ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วิเคราะห์ 5 ข้อเรียกร้อง"บีอาร์เอ็น "

29 เม.ย. 56
14:16
148
Logo Thai PBS
วิเคราะห์ 5 ข้อเรียกร้อง"บีอาร์เอ็น "

นักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยอิสลามศึกษา เห็นว่า การเผยแพร่ ข้อเรียกร้อง 5 ข้อของกลุ่มบีอาร์เอ็นโคออร์ดิเนต ผ่านโซเชี่ยลเน็ตเวิกร์ ก่อนการพูดคุยสันติภาพ อาจไม่ใช่การกดดันให้รัฐต้องทำตาม แต่กลับเป็นข้อผูกมัดกลุ่มขบวนการ ให้ต้องยอมรับผลจากการพูดคุยสันติภาพ ขณะที่ตัวแทนภาคประชาสังคมมองว่า การบวนการสร้างสันติภาพในปัจจุบัน ยังคงเปราะบาง จึงมีความจำเป็นที่ทุกภาคส่วน ต้องช่วยประคับประคองให้สำเร็จ

แม้เหตุกราดยิงโรงเรียนบ้านบูเกะบากง ต.ตะปอเยาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 คน จะเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง แต่การพูดคุยสันติภาพรอบที่ 3 ในประเทศมาเลเซีย ก็สร้างความหวังให้ชาวบ้านในพื้นที่ไม่น้อย ว่าผลจากการพูดคุย จะนำมาซึ่งการยุติความรุนแรงได้ในที่สุด โดยเฉพาะเมื่อเนื้อหา ที่มีการพูดคุยกันในวันนี้ (29 เม.ย.) มุ่งเน้นไปที่การขอให้กลุ่มขบวนการยุติการก่อเหตุกับเป้าหมายอ่อนแอ แต่หลายคนก็ยอมรับว่า กระบวนการสร้างสันติภาพที่ยังเปราะบาง ก็ยังมีความจำเป็นที่หลายฝ่าย ต้องช่วยประคับประคองให้สำเร็จ
 

<"">
 
<"">

เช่นเดียวกับข้อเรียกร้องของกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็นโคออร์ดิเน็ต ที่เผยแพร่ผ่านโซเชี่ยลเน็ตเวิกร์รวม 5 ข้อ ก่อนการพูดคุยสันติภาพเพียงหนึ่งวัน ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า เป็นการเล่นนอกโต๊ะเจรจา แต่สำหรับนักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยอิสลามศึกษา กลับเห็นว่า ไม่ใช่การกดดันให้รัฐไทยต้องทำตาม หรือเล่นนอกเกมแต่กลับส่งผลบวกให้รัฐบาลไทยได้ทราบถึงความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง และสามารถเตรียมพร้อมข้อมูล หรือวิธีการรับมือในการพูดคุย ซึ่งผลจากการพูดคุยก็อาจไม่เป็นไปตามข้อเรียกร้องของบีอาร์เอ็นทั้งหมด ทั้งนี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกันของที่ประชุม แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่า คือ การพูดคุยแต่ละครั้งจะต้องมีความก้าวหน้าในการหารือร่วมกัน เพราะหากพูดคุยแล้วกลับไม่ได้ผลสรุปอย่างไรอย่างหนึ่ง ก็ย่อมส่งผลให้ประชาชนบางส่วนขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ 

 
ขณะที่ข้อเสนอจากบางฝ่าย ที่ต้องการให้องค์กรมุสลิมโลก หรือ oic เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในฐานะผู้สังเกตการณ์ ในการพูดคุยสันติภาพ นักวิชาการมหาวิทยาอิสลามศึกษา เห็นว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีประเทศที่ 3 มาทำหน้าที่สักขีพยาน แต่ฝ่ายรัฐไทยอาจกังวล ว่าการเข้ามาของ โอไอซี จะเป็นการยกฐานะของกลุ่มขบวนการให้เป็นองค์กรก่อการร้ายสากล แต่ในระดับประชาชนแล้ว นักวิชาการเชื่อว่า คนส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจมากนัก เพราะจุดหมายปลายทาง ที่ต้องการในการพูดคุยสันติภาพ คือ การนำความสงบสุขกลับคืนมาในพื้นที่ 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง