ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดข้อสังเกต "วาระซ่อนเร้น" ของกวป.เอื้อประโยชน์ "ทักษิณ"

11 พ.ค. 56
14:38
48
Logo Thai PBS
เปิดข้อสังเกต "วาระซ่อนเร้น" ของกวป.เอื้อประโยชน์ "ทักษิณ"

หลังการเคลื่อนไหวกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ กวป. ที่แสดงจุดยืนไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ต่อกรณีการรับคำร้องเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญเข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 กลุ่มที่เห็นต่างได้แสดงความเห็นผ่านวงเสวนา คุกคามศาล แก้รัฐธรรมนูญ นิรโทษกรรม บริสุทธิ์ใจ หรือ เพื่อใคร โดยส่วนใหญ่ตั้งข้อสังเกตถึงเจตนาการขับเคลื่อนเป็นไปเพื่อเอื้อประโยชน์ทางการเมืองต่ออดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

การชุมนุมของกลุ่มกวป.หรือ การประกาศเจตจำนงคัดค้านอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ของสมาชิกรัฐสภา ต่อการรับตีความการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือแม้แต่ความพยายามผลักดัน กฎหมายนิรโทษกรรม ถูกตั้งข้อสังเกต ผ่านเวทีเสาวนา คุกคามศาล แก้รัฐธรรมนูญ นิรโทษกรรม บริสุทธิ์ใจ หรือ เพื่อใคร ผู้ร่วมเสวนาเห็นตรงกัน ว่าเป้าหมายการขับเคลื่อนเป็นไป เพื่อเอื้อประโยชน์ทางการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

 
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ชี้ถึงขบวนการ 4 ประสานที่ขับเคลื่อนร่วมกัน ระหว่างรัฐบาล พรรคเพื่อไทย กลุ่มมวลชน และนักกฎหมาย ที่พุ่งเป้าดึงศาลรัฐธรรนูญเป็นคู่ขัดแย้ง หวังลดความเชื่อมั่น ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ ควรแสดงความกล้าหาญยืนยันขอบเขตอำนาจเพื่อรักษาระบบการปกครอง ในการวินิฉัยความผิด ตามมาตรา 68 ที่เห็นถึงเจตนาของสมาชิกรัฐสภา ผ่านแถลงการณ์ต่อต้านอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

    

 
สอดคล้องกับความเห็นของศ.จรัส สุวรรณมาลา อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ย้ำถึงสถานะศาลที่เป็นองค์กรกลางในการตัดสินข้อขัดแย้ง ที่ควรได้รับการส่งเสริม เพิ่มอำนาจ แทนการถูกลดทอนอำนาจและบทบาท ด้วยการเสนอแก้ไข มาตรา 68 เพื่ิอการลดช่องทางการยื่นเรื่องต่อศาล
 
ขณะที่รศ.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม แม้ความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเข้าข่าย กระทำผิด มาตรา 68 แต่ศาลยังไม่สามารถ ใช้อำนาจในการวินิจความผิดได้ จนกว่ากระบวนการการแก้ไขจะแล้วดสร็จ จึงสามารถเอาผิดกับสมาชิกรัฐสภาทั้ง 312 คนได้ เนื่องจากความผิดยังไม่สำเร็จ
 
แต่ด้วยเป้าหมายที่จะเร่งรัด กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และผลักดันร่างกฎหมายนริโทษกรรม อย่างมีวาระและเป้าหมายซ่อนเร้น ผู้ร่วมวงเสวนาจึงคาดการณ์ถึงสถานการณ์การเมืองที่จะกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง ในสมัยประชุมสภาสามัญทั่วไป ที่อาจกลายเป็นชนวนขัดแย้งรอบใหม่ ทั้งในและนอกสภา
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง