ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปรียบเทียบรถไฟความเร็วสูง"จีน-ญี่ปุ่น"

เศรษฐกิจ
9 มิ.ย. 56
14:37
1,301
Logo Thai PBS
เปรียบเทียบรถไฟความเร็วสูง"จีน-ญี่ปุ่น"

กระทรวงคมนาคมระบุว่า ภายในปลายปีนี้ (56 )ได้ข้อสรุปรูปแบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งที่ผ่านมา มีหลายประเทศที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุน ทั้งจีนและญี่ปุ่น ที่ต่างก็มีเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงที่มีความก้าวหน้าไม่แพ้กัน แต่นอกจากจะพิจารณาเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ไทยต้องวางแผนการบริหารจัดการทั้งการเดินรถและรายได้

รถไฟความเร็วสูง ชินคันเซนของญี่ปุ่น ที่ให้บริการผู้โดยสารที่ต้องการความสะดวกสบายในการเดินทางและประหยัดเวลาด้วยความเร็วกว่า 300 กิโลกเมตร ต่อชั่วโมง ต้นทุนอยู่ที่ 600 ล้านบาท ต่อ1 กิโลเมตร ซึ่งการพัฒนาของญี่ปุ่นทำให้กลายมาเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายระบบรถไฟความเร็วสูงให้ทั่วโลก

                      
และเมื่อเทียบกับรถไฟความเร็วสูงของจีนแม้จะมีความรวดเร็วและสะดวกสบายแพ้ชินคันเซน ของญี่ปุ่น แต่เพราะมีประชากรจำนวนมาก จีนจึงเน้นให้บริการด้านการเดินทาง มากกว่าการพัฒนาพื้นที่สถานีเชิงพาณิชย์ ให้บริการในความเร็วประมาณ 200 กิโลเมตรต่อ 1 ชั่วโมง ต้นทุนอยู่ที่ 480 ล้านบาท ต่อ1 กิโลเมตร ผู้โดยสารระหว่างเมือง มากกว่าพัฒนาที่ดินให้มีมูลค่าเพิ่ม
                        
ทั้ง จีน และ ญี่ปุ่น สนใจที่จะทำการศึกษารถไฟความเร็วสูงให้กับประเทศไทยโดยญี่ปุ่นนอกเหนือจากด้านเทคนิค โครงสร้างรถไฟฟ้า และเรื่องการเงินแล้ว ยังมีต้นแบบของการบริหารจัดการพื้นที่ เชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มรายได้จากการเดินรถไฟอีกด้วย
 
ขณะที่จีนก็มีความสามารถด้านการพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่ต้นแบบมาจากยุโรปและปรับให้เหมาะสมกับประเทศของตัวเอง ซึ่งไทยจะเปิดโอกาสให้ทุกประเทศที่สนใจร่วมลงทุนโครงการนี้ได้เข้าร่วมลงทุน
 
และสิ่งที่จีนดำเนินการต่อเนื่องคือการขยายโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงให้เชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งจีนมีแผนสร้างรถไฟความเร็วสูง จากคุนหมิง มายัง ประเทศลาวและหากเกิดขึ้นจริง ก็จะเชื่อมกับ รถไฟความเร็วสูง ของไทยสาย กรุงเทพ - หนองคาย แต่นี่เป็นเพียงเป้าหมายหนึ่งของจีน ด้วยเหตุนี้ จีนจึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่งทางรางจนมีขวบนรถไฟที่ขนส่งสินค้าไปยังประเทศแถบยุโรปที่ย่นระยะเวลากว่าทางทะเลได้มากกว่า 2 เท่า
 
การลงทุนรถไฟความเร็วสูงของไทยที่สูงกว่า 700,000 ล้านบาท เป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งไม่เพียงแต่ด้านเทคโนโลยี เทคนิค และโครงส้รางของรถไฟความเร็วที่ ทางการไทยต้องให้ใส่ใจแล้ว ยังมีการบริหารจัดการที่ถือว่าเป็นโจทย์ใหญ่ของการลงทุนรถไฟความเร็วสูงด้วย เพราะแม้แต่ประเทศที่เรียกว่าเป็นประเทศต้นแบบของรถไฟความเร็วสูงอย่างญี่ปุ่น หรือจีน ก็ยังประสบปัญหาด้านรายได้ที่ต้องปรับรูปแบบเพื่อความสำเร็จในการให้บริการเช่นกัน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง