สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ เน้นสร้างทักษะนักกีฬา
ตัวอย่างที่กล่าวถึง ก็คือสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ที่ร่วมจัดการแข่งขัน หนูน้อยจ้าวเวหากับไทยพีบีเอส มาตลอด 5 ปีเต็ม ซี่งสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลอง จดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาตามมาตรา 53 ของ กกท. ในปี 2547 เนื่องจากขณะนั้นสมาคมฯอยู่ระหว่างการออกตระเวนสอนเครื่องบินบังคับ ในสถานศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและพยายามจัดการแข่งขัน ในสถานศึกษา แต่เมื่อกลับมาเจอทางตันเพราะระเบียบราชการทางการศึกษาที่ค่อนข้างยุ่งยากและมีข้อจำกัดในเรื่องของการเขียนหลักสูตรที่มองว่าเป็นของเล่น
ทางสมาคมจึงผันตนเอง จดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬา แม้ทราบดีว่า การจดทะเบียนตามมาตรา 53 จะไม่ได้รับงบประมาณจาก กกท. แต่ข้อดีที่ตามมาคือความนิยมมากขึ้น เพราะมีเวทีเพื่อเข้าแข่งขัน โดยที่ใครอยากแข่งก็เดินทางมาได้ในนามส่วนตัว รวมถึงเมื่อความนิยมมากขึ้น อุปกรณ์ก็ถูกลง เช่น ใบพัดที่เครื่องบินแบบ 2 ช่องสัญญาณ เมื่อ5 ปีที่แล้วคู่ละ 80 บาท เพราะต้องนำเข้าและเสียภาษี 35 % แต่ปัจจุบันเมื่อเป็นอุปกรณ์กีฬามีการแพร่หลายที่มากขึ้น และคนไทยผลิตได้เองจนปัจจุบันใบพัดเหลือคู่ละ 10 บาท
โดยนายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลอง ก็mราบดีว่ากีฬาที่ลักษณะนี้ ไม่สามารถเข้าไปสู่การแข่งขันระดับนานาชาติได้ แต่ทางสมาคมฯก็ไม่ได้มองกีฬาเพื่อความเป็นเลิศเป็นหลัก แต่เป็นความภูมิใจ ของนักกีฬานำเครื่องบินที่สร้างขึ้นเอง แล้วสามารถทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จจากการแข่งขัน