสามารถป้องกันการสูญเสียน้ำและออกซิเดชั่นของผักผลไม้ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและจุลินทรีย์บางชนิด อีกทั้งยังช่วยปกป้องผักผลไม้ไม่ให้เกิดการเน่าเสียระหว่างการขนส่งระยะทางไกล โดยเฉพาะผักผลไม้ที่นำเข้ามาจากประเทศในเขตร้อน 
 
นอกจากนั้น การเคลือบผิวเป็นเพียงวิธีการทางภายนอกเท่านั้น ไม่แทรกซึมเข้าไปในเนื้อผลไม้ ดังนั้นจึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการที่สนใจส่งออกผักผลไม้ไปยังสหภาพฯ สามารถศึกษารายละเอียดการใช้สารเคลือบผิวในผักผลไม้ชนิดต่างๆได้ในเอกสารแนบ 
 
สำหรับการส่งออกสินค้าประเภทผักและผลไม้ของไทยไปยังอียู เฉลี่ย 3 ปี (พ.ศ. 2552-2554) มีมูลค่า 1,828.7 ล้านบาท และของปี 2555 มีมูลค่า 1,542.2 ล้านบาท จึงนับว่า EU ยังเป็นตลาดส่งออกสินค้าประเภทผักและผลไม้ที่สำคัญของไทย 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง