119 คน ที่กัมพูชาส่งกลับไทย ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ข้อมูลนี้สอดคล้องกับ "เหยื่อคอลเซนเตอร์" ได้เปิดใจกับไทยพีบีเอสว่า ส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่ม-สาว ต้องการงานและเงิน เขาสมัครงานเป็นพนักงานบัญชี แต่ถูกทำร้ายร่างกาย เพื่อเอาบัญชีธนาคารไปเป็นบัญชีม้า ตำรวจพบเงินหมุนเวียนในบัญชีมากถึง 19 ล้านบาท
การกวาดล้างกลุ่มคอลเซนเตอร์ในประเทศเมียนมาร์และประเทศกัมพูชา ทำให้พบข้อมูลกลุ่มคอลเซนเตอร์บางส่วนย้ายฐานการทำงานมาอยู่ในพื้นที่ชายแดนอีสานใต้ โดยเฉพาะบริเวณเมืองโอร์เสม็ด จังหวัดอุดรมีชัย ตรงข้ามกับจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ พบว่ามีขบวนการคอลเซนเตอร์มาทำงานที่กาสิโนในฝั่งประเทศกัมพูชา ตั้งแต่ปีที่ 2567
ฝ่ายความมั่นคงฝั่งไทย เดินหน้าแก้ปัญหาคอลเซนเตอร์ฝ่ายเดียวคงไม่สำเร็จ เพราะต้นตอของคอลเซนเตอร์ส่วนหนึ่งอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างปอยเปต หลังตำรวจไทยบินไปหารือ เพื่อวางแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน ล่าสุด ตำรวจกัมพูชา เข้าจับกุมตึกคอลเซนเตอร์ รวบต่างชาติได้กว่า 229 คน
เมื่อวันอังคาร (7 ม.ค. 68) ที่ผ่านมา สมเด็จฮุน เซน และฮุน มาเนต บุตรชาย และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน เดินทางไปเข้าร่วมพิธีฉลองครบรอบ 46 ปี การสิ้นสุดของยุคเขมรแดง ซึ่งก็เป็นวันเดียวกับที่เกิดเหตุลอบยิง “ลิม กิมยา” ในกรุงเทพฯ พอดี อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาใช้โอกาสนี้ เรียกร้องให้มีการผลักดันกฎหมายฉบับใหม่ที่กำหนดนิยามคนที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาลฮุน มาเนต ว่า เป็นผู้ก่อการร้ายเพื่อนำตัวมาลงโทษ โดยกลุ่มนี้ยังครอบคลุมไปถึงคน หรือกลุ่มบุคคลที่วางแผนสนับสนุนการเคลื่อนไหวสุดโต่ง ก่อให้เกิดความวุ่นวายและความไม่มั่นคงขึ้นในสังคม รวมทั้งยั่วยุให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างกัมพูชากับรัฐอื่น ๆ อีกด้วย
การลอบสังหารอดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ที่เป็นฝ่ายเห็นต่างกับรัฐบาล เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อไทยอย่างไร และแนวทางการแก้ปัญหานี้ควรเป็นเช่นไร เพราะมีมุมมองจากนักการเมืองและนักเคลื่อนไหว มองว่าไทยและอาเซียน ไม่มีการคุ้มครองบุคคลที่เห็นต่างทางการเมือง พูดคุยกับ รศ.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ
ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 67 "ปลาบึก" ปลาน้ำจืดที่ใหญ่และหายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ถูกจับได้ทั้งหมด 6 ตัว จากในแม่น้ำที่เชื่อมกับโตนเลสาบ ไม่ไกลจากกรุงพนมเปญ และแม่น้ำโขง สร้างความยินดีให้บรรดานักชีววิทยาทางทะเล รวมถึงเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านการประมงกัมพูชาเป็นอย่างมาก
กรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ MOU44 ระหว่างไทย-กัมพูชา อาจทำให้ไทยเสียดินแดนทางทะเลหรือไม่ ซึ่งล่าสุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เตรียมตั้งทีม JTC เพื่อเจรจา โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนกลางเดือน พ.ย.นี้นั้น ทำไมกรณี MOU44 ยิ่งมีคนออกมาแสดงความคิดเห็นมากเท่าใด ยิ่งดีกับประเทศไทย ฟังวิเคราะห์จาก สุทธิชัย หยุ่น, อาจารย์วีระ ธีรภัทร และวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์
วันนี้ (6 พ.ย. 67) ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ เตือนรัฐบาลไทยต้องระวัง #MOU44 ระหว่าง #ไทย #กัมพูชา โดยเฉพาะหลักฐานจากการแบ่งปันผลประโยชน์ เมื่อใดขุดน้ำมันได้และมีการแบ่งเงินกันคนละ 50% จะเป็นหลักฐานในอีก 30-40 ปีข้างหน้าที่น้ำมันหมดไปให้ศาลโลก
กรณี MOU44 ระหว่างรัฐบาลไทย-กัมพูชา เมื่อปี 2544 ที่ขณะนี้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจทำให้ไทยเสียดินแดนบริเวณเกาะกูดหรือไม่ เพราะกัมพูชาลากเส้นเขตแดนทับเกาะกูด รศ. ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ มองว่าเรื่องนี้มีความล่อแหลม ไทยมีมุมที่ได้เปรียบและเสียเปรียบ จึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกรณีเขาพระวิหาร แต่สำคัญที่สุดคือ ทั้ง 2 ประเทศควรเดินหน้าร่วมกันพัฒนาเรื่องพลังงาน
ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ได้จับกุมหญิงชาวกัมพูชาพร้อมลูก 3 คน นั่งขอทานอยู่ที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 15 เมื่อคุมตัวไปสอบสวนก็สารภาพว่าเคยลับลอบเข้ามาขอทานในไทย ก่อนจะถูกผลักดันออกนอกประเทศเมื่อปีที่แล้ว แต่ที่กลับมาทำในลักษณะเดิม อ้างว่าเป็นอาชีพที่รายได้ดี เพราะคนไทยใจบุญ