"ภูมิธรรม" แจงฝ่ายค้านประเด็นปฏิรูปกองทัพ ลดนายพลได้ผล ยึดหลักความเป็นจริงสอดของสถานการณ์โลก ยืนยันรัฐบาลไม่ได้มีนโยบายไอโอ พร้อมรับข้อมูลไปตรวจสอบ แต่เรื่องใดเป็นการแสดงขอปล่อยผ่าน ชี้ บางเรื่องเป็นเรื่องเก่าก่อนที่ "แพทองธาร" เข้ามาบริหารประเทศ
การตัดไฟบริเวณชายแดน ตั้งข้อสังเกตว่าจะเป็นการตัดตอน การเอื้อประโยชน์ขบวนการอาชญากรรมได้หรือไม่ รวมไปถึงเรื่องของ “เอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์” ที่รวมกาสิโน เข้าไปเกี่ยวข้องปัญหาที่ซับซ้อนและยุ่งยากเกินกว่าที่คาดคิดนี้จะสามารถแก้ไขได้อย่างไร วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
วันนี้ (24ม.ค.68) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมส่วนราชการ ผ่านการวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เพื่อติดตามความคืบหน้าด้วย หลังสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบให้นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้าน เสนอญัตติด่วนด้วยวาจา เพื่อเสนอแนะแนวทาง การแก้ปัญหาฝุ่น "PM 2.5" จัดส่งให้รัฐบาล
จนถึงตอนนี้ กระแสความการ"ปรับ ครม."ยังไม่สิ้น ทั้งที่บุคคลในรัฐบาล พากันปฏิเสธ "ไม่มีสัญญาณปรับ ครม." โดยเหตุผลหลัก ๆ มีการอ้างอิงถึง "ทักษิณ-สไตล์" ซึ่งหมายถึง สไตล์การเมืองของนายทักษิณ ชินวัตร ที่จะพิจารณา "ปรับ ครม." ทุก ๆ 6 เดือน ซึ่งนายกรัฐมนตรี "แพทองธาร ชินวัตร" ก็น่าจะตอบรับอิทธิพลนี้มาด้วย
ปฏิทินการเมืองปี 2568 แค่เริ่มต้นศักราชการใหม่ "เหตุบ้าน-การเมือง" ส่อเค้าไปในทิศทางร้อนแรง ตามคำทนายของเหล่าบรรดา "กูรู-การเมือง" โดยเฉพาะท่าทีของกลุ่มนักร้องเรียนต่าง ๆ ที่ยังคงปฏิบัติการเดินหน้าเคลื่อนไหว ด้านนายทักษิณ ชินวัตร จะประกาศไล่เช็กบิล-ดำเนินคดีทุกคน ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่กำลัง รุมเร้า-กดดัน “รัฐบาล-แพทองธาร” กลับเกิดกระแสข่าวการปรับ ครม.โดยเฉพาะ 2 เก้าอี้รองนายกฯ คุมงานด้านความมั่นคง และ พลังงาน และตามการวิเคราะห์ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ เชื่อว่าจะเกิดขึ้นจริง ด้วยอ้างอิงเหตุ "รอยร้าว" ของพรรคร่วมฯ-กลุ่มทุน
รัฐบาลพ่อเลี้ยง ที่สื่อตั้งฉายาให้กับ รัฐบาลแพทองธาร ในปี 68 จะมีแนวโน้มอย่างไร จะมีปัจจัยอะไรที่จะมาเขย่ารัฐบาลแพทองธารได้หรือไม่ และศึกซักฟอกไม่ไว้วางใจ MOU44 หรือ ปมรักษาตัวชั้น 14 ของนายทักษิณ ชินวัตร จะส่งผลความเคลื่อนไหวทางเมืองอย่างไร ส่วนการแก้ไขกฎหมายต่างๆ จะส่งผล เสถียรภาพของพรรคร่วมได้หรือไม่ ร่วมวิเคราะห์กับ รศ.ธนพร ศรียากูล ผอ.สถาบันวิเคราะห์การเมืองและนโยบาย
แค่เดือนแรก "มกราคม" ก็เต็มไปด้วยประเด็นการขยับ-ขับเคลื่อนของฝ่ายต่าง ๆ ที่ส่อเค้าถึงสถานการณ์การเมือง ที่จะเข้าสู่ความร้อนแรงได้ ก่อนจะไป "ปิด-จบ" ชั่วคราวที่การเลือกตั้งท้องถิ่น ท่ามกลางกระแสการกลับประเทศของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือข้อเรียกร้องของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ให้ยกเลิกข้อตกลง "เอ็มโอยู-2544" แต่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กลับไม่กังวลใด ๆ กับสถานการณ์เหล่านี้
ประเดิมตั้งแต่วันนี้ 1 มกราคม 2568 ค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ มีผลวันนี้ ทำให้ 4 จังหวัด และ 1 อำเภอ ค่าจ้างขั้นต่ำแตะ 400 บาท ส่วนผู้มีรายได้ในระดับที่ต้องเสียภาษีเงินได้ จะเริ่มมาตรการจับจ่ายเพื่อนำใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบไปลดหย่อนภาษีปีภาษี 2568 วงเงิน 50,000 บาท ในโครงการ อีซี่ อี-รีซีท 2.0 เริ่มวันที่ 16 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภาประกาศยึดหลักการ "ประนีประนอม" เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง-จับมือกันขับเคลื่อนงานสภาฯ ขณะที่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรขอให้ฝ่ายนิติบัญญัติร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมือ หวังนำพาประเทศชาติ-ประชาชน ให้อยู่รอดปลอดภัย
เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลจะดำเนินการในปี 2568 คือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง การจัดการกับภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดน ส่วนเรื่องทางการเมืองแกนนำรัฐบาลยืนยันว่าอยู่ครบเทอม การทำงานกับพรรคร่วมรัฐบาลยังไปได้ด้วยดี ติดตามจากการสัมภาษณ์พิเศษ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ชวนตรวจการบ้าน ฝ่ายค้าน ที่ช่วงหลังคนจะจับจ้องไปที่ พรรคประชาชน การทำงานดีพอหรือยัง และในปีหน้าอะไรที่ควรปรับปรุง รวมไปถึงความท้าทายที่เตรียมรออยู่ ช่วงที่ผ่าน การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ของฝ่ายค้าน นั้นอาจจะไม่ใช่ฝ่ายค้านเชิงรุก เหมือนในยุคก่อน จึงอาจจะต้องเป็นเรื่องที่ฝ่ายค้านต้องเตรียมทำการบ้านมาเพิ่มหรือไม่ และอาจจะส่งผลถึงคะแนนความนิยมของ พรรคประชาชน อย่างไร ร่วมวิเคราะห์กับ รศ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา
หลังจากที่มีภาพของ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เข้าไปอวยพร ลุงป้อม พล.อ.ประวิตร 'บ้านป่ารอยต่อฯ' สะท้อนได้ถึงบารมีที่ยังมีอยู่ แต่ภาพที่ออกมา อาจจะไม่ได้ดูยิ้มแย้มสักเท่าไหร่ ด้านหนึ่ง ก็อาจจะเพราะเป็นเรื่องของพิธีการ แต่ปฏิเสธไม่ได้ หลังจากที่ปัญหาต่างๆ รุมล้อมเข้ามา ทั้งเรื่องของการมีปัญหา ความขัดแย้งกับ ร.อ ธรรมนัส รวมไปถึง พรรคพลังประชารัฐ ที่กลายเป็นฝ่ายค้าน และยังไม่นับรวมกับอีกหลายๆ ประเด็นที่เกิดขึ้น จากการที่สื่อสภาตั้งฉายา ปี 2567 ปรากฏชื่อของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เป็นหนึ่งใน "ดาวดับ" ในปี 2567 ด้วย ถือเป็นขาลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะสะท้อนคำตอบว่าในปีหน้า 2568 ลุงป้อมจะไปต่อหรือพอแค่นี้
โครงการรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนเฟส 2 กว่า 3 พันเมกะวัตต์ ที่มีกำหนดลงนามปลายเดือนนี้ มีข้อคัดค้านจากหลายฝ่ายซึ่งรวมถึงค่าไฟที่อาจแพงขึ้นในอนาคต ล่าสุด คณะกรรมการนโยบายพลังงาน สั่งชะลอการเดินหน้าโครงการ โดยขอหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และพิจารณาตั้งกรรมการตรวจสอบอีกครั้ง
กระทรวงการคลัง ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไตรมาส 3 และ 4 วงเงินเกือบ 1 แสน 5 หมื่นล้านบาท หวังสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ ขณะที่นายกรัฐมนตรี แจงมติ ครม.เห็นชอบแจกเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 2 แล้ว โดยให้ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือ ผ่านเกณฑ์ลงทะเบียนในระบบ "ทางรัฐ" 4 ล้านคน โดยรับเงินสด ผ่านระบบพร้อมเพย์ ภายในเดือนมกราคมปี 2568
วาระการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ ปี 2560 รวม 16 ฉบับ โดยทั้งหมดเป็นการเสนอแก้แบบ "รายมาตรา" มีเพียงฉบับเดียว ที่เสนอแก้ มาตรา 256 คือ "การแก้หลักเกณฑ์และวิธีการ" แก้รัฐธรรมนูญ สอดรับกับโฆษกพรรคประชาชน "พริษฐ์ วัชรสินธุ" แจ้ง "ข่าวดี" รัฐสภาเตรียมถกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดตั้ง สสร. ขณะที่ประธานวิปรัฐบาล กลับย้ำคำเดิม ว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน "ไม่ทัน"
ตลอดทั้งปี 2567 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทย เผชิญกับแรงกดดันหลายด้าน ที่ทำให้ตัวเลข GDP ออกมาไม่เป็นไปตามเป้า แม้รัฐบาลจะเร่งหามาตรการออกมาเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจ แต่ก็ดูเหมือนว่า ยังไม่ได้ผลเต็มที่ ทำให้ในปี 2568 มีการวิเคราะห์ อาจจะเป็นอีกปีที่มีความยากลำบาก ในการฟื้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาโตเต็มศักยภาพ