ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เทคโนโลยีที่ใช้ในกีฬาอาชีพ

กีฬา
4 มี.ค. 56
13:59
2,188
Logo Thai PBS
เทคโนโลยีที่ใช้ในกีฬาอาชีพ

วิวัฒนาการของกีฬาหลายประเภทต่างจากฟุตบอลเพราะเกิดขึ้นควบคู่ไปกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยี กีฬาบางประเภทยิ่งนำเทคโนโลยีไปช่วยในการตัดสินยิ่งทำให้กีฬาประเภทนั้นยกระดับความน่าเชื่อถือ และเกิดความแม่นยำมากขึ้น

กีฬาที่มีการนำเทคโนโลยีไปช่วยในการตัดสินมากที่สุดประเภทหนึ่ง คือกีฬาเทนนิส เทคโนโลยี ฮอว์คอาย ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2006 มีบทบาทอย่างมากในการตัดสินคะแนนสำคัญ โดยฮอว์คอายสามารถจับความเร็วในการเสิร์ฟลูก และจับจังหวะบอลตกลงในสนามได้อย่างแม่นยำ ทั้งนี้ เนื่องจากเทนนิสในปัจจุบันหวดกันด้วยความเร็วมากขึ้นถึง 160-200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงต้องใช้เทคโนโลยีช่วยในการตัดสิน

ในช่วงแรกของการใช้ฮอว์คอาย มีนักเทนนิสหลายคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงโรเจอร์ เฟเดอเรอร์ ที่บอกว่าเทคโนโลยีจะดีต้องได้รับการพิสูจน์ความแม่นยำ ส่วนนักเทนนิสรุ่นเก่าอย่างจอห์น แมค เอ็นโรล กลับไม่เห็นด้วยกับการใช้เทคโนโลยี เพราะมีความเชื่อมั่นในสายตาของผู้กำกับเส้นมากกว่า

ระบบฮอว์คอาย ประกอบด้วยกล้องความเร็วสูงถึง 10 ตัวที่จะติดตั้งทั่วสนาม แต่ละตัวเชื่อมกับระบบคอมพิวเตอร์โดยจะมีการประมวลภาพออกมาเป็นระบบ 3 มิติ ก่อนจะส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่สร้างภาพจำลองขึ้นมาขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 6-8 วินาทีเท่านั้น ส่วนต้นทุนในการติดตั้งประมาณ 600,000-800,000 บาทต่อสนามในเวลา 1 สัปดาห์

สำหรับฮอว์คอาย เป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งตอนแรกถูกนำไปใช้รีเพลย์ภาพการแข่งขันในกีฬาคริกเก็ต แต่ยังไม่ได้นำไปช่วยในการตัดสินจนกระทั่งได้รับความนิยมในกีฬาเทนนิส ขณะนี้หลายรายการในเอทีพีทัวร์ และดับเบิ้ลยูทีเอทัวร์ หันมาใช้ออว์คอายช่วยในการตัดสิน รวมถึงแกรนแสลมทั้ง 4 รายการ

กีฬาอื่นที่มีการนำภาพช้ามาช่วยในการตัดสินอย่างอเมริกันฟุตบอลไม่ได้สร้างความน่ารำคาญให้กับผู้ชมมากนัก แถมยังเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก และเป็นกีฬาที่มีลิขสิทธิ์สูงที่สุดในโลกอีกด้วย

เมื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมใดทีมหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินสามารถใช้สิทธิ์ร้องขอให้มีการดูภาพซ้ำโดยการขว้างธงสีแดงลงไปในสนาม และเข้าไปดูภาพซ้ำจากมุมกล้องต่างๆ ข้างสนาม ซึ่งผู้ตัดสินอาจเปลี่ยนหรือยืนยันตามคำตัดสินเดิมก็ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้ากติกาจะกำหนดให้แต่ละทีมดูภาพซ้ำได้เกมส์ละ 2 หน


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง