ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ภาคประชาสังคม-นักวิชาการ ชี้ "ความรุนแรง" ปัจจัยฉุดรั้งกระบวนการพูดคุยสันติภาพ

26 มี.ค. 56
13:38
82
Logo Thai PBS
ภาคประชาสังคม-นักวิชาการ ชี้ "ความรุนแรง" ปัจจัยฉุดรั้งกระบวนการพูดคุยสันติภาพ

อีก 2 วันข้างหน้าจะมีการพูดคุยสันติภาพ ที่ประเทศมาเลเซีย เพื่อแก้ปัญหาเหตุรุนแรงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ซึ่งในการพูดคุยครั้งนี้ จะมีตัวแทนจากภาคประชาสังคม และนักวิชาการรวมอยู่ด้วย โดยข้อเสนอแนะที่ทั้ง 2 กลุ่มเห็นว่า ควรหยิบยกขึ้นมาพูดคุยมากที่สุด คือรัฐบาลไทยและกลุ่มขบวนการ จะต้องลดการใช้ความรุนแรง ที่อาจเป็นปัจจัยฉุดรั้งกระบวนการพูดคุยสันติภาพ

<"">

 

คนงานเร่งซ่อมแซมฝาเพดานของอาคารพาณิชย์ใกล้สหกรณ์ตำรวจ และตลาดนัดเปิดท้าย บนถนนอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี ที่เสียหาย เพราะแรงระเบิดในรถจักรยานยนต์ เมื่อเที่ยงวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา ทำให้เด็กวัย 8 ขวบเสียชีวิต และมีผู้บาดเจ็บเกือบ 10 คน ซึ่งเป็นความรุนแรงต่อเนื่องที่เกิดขึ้น ก่อนการพูดคุยสันติภาพจะมีขึ้นในอีก 2 วันข้างหน้า

<"">
<"">

 

คณะผู้แทนฝ่ายรัฐบาลไทย 15 คน ที่จะเข้าร่วมพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มขบวนการรวม 9 กลุ่ม ในประเทศมาเลเซียรอบสอง จะมีตัวแทนจากภาคประชาสังคมเข้าร่วมด้วย แต่โซรยา จามจุรี คณะกรรมการสภาประชาสังคมชายแดนภาคใต้ มองว่า ภาคประชาสังคม ควรแสดงบทบาทเป็นคนกลางน่าจะเหมาะสมกว่า เพราะการเป็นคนกลาง หรือที่เรียกว่า เธิร์ด ปาร์ตี้ (third party) มีความสำคัญมากต่อกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ที่จะคอยหนุนเสริมเมื่อการพูดคุยเกิดล่มกลางคัน และจะต้องทำหน้าที่สื่อสารเจตนารมณ์ของคู่ขัดแย้งไปสู่ประชาชน เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน

เช่นเดียวกับ ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มองว่า การเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคม และนักวิชาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการพูดคุยสันติภาพครั้งนี้ อาจเป็นเพราะต้องการทำแผนโรดแม็พในการกำหนดทิศทางของการพูดคุย เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และเห็นว่าสิ่งที่ควรหยิบยกขึ้นมาพูดคุยสันติภาพในรอบนี้ คือ การลดความรุนแรงที่อาจจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งกระบวนการสร้างสันติภาพ

<"">
<"">

 

ตรงกับแถลงการณ์ของสภาประชาสังคมชายแดนใต้ รวม 8 ข้อต่อการพูดคุยสันติภาพ ซึ่งให้ความสำคัญไปที่ ทั้ง 2 ฝ่ายทั้งรัฐและกลุ่มขบวนการ จะต้องลดการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ โดยรัฐจะต้องแสดงความจริงใจ ในการยกเลิกกฎหมายพิเศษ ในขณะที่ขบวนการก็ต้องยุติปฏิบัติการทหาร พร้อมเสนอตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในทุกกรณี และจะต้องเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้าน หรือคนในพื้นที่


ข่าวที่เกี่ยวข้อง