ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

การตลาดในยุค 3.0 และการปรับตัวของบริษัทไทย

30 เม.ย. 56
09:37
488
Logo Thai PBS
การตลาดในยุค 3.0 และการปรับตัวของบริษัทไทย

โดย รุ่งนภา เสถียรนุกูล ทีมงานจัดการกองทุนบัวหลวง

 ตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมามีความผันผวนและแกว่งตัวค่อนข้างมาก  ทำให้จิตใจของนักลงทุนส่วนใหญ่แกว่งไปตามตลาด  แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรจะต้องตระหนักสำหรับการลงทุนคือการพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์ตัวนั้น  โดยพิจารณาถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ความสามารถในการทำกำไร รวมถึงแนวโน้มในการเติบโตของบริษัท  ซึ่งกลยุทธ์การตลาดของแต่ละบริษัทก็เป็นส่วนหนึ่งที่นักลงทุนควรจะนำไปใช้ประกอบในการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยเชิงคุณภาพของบริษัทนั้น  นักลงทุนจึงควรดูว่าแผนทางการตลาดของบริษัทมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับตลาดในปัจจุบันและในอนาคตหรือไม่  

 
โกดัก (Kodak) และ ฟูจิ (Fuji) เป็นกรณีศึกษาที่มีความน่าสนใจ โดยทั้งสองบริษัทมีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจฟิล์มเหมือนกัน แต่เมื่อตลาดมีการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น ก่อให้เกิดสินค้าอื่นๆ ขึ้นมาทดแทนการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม จึงเกิดการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมกล้องดิจิตอลและสมาร์ทโฟน 
 
เริ่มแรกนั้นโกดัก เห็น เทรนด์การเปลี่ยนแปลงของตลาด และเป็นผู้ริเริ่มผลิตกล้องดิจิตอลออกมาหลายรุ่นหลายแบบ แต่ปัญหาก็คือกำไรและรายได้หลักของ โกดัก ขึ้นอยู่กับธุรกิจฟิล์ม  ไม่ว่าจะเป็นการล้างฟิล์ม อัดภาพ หรือการขายฟิล์มก็ตาม ซึ่งทำให้ผู้บริหารโกดัก ประเมินกำลังตลาดดิจิตอลต่ำเกินไป และยังกลัวว่าตลาดดิจิตอลจะมากินตลาดธุรกิจฟิล์มอีกด้วย จึงไม่ได้ทำการตลาดและไม่ได้มุ่งพัฒนาธุรกิจดิจิตอลเท่าที่ควร 
 
ตรงกันข้ามกับผู้บริหารของฟูจิ ที่เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ และมี Sense of Urgency  ที่เร็วกว่าผู้บริหารโกดัก บริษัท ฟูจิ จึงเร่งพัฒนาและวิจัยอุตสาหกรรมดิจิตอล รวมถึง Diversify ธุรกิจออกไปนอกธุรกิจฟิล์ม  และเนื่องจากฟูจิ  มีความเชี่ยวชาญด้านสารเคมี จึงได้นำความรู้นี้ไปประยุกต์กับธุรกิจเครื่องสำอาง  รวมถึงขยายไปสู่ธุรกิจฟิล์มเคลือบหน้าจอ LCD และธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์การถ่ายภาพทางการแพทย์อีกด้วย   
 
บทเรียนที่แสนแพงในการปรับตัวช้าของโกดัก ทำให้ตลาดดิจิตอลกินเนื้อธุรกิจฟิล์ม จนโกดัก ต้องล้มละลายไปในที่สุด ขณะที่ฟูจิยังคงอยู่
 
บทสรุปจากข้างต้นก็คือ บริษัทที่มีวิสัยทัศน์และสามารถปรับกลยุทธ์ไปทำการตลาดได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และสนองตอบสภาวะสำคัญกับวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว จะยังคงอยู่ในตลาดต่อไปได้ 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง