ไทยเชื่อ กัมพูชาใช้
ในคำร้องกัมพูชาขอตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ใหม่ ได้ขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ใช้แผนที่ระวางดงรัก กำหนดเส้นเขตแดนบริเวณรอบปราสาท เนื่องจากกัมพูชาเชื่อว่า ศาลได้ใช้แผนที่ดังกล่าวประกอบการพิจารณาในปี 2505
ก่อนมีคำพิพากษาให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา และเป็นที่คาดว่าในการกล่าวแถลงด้วยวาจากับศาลวันที่ 15 เมษายน ซึ่งแผนที่ระวางดงรักจะเป็นเอกสารสำคัญที่กัมพูชาใช้ในการต่อสู้คดี
โดย การสู้รบช่วงต้นปี2554 ในพื้นที่ชายแดนด้านปราสาทพระวิหารเป็นสาเหตุสำคัญที่กัมพุชาใช้ร้องเรียนต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 28 เมษา ปี 2554 ขอให้ศาลพิจารณาเส้นเขตแดนด้านปราสาทพระวิหารใหม่ พร้อมอ้างเหตุสู้รบที่เกิดขึ้น มาจากคำตัดสินของศาลในปี2505 ที่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องเขตแดน และต้องการให้ศาลใช้แผนที่ระวางดงรัก หรือแผนที่ฝรั่งเศสอัตราส่วนหนึ่งต่อสองแสน กำหนดเส้นเขตแดนใหม่ ซึ่งจะทำให้พื้นที่4.6ตารางกิโลเมตรของไทยที่อยู่รอบปราสาท ตกอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา
ในคำร้องของกัมพูชาเชื่อว่าศาลใช้แผนที่ดังกล่าวประกอบการพิจารณาในปี 2505 ก่อนตัดสินให้ตัวปราสาทอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา ขณะที่ฝ่ายไทยเห็นว่าคำตัดสินในปี2505 เป็นเรื่องอธิปไตยเหนือตัวปราสาท ไม่ใช่เรื่องเขตแดนรอบตัวปราสาท อย่างที่กัมพูชาร้องขอให้ตีความ และเห็นว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องกัมพูชา
นายณัฎฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณา เนื่องจากกพช. ขอนอกกรอบ โดยทั้งสองฝ่ายไม่มีข้อขัดแย้ง แนวที่สามชี้ให้เห็นว่าที่ กพช.ขอใหม่เป็นการอุธรณ์ขอใหม่ในส่ิงที่ศาลได้ปฏิเสธไปแล้วในคำตัดสินปี 2505
ส่วนนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระบุว่า ความกังวลคงจะไม่มีแล้ว เพราะว่าไทยได้ทำดีที่สุดละเอียดที่สุด เหมือนเข้าห้องสอบ เตรียมตัวมาทั้งปีไม่ใช่มาดูหนังสือสองวันสุดท้ายก่อนสอบ แต่ก็คาดการณ์ว่าแผนที่ระวางดงรักจะเป็นเอกสารสำคัญในการต่อสู้คดีของทางกัมพูชา ขณะที่ฝ่ายไทย พร้อมชี้แจงในเรื่องดังกล่าว และได้เตรียมผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่จากสถาบันที่มีชื่อเสียง ร่วมชี้แจงในวันที่ 17 เมษายน ให้เห็นถึงปัญหาในแผนที่ดังกล่าว ซึ่งกัมพูชาขอให้ศาลใช้เป็นเส้นเขตแดน