ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปริศนาการหมุนตัวโดยไม่มึนหัวของนักบัลเลต์

Logo Thai PBS
ปริศนาการหมุนตัวโดยไม่มึนหัวของนักบัลเลต์

เป็นเรื่องที่หลายคนสงสัยไม่น้อยว่าทำไมนักบัลเลต์ที่ต้องหมุนตัวบนเวทีนานนับชั่วโมงถึงไม่รู้สึกเวียนหัว ซึ่งทั้งหมดเกิดจากการฝึกฝนเทคนิคการหมุนตัวมานานนับปี จนสมองของพวกเขามีภูมิต้านทานอาการมึนหัวมากกว่าคนปกติ

เทคนิคการเต้นอันหลากหลายของการแสดงบัลเลต์ที่สร้างความตื่นตาให้กับผู้ชมเหล่านี้ หากนำไปแสดงโดยคนทั่วไปอาจก่อให้เกิดอาการมึนศีรษะอย่างหนัก แต่กับนักเต้นอาชีพแล้ว แม้แต่ท่าหมุนตัวด้วยปลายเท้าอย่างรวดเร็วในท่า Fouette นอกจากจะไม่ทำให้มึนศีรษะแล้ว ยังเป็นท่าที่ช่วยให้นักเต้นบัลเลต์การควบคุมการทรงตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

สาเหตุที่บรรดานักเต้นบัลเลต์ไม่รู้สึกเวียนหัวในระหว่างการแสดงที่ต้องมีการหนุนตัวเร็วๆ มาจากการฝึกฝนเทคนิค Spotting โดยก่อนที่จะหมุนตัวทุกครั้ง นักเต้นบัลเลต์จะหาจุดพักสายตา ซึ่งทุกครั้งที่หมุนตัวพวกเขาต้องกลับมามองที่จุดเดิมนี้ทุกครั้ง ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยส่งเสริมการทรงตัวของนักเต้น และป้องกันการมึนศีรษะไปในตัว

สตีเฟน วิลเลียมส์ ผู้ฝึกสอนอาวุโสของสถาบัน Central School of Ballet ในกรุงลอนดอน กล่าวว่า กว่านักเต้นแต่ละคนจะทำ Spotting ได้อย่างชำนาญ ต้องผ่านการฝึกหมุนตัวนับหมื่นๆ ครั้งจนกล้ามเนื้อดวงตาชินกับการหาจุดพักสายตาระหว่างหมุนตัวได้อย่างอัตโนมัติ ซึ่งผู้ฝึกที่ไม่สามารถควบคุมการ Spotting ได้ มักล้มเหลวในการเป็นนักเต้นที่ดี

ล่าสุด ทางวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ประเทศอังกฤษ ได้ศึกษาการควบคุมอาการเวียนศีรษะของนักบัลเลต์ ด้วยการนำนักบัลเลต์ 29 คน และนักกีฬาพายเรือ 20 คนมาทดสอบด้วยการให้นั่งบนเก้าอี้หมุนในห้องมืด โดยมีการสแกนสมองเพื่อจับสัญญาณเมื่อรู้สึกเวียนหัว ซึ่งผลปรากฏว่านักเต้นบัลเลต์รับรู้การหมุนในช่วงเวลาที่สั้นกว่านักกีฬาพายเรือ

ดร.แบร์รี ซีมุนกัล หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า สาเหตุที่ผู้ฝึกบัลเลต์มีภูมิต้านทานอาการมึนหัวมากกว่าคนปกติ เนื่องจากสมองในส่วนซีรีเบลลัมที่ใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนไหว และความรู้สึกมึนหัวมีขนาดเล็กกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกฝนการ Spotting มาตั้งแต่เด็ก จนสมองของนักบัลเลต์มีความสามารถในการระงับการรับสัญญาณที่ส่งมาจากหูชั้นใน ซึ่งทำหน้าที่ด้านการทรงตัว จึงทำให้พวกเขาไม่รู้สึกมึนศีรษะเหมือนคนทั่วไป ซึ่งการค้นพบครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาการรักษาอาการเวียนหัวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต


ข่าวที่เกี่ยวข้อง