เรียนรู้
การจัดการพื้นที่และสร้างความสมดุลย์ในการอยู่ร่วมกันระหว่างผู้คนและธรรมชาติ คือความรู้ที่มีอยู่ในวิชาอย่างภูมิสถาปัตย์ซึ่งยังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย แต่ก็มีการผลิตบุคคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจและเปิดพื้นให้คนทั่วไปได้เข้าไปรู้จักกับวิชาแขนงนี้ในการแสดงศิลปนิพนธ์ ภูมิทรรศการ ของนิสิตชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
"หากพื้นที่นาเกลือหมดไป นกชายเลนก็จะสูญพันธุ์ไปด้วย" ความห่วงใยของ ธัญญรักษ์ ลาภนิมิตรอนันต์ ที่เติบโตมากับการดูนกชายเลนตั้งแต่ยังเด็ก ได้นำความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรมในห้องเรียนมาใช้พัฒนาพื้นที่นาเกลือในจังหวัดสมุทรสาครที่ใกล้สูญหาย ให้กลายเป็นศูนย์อนุรักษ์และศึกษาพื้นที่ธรรมชาตินาเกลือ ไม่เพียงช่วยรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของผู้คนแต่ยังรวมถึงแหล่งหากินของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ หนึ่งโครงการพัฒนาพื้นที่โดยอาศัยความรู้ด้านภูมิสถาปัตย์และผังเมือง จัดแสดงใน ศิลปนิพนธ์ ภูมิทรรศการ ผลงานจบการศึกษาของ นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย
การออกแบบ และสร้างอาคารที่เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย คือ หลักคิดของวิชาสถาปัตกรรม แต่สำหรับภูมิสถาปัตย์แล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือทำอย่างไรให้สามารถอยู่ได้อย่างกลมกลืนกับพื้นที่ธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันยังพัฒนาสอดคล้องกับแนวคิดหลักในการออกแบบที่เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและต้องส่งผลกระทบกับความเป็นอยู่ชุมชนในพื้นที่ให้น้อยที่สุด
หลายหลายแนวคิดจากผลงานของนักภูมิสถาปัตย์รุ่นใหม่ ที่ไม่เพียงได้ลงพื้นที่สำรวจความเป็นไปได้และนำเสนอโครงการซึ่งอาจจะถูกพัฒนาไปใช้จริง ยังเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจ ให้ผู้เข้าชมได้เห็นถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติโดยอาศัยความรู้ด้านการจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ผลงานทั้งหมดจะจัดแสดงไปจนถึงวันที่ 9 มิถุนายนนี้ ที่จามจุรีสแควร์