คนเอสเอ็มอีให้คะแนนผลงานเศรษฐกิจของรัฐบาล
ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPURC) เปิดเผยผลการสำรวจทัศนคติของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวน 504 ราย เกี่ยวกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังและผลการทำงานของรัฐบาลในด้านเศรษฐกิจในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ทำการสำรวจในระหว่างวันที่ 5 - 22 พฤษภาคม 2556
โดยสอบถามถึงการคาดการณ์สภาพเศรษฐกิจไทยในภาพรวมในช่วงครึ่งปีหลังเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 12.8% คาดว่า จะดีขึ้นกว่าเดิม 45.6% ใกล้เคียงกัน 36.3% แย่ลงกว่าเดิม และอีก 5.3% ไม่แน่ใจ สำหรับการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังโดยเฉลี่ยแล้วเท่ากับ 6.2%
สำหรับการประเมินการทำงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลซึ่งมีคะแนนเต็มเท่ากับ 10 คะแนน พบว่า โดยภาพรวมแล้วได้ 5.1 คะแนน การทำงานด้านการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้นได้คะแนนมากที่สุด ได้ 6.8 คะแนน
อันดับสอง คือ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ ได้ 6.4 คะแนน
อันดับสาม การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในประเทศ ได้ 5.9 คะแนน
อันดับสี่ การเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ได้ 5.1 คะแนน
อันดับห้า การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ได้ 4.8 คะแนน
อันดับหก การควบคุมต้นทุนการผลิต/ต้นทุนในการทำธุรกิจ ได้ 4.5 คะแนน
อันดับเจ็ด การใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ 4.3 คะแนน
สำหรับอันดับแปดมีสองด้าน คือ การใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างโปร่งใส และการควบคุมค่าครองชีพของประชาชน ได้ 4.1 คะแนนเท่ากัน
อันดับสอง คือ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ ได้ 6.4 คะแนน
อันดับสาม การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในประเทศ ได้ 5.9 คะแนน
อันดับสี่ การเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ได้ 5.1 คะแนน
อันดับห้า การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ได้ 4.8 คะแนน
อันดับหก การควบคุมต้นทุนการผลิต/ต้นทุนในการทำธุรกิจ ได้ 4.5 คะแนน
อันดับเจ็ด การใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ 4.3 คะแนน
สำหรับอันดับแปดมีสองด้าน คือ การใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างโปร่งใส และการควบคุมค่าครองชีพของประชาชน ได้ 4.1 คะแนนเท่ากัน
เมื่อสอบถามถึงปัญหาเร่งด่วนที่สุดที่อยากจะให้รัฐบาลแก้ไข 35.1% ระบุว่า ค่าครองชีพ 30.8% ต้นทุนการผลิต/ต้นทุนการธุรกิจ 17.6% ช่วยหาตลาดเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท 9.7% การคอร์รัปชั่น 5.6% นโยบายเศรษฐกิจที่ชัดเจน และอีก 1.2% เป็นปัญหาอื่นๆ เช่น การเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำโดยรัฐเป็นผู้ค้ำประกัน สถานที่สำหรับทำธุรกิจ/ทำการผลิต การฝึกอบรมบุคลากร เป็นต้น
ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย กล่าวว่า ความเห็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่ควรมองข้าม การที่คะแนนด้านเศรษฐกิจในภาพรวมได้แค่ 5.1 คะแนน จัดว่าทำได้แค่พอผ่าน นี่คือสัญญาณเตือนรัฐบาลว่า จะต้องจัดลำดับความสำคัญในการทำงาน ทุ่มเทกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจให้จริงจังและเป็นระบบมากกว่านี้ โดยเฉพาะปัญหาด้านค่าครองชีพและต้นทุน ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนและใกล้ตัวประชาชนและนักธุรกิจมากที่สุดในขณะนี้