ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ผลศึกษาวิจัยชี้ เยาวขนเข้าถึงบุหรี่จากการเลียนแบบสื่อโทรทัศน์

18 ก.ค. 56
07:59
224
Logo Thai PBS
ผลศึกษาวิจัยชี้ เยาวขนเข้าถึงบุหรี่จากการเลียนแบบสื่อโทรทัศน์

ผลการศึกษาพฤติกรรมการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชน ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการเลียนเเบบตัวละครทางสื่อโทรทัศน์ ฉากสูบบุหรี่ของตัวละครในซีรีย์"ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น" จึงถูกตั้งคำถามจากผู้ชมส่วนหนึ่งว่า การนำเสนอฉากดังกล่าว อาจเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมการเลียนเเบบ จนนำไปสู่ปัญหาการเสพติดบุหรี่หรือไม่

พฤติกรรมสูบบุหรี่ที่ดูสมจริงของนักเเสดงในซีรีย์ ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ดาวเทียมช่องหนึ่งเเละเผยเเพร่ทางเว็บไซด์ยูทูป กำลังเป็นกระเเสสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างเเพร่หลายเเละถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของวิธีการนำเสนอ ที่อาจเป็นชนวนสำคัญทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมการเลียนเเบบหรือไม่

ประเด็นนี้ผู้เขียนบทให้เหตุผลว่า การนำเสนอฉากสูบบุหรี่ในซีรีย์ดังกล่าว ต้องการสะท้อนให้เห็นสถานการณ์ที่ทุกคนต่างก็รู้ว่า มีอยู่จริงในสังคม โดยมองว่าจะเป็นประโยชน์กับเยาวชนเเละผู้ปกครอง ที่ได้เรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันผ่านมุมมองของเนื้อหา ที่มีการสอดเเทรกคติเเละผลของการกระทำอยู่ในทุกตอนของซีรีย์

ขณะที่ผู้จัดการโครงการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มองว่า วิธีการนำเสนอของผู้ผลิต อาจส่งผลทั้งทางบวกเเละทางลบ เเต่ในโลกความเป็นจริง ก็อาจปฏิเสธไม่ได้ว่า บทบาทของตัวละครที่สะท้อนผ่านซีรีย์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ผู้ปกครองจึงมีส่วนสำคัญที่จะต้องให้คำเเนะนำเพิ่มเติม

ผลสำรวจจำนวนผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทย ของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เมื่อปี 2552 พบว่า มีประชากรที่สูบบุหรี่มากถึง 12 ล้านคน ที่น่าสนใจคือในจำนวนนี้ มีเยาวชนทั้งชายเเละหญิงอายุระหว่าง 15 - 24 ปีเกือบ 2 ล้านคนที่สูบบุหรี่

ผลการศึกษาเพิ่มเติมยังพบว่า พฤติกรรมการเลียนเเบบ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขเยาวชนที่สูบบุหรี่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงพยายามเร่งเเก้ปัญหา โดยเฉพาะการออกระเบียบห้ามเผยเเพร่ฉากสูบบุหรี่ของตัวละครทางโทรทัศน์ เพื่อลดความเสี่ยงจากพฤติกรรมการเลียนเเบบของเยาวชน ที่ยังมีความอ่อนไหวทางด้านความคิด 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง