ปชช. ชี้รัฐบาลควรออกมาตรการงดจำหน่ายสุราช่วงสงกรานต์ ลดอุบัติเหตุ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การลดอุบัติเหตุในช่วงสงกรานต์ (ZERO ACCIDENT)” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3 – 4 เม.ย.ที่ผ่านมา จากประชาชนอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ ทุกภูมิภาค จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับพฤติกรรมการเล่นน้ำสงกรานต์ที่ไม่เหมาะสมจนอาจนำไปสู่การเกิดการ ทะเลาะวิวาทและอุบัติเหตุบนท้องถนน และมาตรการในการลดการเกิดอุบัติเหตุในช่วง 7 วัน อันตราย ตามนโยบายลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ (ZERO ACCIDENT) ปรากฏว่า พฤติกรรมการเล่นน้ำสงกรานต์ ที่ประชาชนเห็นแล้วรู้สึก “ไม่ชอบ/ไม่พอใจ” มากที่สุด พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.79 ไม่ชอบพฤติกรรมการเล่นน้ำสงกรานต์ที่เป็นการลวนลาม ถูกเนื้อต้องตัวจนเกินขอบเขต การแต่งกายหวาบหวิว การเต้นโชว์ในเชิงลามกอนาจาร รองลงมา ร้อยละ 20.67ระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในระหว่างการเล่นน้ำสงกรานต์ หรือขับรถ ร้อยละ 20.27 การใช้สี มน้ำแข็ง,ถ่านมสิ่งแปลกปลอม ลงไปในน้ำที่ใช้เล่นสงกรานต์ ร้อยละ 17.48 การสาดน้ำที่มีความรุนแรง เช่น กระบอกฉีดน้ำที่มีแรงดันสูง ร้อยละ 2.47การใช้วาจาที่ไม่เหมาะสมระหว่างการเล่นน้ำสงกรานต์ร้อยละ 1.68การตั้งด่านเรี่ยไรเงิน
ส่วนมาตรการที่รัฐบาลควรดำเนินการเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ในช่วง 7 วันอันตราย เทศกาลสงกรานต์ ตามนโยบาย “ลดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ (ZERO ACCIDENT) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.57เห็นว่า ควรห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รองลงมา ร้อยละ 33.52 ควรเพิ่มด่านตรวจและเคร่งเครัดกับผู้ขับขี่รถบนท้องถนนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ จราจรให้มากขึ้น ร้อยละ 11.57 ห้ามเล่นสงกรานต์ในถนนสายหลัก ร้อยละ 7.26 งดเล่นการสาดน้ำที่มีความรุนแรง เช่น กระบอกฉีดน้ำที่มีแรงดันสูง และร้อยละ 1.12 อื่นๆ เช่น ควรจัดพื้นที่ที่เป็นจุดเล่นน้ำสงกรานต์โดยฉพาะ เพิ่มการประชาสัมพันธ์รณรงค์การลดอุบัติเหตุให้มากขึ้น และเพิ่มบทลงโทษและบังคับใช้กฎหมายให้จริงจัง
ด้าน รองศาสตราจารย์ พ.ต.อ. ดร. ประพนธ์สหพัฒนา อาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงผลการสำรวจในครั้งนี้ว่า จาก ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยกังวลในเรื่องของการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลหยุดยาว เช่น ปีใหม่ หรือ สงกรานต์ โดยเฉพาะ เทศกาลสงกรานต์ที่จะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากกว่า เนื่องจากมีการเล่นน้ำสงกรานต์บนท้องถนน สำหรับมาตรการที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลเคร่งครัดเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ ให้เป็นศูนย์ (ZERO ACCIDENT)ใน ช่วง 7 วันอันตรายนั้นส่วนหนึ่ง ออกมาเป็นกฎหมายหรือข้อบังคับใช้อยู่แล้ว เช่น การห้ามขับรถขณะมึนเมาหรือดื่มแอลกอฮอล์ การงดห้ามใช้กระบอกฉีดน้ำ หรือปืนฉีดน้ำที่มีแรงดันสูง และเจ้าหน้าที่ก็ยังมีการตั้งด่านตรวจกับผู้ขับขี่ยานยนต์บนท้องถนนด้วย ซึ่งก็จะมีการเพิ่มระดับความเข้มข้นของข้อบังคับมากขึ้น โดยเฉพาะการตรวจจับผู้ที่ขับรถขณะดื่มสุรา หรือมึนเมา รวมถึงผู้โดยสารด้วย