อย.ย้ำอย่าเชื่อ อย่าแชร์ข่าวลวงในโลกออนไลน์ ยาพาราเซตามอลปนเปื้อนไวรัสแมคชูโป ไม่เป็นความจริง หากพบว่ายาใดมีการปนเปื้อนจะต้องมีการแจ้งเตือน เรียกเก็บยาคืน ไม่ให้นำออกมาจำหน่าย ขอให้ผู้บริโภคตรวจสอบก่อนแชร์ข้อมูลได้ทางแอปพลิเคชัน อย. เช็ก ชัวร์ แชร์
รองเลขาธิการ อย.ตั้งข้อสังเกตว่าการเพิ่มมาตรการควบคุมยาทรามาดอลอาจจะไปกระทบการเข้าถึงยาของผู้ป่วยและยังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด หลังมีผู้โพสผ่านสื่อสังคมออนไลน์ถึงผลจากการรับประทานยาทรามาดอล จนป่วยขั้นรุนแรง มีอาการสมองเบลอ ความจำเสื่อม
คดีที่บอร์ดองค์การเภสัชกรรมร้องเรียน ป.ป.ช.ว่า อดีตผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมและประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรมว่า ทุจริตจัดซื้อยาพาราเซตามอล ปี 2555 สร้างความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท ล่าสุดที่ประชุม ป.ป.ช.ตรวจสอบแล้วพบว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล
หลาย ๆ คนที่มีอาการปวดหัว ปวดหลัง มักกินยาพาราเซตามอล แต่ทราบหรือไม่ว่ายาแก้ปวด จริง ๆ แล้วมีหลายประเภท แล้วแต่ละประเภทมีข้อควรระวังในการกินอย่างไร วันนี้ชวนมาพูดคุยกับหมอต้น นพ.กฤษดา ศิรามพุช แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย ในประเด็นดังกล่าว พร้อมฟังคำแนะนำในการกินยาพาราเซตามอลว่าควรกินอย่างไร จึงจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในรยะยาว ติดตามชมในรายการคนสู้โรค ทุกวันอังคาร – ศุกร์ เวลา 15.05 – 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส ชมย้อนหลังได้ที่ www.thaipbs.or.th/Konsuroak
ทพ.กฤษณะ พลอยบุษย์ แอดมินเพจใกล้หมอฟัน จะมาพูดคุยและตอบคำถามเรื่อง “การขูดหินปูนกับโรคหัวใจ” ต่อด้วยช่วงปรับก่อนป่วย พบกับหมอต้น นพ.กฤษดา ศิรามพุช แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย จะมาพูดคุยในประเด็น “ระวังการติดยาแก้ปวด” ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2562 เวลา 15.05 – 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live