ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"อภิมงคล" หวั่นแก้รธน. ม.190 อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนหากทำ "เอฟทีเอ" โดยไม่ผ่านสภา

การเมือง
1 เม.ย. 56
10:56
169
Logo Thai PBS
"อภิมงคล" หวั่นแก้รธน. ม.190 อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนหากทำ "เอฟทีเอ" โดยไม่ผ่านสภา

"อภิมงคล โสณกุล"คัดค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา หวั่น แก้มาตรา190 อาจทำไทยเสียเปรียบด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะการทำข้อตกลงเอฟทีเอที่มีความเสี่ยงต่อการเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องหากไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา

ม.ล.อภิมงคล โสณกุล ส.ส.กรุงเทพ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราว่า ขอคัดค้านการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราทั้ง 3 ฉบับ โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่ระบุถึง การทำสัญญาระหว่างรัฐต่อรัฐ โยเฉพาะการตัดเรื่องที่ว่าด้วยเศรษฐกิจและสังคมออกซึ่งถือว่า น่าวิตกอย่างยิ่ง เนื่องจากเรื่องดังกล่าวมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างสูง โดยเฉพาะการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ  ระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติซึ่งการทำข้อตกลงเอฟทีเอนั้นที่มีผลทั้งด้านบวกและด้านลบต่อประชาชน ซึ่งควรผ่านการประชุมของรัฐสภาจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศมากกว่า และหากผ่านการพิจารณาของบุคคลเพียงกลุ่มเดียวย่อมสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน

ขณะที่การแก้ไขมาตรา 237 ที่ระบุเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง นั้น มล.อภิมงคล ยอมรับว่า เป็นส่วนสำคัญที่สร้างรอยร้าวทางการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองไม่ควรถูกยุบได้โดยง่าย หากไม่สามารถยุบได้เบ็ดเสร็จดังที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการยุบพรรคไมยรักไทย ก็มีการตั้งพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทยต่อมา ดังนั้นการที่จะทำให้มาตรา 237 ถูกแก้ไขได้อย่างเหมาะสมจึงควรเน้นไปยังการเพิ่มโทษต่อกรรมการบริหารพรรคที่กระทำผิดในการเลือกตั้ง โดยตัดสิทธิทางการเมืองที่ 20 ปีซึ่งจะช่วยให้สมาชิกพรรค และผู้ที่สนับสนุนพรรคการเมืองไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว

ด้านนายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวสนับสนุนการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราทั้ง 3 ฉบับ เพื่อให้รัฐบาลสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างคล่องตัว และยังเน้นการอภิปรายไปยังการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูบมาตรา 68 ซึ่งว่าด้วย การล้มล้างการปกครองในระอบบประชาธิปไตย ซึ่งควรเพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกกล่าวหาด้วย โดยผ่านการพิจารณาของอัยการมิใช่การผ่านเพียงศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นซึ่งถือว่าเป็นสิทธิเบื้องต้นมิใช่การตัดสิทธิของศาลรัฐธรรมนูญ จึงจะถูกต้องตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง