ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มองละครเวทีไทยผ่าน Les Miserables

Logo Thai PBS
มองละครเวทีไทยผ่าน Les Miserables

Les Miserables ถูกจดจำในแง่ของวรรณกรรมอมตะ ตีพิมพ์ครบชุดเมื่อปี ค.ศ. 1862 โดยผู้แต่ง คือ วิคเตอร์ อูโก้ มีเนื้อหาสะท้อนถึงความอยุติธรรมในสังคม ถูกสร้างเป็นละครเพลง ที่จัดแสดงบนเวทีครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1985 และต่อมาในปี ค.ศ. 2012 ความงดงามของละครเวที Les Miserables จึงถูก ทอม ฮูเปอร์ นำมาถ่ายทอดลงบนแผ่นฟิล์ม

หลังจากถูกสร้างเป็นละครเวทีครั้งแรกในปี 1985 Les Miserables เล่นอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 27 ปีแล้ว และไม่มีวี่แววว่าจะหยุด ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง นักวิจารณ์ละครเวทีระบุว่า สาเหตุที่ละครเวทีเรื่องนี้ยังคงเป็นอมตะเล่นยังคงจัดแสดงอยู่เรื่อยๆนั้น เป็นเพราะวัฒนธรรมของต่างประเทศ เนื่องจากการดูละครเวทีค่อนข้างเป็นธรรมเนียม วัฒนธรรมของชาติตะวันตก และทั้ง Les Miserables เองก็มีส่วนผสมของความบันเทิงและคุณค่าในแง่ประสบการณ์ และข้อคิด

<"">

 

อีกเหตุผลหนึ่งคือ ละครเวทีในชาติตะวันตกนั้น ทำกันเป็นอุตสาหกรรม เป็นการท่องเที่ยว เช่น เมื่อมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวบรอดเวย์ ก็จะต้องดูละคร และศิลปะคือแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างเงินมหาศาล ซึ่งใครก็ตามหากไปเที่ยวที่บรอดเวย์ และต้องการดูละคร เชื่อว่ามีเพียง 2 เรื่องที่พวกเขานึกถึง นั่นคือ Les Miserables หรือ The Phantom of the Opera ถึงแม้ว่าตอนนี้ Les Miserables อาจไม่ได้แสดงที่บรอดเวย์แล้ว แต่ก็ยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของละครเวทีที่เป็นอมตะ และยังคงขายบัตรได้เรื่อยๆ

<"">

 

ต่างจากประเทศไทย ละครเวทีในบ้านเรานั้นยังไม่เป็นอุตสาหกรรม ณัฐพัชญ์ ระบุว่าละครเวทีของไทยเหมือนเป็นเพียงอีเวนท์ เป็นป็อบคัลเจอร์ เหมือนคอนเสิร์ต ที่จัดขึ้นแล้วจบลง บางเรื่องอาจเสร็จแล้ว ผ่านไป 2-3 ปี มีคนนำกลับมาทำใหม่ แต่ไม่ได้เล่นรวดเดียวยาวเป็นเดือน และหากเล่นยาวเป็นเดือนได้ ก็ถือว่าเก่งแล้ว ส่วนของไทย ถ้าจะนับว่าเรื่องใดใกล้เคียงที่สุด คงเป็นการแสดง “โขน” เพราะเรายังคงเล่นเรื่องเดิม ฉากเดิม เพียงแต่จะหยิบฉากไหนมาเล่นเท่านั้นเอง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง