ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จับตาปลด"นพ.วิทิต"พ้นผอ.องค์การเภสัชกรรม วันนี้

สังคม
17 พ.ค. 56
04:16
132
Logo Thai PBS
จับตาปลด"นพ.วิทิต"พ้นผอ.องค์การเภสัชกรรม วันนี้

ปัญหาภายในขององค์การเภสัชกรรม ทั้งเรื่องการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอล และ ความล่าช้าการก่อสร้างโรงงานวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนกขององค์การเภสัชกรรม ทำให้วันนี้ (17 พ.ค.)จะมีการประชุมบอร์ดองค์การเภสัชกรรม ซึ่งคาดว่า นอกจากหารือถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังอาจพิจารณาปลดผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมด้วย ขณะที่ดีเอสไอ เตรียมสรุปการสอบสวนการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนเกี่ยวกับการแบ่งซื้อแบ่งจ้างวันนี้ (17 พ.ค.)

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า ได้ลงนามสรุปความเห็นส่งผลการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวส่งไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการพิจารณาไต่ส่วนในขั้นตอนต่อไปแล้ว เนื่องจากผลการสืบสวนข้อเท็จจริงของดีเอสไอมีความเห็นเบื้องต้นว่า นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เข้าข่ายกระทำความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ หรือ ฮั้วประมูล มาตรา 11, 12 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งกรณีดังกล่าวผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดีเอสไอต้องส่งสำนวนไปยัง ป.ป.ช.

สำหรับการกระทำที่เข้าข่ายความผิดนั้นมี 3 ส่วน คือ 1.กรณีแบ่งซื้อ แบ่งจ้าง โดยเฉพาะงบประมาณในการออกแบบที่มีการขยายจากเดิมสำนักงบประมาณอนุมัติเพียง 8 ล้านบาท แต่ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ใช้งบประมาณสูงถึง 20 ล้านบาท

2. คือโครงการดังกล่าว คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้ผลิตเชื้อตายซึ่งเป็นมาตรฐานระดับ 2 ขององค์การอนามัยโลก แต่ องค์การเภสัชกรรมได้เปลี่ยนเป็นการผลิตทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตาย ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับ 2+ ขององค์การอนามัยโลก แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงทาง องค์การเภสัชกรรม เสนอเรื่องกลับไปยัง ครม.เพื่ออนุมัติเห็นชอบอีกครั้ง

3.ประเด็นคือความล่าช้าในการสร้าง ที่สาเหตุมาจากปรับแก้แบบ จากเดิมต้องการสร้างแบบเชื้อ ต่อมาต้องการสร้างโรงผลิตเชื้อเป็นด้วย จึงต้องมีการปรับแก้แบบรองรับทั้ง 2 ระบบ และต้องรองรับมาตรฐานองค์การอนามัยโลก แบบ 2+ ด้วย

ด้านนายแพทย์วิทิตยืนยันว่าไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และพร้อมที่จะไปให้การกับ ป.ป.ช.และศาล อย่างไรก็ตาม ที่ดีเอสไอกล่าวหานั้น ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมาย

ด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวถึง การประชุมบอร์ดองค์การเภสัชกรรมในวันนี้ (17 พ.ค.) ว่ามีความผิดปกติ เพราะเร่งรีบจัดการประชุม จากเดิมที่จะประชุมกันในช่วงปลายเดือน พฤษภาคมนี้ โดยตนทราบว่าจะมีวาระเรื่องการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ องค์การเภสัชกรรมออกจากตำแหน่งด้วย

สำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมเป็นการสรรหาในลักษณะสัญญาจ้างระหว่างประธาน บอร์ดองค์การเภสัชกรรม กับผู้อำนวยการ องค์การเภสัชกรรม จึงไม่ใช่ข้าราชประจำ ไม่สามารถพิจารณาความผิดทางวินัยได้ แต่หากไม่ต่อสัญญาจ้างจะต้องมีรายละเอียดระบุไว้ชัดเจนเช่น บริหารงานอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร หรือบริหารงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น

นอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ.องค์การเภสัชกรรม พ.ศ.2509 มาตรา 25 ระบุว่า ผู้อำนวยการจะพ้นจากนอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ.องค์การเภสัชกรรม พ.ศ.2509 มาตรา 25 ระบุว่า ผู้อำนวยการจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือคณะกรรมการให้ออกจากตำแหน่ง ดังนั้น เมื่อเกิดกรณีการชี้มูลความผิดจากดีเอสไอ ก็จะขึ้นอยู่กับอำนาจของ บอร์ดองค์การเภสัชกรรมในการพิจารณาเลิกสัญญาจ้างแล้วนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง