จุดสิ้นสุดฟิล์มภาพยนตร์
การลงทุนกว่า 900,000 บาท ในการซื้อเครื่องฉายหนัง แบบเดียวกับที่ใช้ในโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ เพื่อให้ได้คุณภาพได้ความคมชัดของภาพและเสียงใกล้เคียงกับโรงภาพยนตร์มาตรฐาน ตั้งแต่เมื่อ 4 ปีที่แล้ว (2552) เพื่อหวังดึงดูดผู้ชม แต่ข่าวในหมู่ผู้ฉายที่บอกว่าปีนี้อาจเป็นปีสุดท้ายของหนังฟิล์ม ก่อนที่ทั้งระบบจะถูกปรับให้เปลี่ยนเป็นดิจิตอล ทำให้ ธนพงษ์ ชัยรัตนสุนทร เจ้าของหนังกลางแปลงในโพธาราม หวั่นใจไม่น้อย แม้เชื่อว่าต้องใช้เวลาเปลี่ยนแปลงอีกระยะ และต้องตัดสินใจว่าจะยอมซื้อเครื่องฉายดิจิตอลอีกกว่า 2,000,000 บาท เพื่อรองรับระบบใหม่ หรือ ยอมรับความจริงแล้วเลิกกิจการ
นายธนพงษ์ รัตนสุนทร ผู้ประกอบการหนังกลางแปลงจังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า มีแผนแต่ซื้อมาอาจจะใช้ไม่ได้เวลาฉายกลางแปลง เพราะระบบมันไม่แน่นอนและไม่เสถียร์อาจจะแฮ้งค์มาฉายกลางแปลงไม่ได้ ปัญหาคือต่อไปถ้าฟิล์มหมดไปจริงๆ จะไม่มีหนังใหม่มาฉายรายย่อยประสบปัญหาแน่ๆ ซึ่งต้องรอดูอีกสักระยะว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไร
สิ่งที่ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์และหนังกลางแปลงได้ยินมา อาจไม่ใช่เพียงข่าวลือเมื่อแล็บฟิล์มใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอย่าง กันตนา ที่ลดกำลังการผลิตในส่วนของฟิล์มลงเหลือเพียง1ใน 3 และหันไปทุ่มกับดิจิตอลแล็บมากกว่า ซึ่ง จาฤก กัลย์จาฤก ผู้บริหารกันตนากรุ๊ป บอกว่า การปรับตัวครั้งนี้มาจากของตกลงสตูดิโอภาพยนตร์ในฮอลลีวู้ดว่าภายในเดือนสิงหาคม 2556 วงการหนังจะก้าวเข้าสู้ยุคปลอดฟิล์มฉายภาพยนตร์ ซึ่งข้อดีคือช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตภาพยนตร์ต่อเรื่อง ทั้งยังลดค่าขนส่งให้ต่ำลง แต่ราคาเครื่องฉายที่ค่อนข้างสูงรวมถึงค่าบำรุงรักษาที่ต้องเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์ทุก 3 -5 ปี ป็นอุปสรรคสำคัญในการเปลี่ยนผ่าน
ขณะที่จาฤก กัลย์จาฤก ประธานกรรมการบริหาร กันตนา กรุ๊ป กล่าวว่า ฮอลลีวู้ดเป็นคนกำหนดตลาด ภาพยนตร์ในไทย เราต้องปรับตัวซึ่งเชื่อว่าภายในปีหน้าจะไม่มีฟิล์มมาจากฮอลลีวู้ดแล้ว
ด้านนางธิดา ผลิตผลการพิมพ์ บรรณาธิการนิตยสารไบโอสโคป ระบุว่า มันเป็นคำถามอยู่เหมือนกันว่าจะทำอย่างไร เพราะว่า ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้
มีการประเมินกันว่าภายในปี 2015 โรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่ในโลกจะเปลี่ยนไปสู่การฉายในระบบดิจิตอลทั้งหมด และมีความพยายามจะทำให้การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้เป็นได้อย่างราบรื่น ด้วยการนำค่าใช้จ่ายที่เคยต้องเสียไปกับการปริ๊นท์ฟิล์ม ไปช่วยโรงภาพยนตร์รายย่อย แต่ในประเทศไทยที่ไม่มีโครงการแบบเดียวนี่อาจหมายถึง การสิ้นสุดของผู้ประกอบการและสายหนังรายย่อย และมีเจ้าของโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ไม่กี่รายที่จะอยู่รอด