ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปรับแผน ขับเคลื่อนกองทุนสุขภาพตำบล ลดอัตราทอดทิ้งของผู้สูงอายุ ผู้พิการ

สังคม
20 มิ.ย. 56
10:32
62
Logo Thai PBS
ปรับแผน ขับเคลื่อนกองทุนสุขภาพตำบล ลดอัตราทอดทิ้งของผู้สูงอายุ ผู้พิการ

สปสช. ชมรมสาธารณสุข กลุ่มหมออนามัย ใช้คนในพื้นที่ดูแล ระบุกองทุนฯจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรัง หวังยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนได้

 นพ.ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา ประธานอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต(อปสข.)เขต 4 สระบุรี กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2549 สปสช. มีนโยบายการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้บริหารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ) และ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ(สสอ.) ที่สนับสนุนให้ องค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สมัครเข้าร่วมจัดตั้งกองทุน  646 แห่ง จาก อปท.ทั้งหมดในพื้นที่ 649 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 99.40 ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าอยู่ในระดับดี เนื่องจากได้รับความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการสร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมและสร้างความเป็นเจ้าของการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนร่วมกันพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นให้เข้มแข็งและยั่งยืน 

 
ผลการดำเนินงานดังกล่าวที่สำเร็จ ถือเป็นข้อเสนอให้ท้องถิ่นชุมชน ได้รับความร่วมมือจากชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย โดยมีการระดมแกนนำสาธารณสุขอำเภอ ภายใต้ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยเป็นกำลังสำคัญที่ร่วมกันขับเคลื่อน และกำหนดทิศทางการดำเนินงานส่งผลให้เกิดความร่วมมือในชุมชนรวมขับเคลื่อนส่งผลให้เกิดมีประสิทธิภาพในพื้นที่
 
ประธาน อปสข.กล่าวว่า จากการระดมแกนนำสาธารณสุขอำเภอ เป็นแกนหลักในการสร้างแนวคิดและทิศทางการดำเนินงานของกองทุนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อยกระดับงานด้านสุขภาพชุมชนเป็นนโยบายสาธารณสุขของทุกพื้นที่ ให้มีความต่อเนื่องในการดำเนินงานให้เกิดความยั่งยืน ที่สำคัญเน้นบูรณาการความร่วมมือเพื่อลดความซ้ำซ้อน มุ่งให้ประชาชนมีสุขภาพดี ชุมชนเข้มแข็ง สังคมอยู่ดีมีสุข และเมืองไทยแข็งแรง เน้นการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างชุมชนกับหน่วยบริการในพื้นที่ โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนให้เกิดระบบที่ยั่งยืน และสร้างกิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสให้สามารถดำรงชีวิตในชุมชนได้โดยไม่เป็นภาระทางสังคม ลดปริมาณการถูกทอดทิ้ง และลดปริมาณการเกิดโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อน ถือเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการสร้างระบบสุขภาพชุมชน  
 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง