FTA Watch คัดค้านเอฟทีเอไทย - ยุโรป
นายจักรชัย โฉมทองดี รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน หรือ FTA Watch เปิดเผยถึงการเข้ายื่นหนังสือต่อหัวหน้าคณะเจรจาของสหภาพยุโรป เมื่อวานนี้ว่า (18 ก.ย.) เป็นท่าทีที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่เคยยื่นมาก่อนหน้านี้แล้ว และเป็นประเด็นที่ทางยุโรปรู้ดี เพราะฉะนั้น จึงคาดหวังว่าจะได้คำตอบที่มีความชัดเจน มีความยืดหยุ่น และคำนึงถึงมนุษยธรรม เพียงแต่ยุโรปมีจุดยืนที่เน้นผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นหลักอยู่
สำหรับการเจรจาระหว่างไทย กับสหภาพยุโรป ภาคประชาชนมาแสดงความห่วงใย ต้องการเห็นท่าทีเชิงบวก เป็นท่าที่ที่เป็นมิตร และมีความยืดหยุ่น เพื่อที่จะช่วยกันแก้ปัญหาประเด็นที่มีความอ่อนไหว และจะมีผลกระทบมากในเรื่องของเอฟทีเอ เพียงแต่เมื่อวานนี้ ยังไม่เห็นท่าทีนั้นจากสหภาพยุโรป ซึ่งแปลได้ 2 อย่าง คือ ด้านที่ 1. เราจะต้องทำงานหนักขึ้น และคุยกับสหภาพยุโรปให้มากขึ้น ด้านนที่ 2. ส่งสัญาณชัดเจนไปอยู่ฝ่ายเจรจาไทย ซึ่งในขณะนี้มีจุดยืนที่ยังยืนเคียงข้างประชาชน แต่แรงกดดันในขณะนี้ชัดเจนว่าจะถามโถมเข้าสู่คณะเจราจาทั้งจากฝั่งยุโรป และภาคธุรกิจของไทย และต่างประเทศเข้าสู่คณะเจรจา ซึ่งต้องดูว่าคณะเจรจาจะเปลี่ยนจุดยืนจากวันนี้ไปหรือไม่
ส่วนข้อกังวลที่ได้แสดงความเป็นห่วงมี 4 ข้อจาก 16 ข้อในการเจรจา เรื่องแรกเป็นเรื่องของยารักษาโรค ซึ่งเห็นชัดเจนว่าถ้าทำตามสหภาพยุโรปเรียกร้อง จะทำให้ยารักษาโรคมีราคาแพงขึ้น และงบประมาณแผ่นดินจะเพิ่มสูงขึ้นมากในระดับ 100,000 ล้านบาทต่อปี เรื่องที่ 2 จะเป็นเรื่องของการผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งประเทศไทยมีฐานการผลิตเกษตรขนาดใหญ่ มีประชากรที่อยู่ในภาคเกษตรจำนวนมาก ถ้าทำตามข้อเรีกยร้องจากยุโรป ผลการศึกษาชัดเจนว่าราคาอาหารจะเพิ่มสูงขึ้น ต้นทุนอาหารจะเพิ่มสูงขึ้นจากการที่ต้องซื้อกล้าพันธุ์ และเมล็ดพันธุ์
เรื่องที่ 3 จะเป็นเรื่องของสุรา เพราะว่ายุโรปต้องการให้ไทยเปิดเสรีสินค้าสุรา ซึ่งส่งผลต่อการบริโภคสุรา และผลกระทบด้านสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนข้อสุดท้ายเป็นเรื่องการคุ้มครองการลงทุน
ที่จะให้สิทธินักลงทุนข้ามชาติจากสหภาพยุโรปฟ้องร้องรัฐบาลไทยผ่านกระบวนการอนุญาโตฯได้ ซึ่งตรงนี้ถ้าไม่เปิดให้เจรจา และมีข้อกำหนดอย่างรัดกุม จะทำให้ความสามารถของรัฐบาลในการใช้พื้นที่ทางนโยบายดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สวัสดิการสังคมหายไปค่อนข้างโดยสิ้นเชิง ซึ่ง 4 ข้อนี้เป็นข้อเรียกร้องที่เน้นย้ำมาโดยตลอด
ทั้งนี้ ต้องการให้หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยยืนยันต่อสาธารณะ หลังจากการเจรจาแล้วหลายวันว่าจุดยืนของรัฐบาลไทย จุดยืนของหัวหน้าคณะเจราจายังคงเดิม ให้คำมั่นต่อประชาชน และพร้อมที่จะสนับสนุนทำงานร่วมกัน หากว่าหัวหน้าคณะเจรจายังไม่เแปรเปลี่ยน และเดินหนีไปออกจากประชาชน
ในขณะนี้ ได้ประเมินมาโดยตลอดว่าผลได้มีอะไรบ้าง ตัวเลขด้านประโยชน์จำกัด ด้านผลกระทบ FTA Watch ทำงานกันหนัก มีตัวเลขผลกระทบที่ค่อนข้างชัดเจน แต่ด้านประโยชน์ค่อนข้างที่จะไม่เห็นตัวเลขที่ออกมาชัด และสอดคล้อง เพราะฉะนั้น ซึ่งในขณะนี้ 1-2 เดือน คงต้องประเมินตรงนี้ให้ชัด และพร้อมที่จะเดินไปข้างหน้าขนาดไหน อย่างไรก็ตาม หวังว่าจะไม่ไปถึงจุดแตกหัก หวังว่าทุกฝ่ายจะเห็นต่อมนุษยธรรม โดยในวันนี้ จะไปยื่นหนังสือต่อสหภาพยุโรปอีกครั้ง เพื่อแสดงจุดยืนว่าหลังที่ได้คุยกับเขาแบบนั้นแล้ว FTA Watch มีความคิดเห็นแบบไหน และจะมีการขับเคลื่อนอย่างไรต่อไป
ส่วนกิจกรรมของ FTA Watch นอกจากการยื่นหนังสือให้กับหัวหน้าคณะเจรจาทั้งฝ่ายไทย กับฝ่ายสหภาพยุโรปแล้วนั้น ตลอดทั้งวันจะมีการจัดเสวนาให้ข้อมูลที่ประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ มีประชาชนอย่างน้อย 3,000 คน อยู่กับ FTA Watch และมีประชาชนที่เดินผ่านไปมาอีกมาก นอกจากนั้น ยังมีการสื่อสารผ่านเฟสบุ๊คของ FTA Watch ด้วย มีการให้ข้อมูล และเดินรณรงค์ในเมืองเชียงใหม่ในวันนี้ด้วย ซึ่งได้รับความร่วมมือ และความเข้าใจจากประชาชนเชียงใหม่ และกลุ่มมวลชนที่เชียงใหม่ด้วย
ทั้งนี้ แต่ละการเจรจาเอฟทีเอนั้นมีความตกลงที่แตกต่างกันออกไป เช่น ไทย - จีน ที่มีความตกลงไปแล้วภายใต้กรอบอาเซียน, ไทย - ออสเตรเลีย หรือไทย - นิวซีแลนด์ เพียงแต่หลายเรื่องที่พูดถึงนี้เป็นประเด็นใหม่ ซึ่งไม่เคยอยู่ในการเจรจาอื่น เช่น การคุ้มครองการลงทุนในระดับนี้ไม่ได้อยู่ในการเจรจาเอฟทีเอในช่วงที่ผ่านมา เรื่องของสิทธิบัตรยา เรื่องของพันธุ์พืช ไม่ได้อยู่ในการเจรจาเอฟทีเอที่ผ่านมาเลย เพราะฉะนั้น ครั้งนี้เป็นครั้งที่แตกต่าง และครั้งนี้เป็นผลที่ชัดเจนมากว่าผลกระทบจะเยอะมาก ถ้าเทียบกับผลกระทบอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นในการเจรจาที่ผ่านมา